Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20263
Title: ปัจจัยการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่ส่งผลต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต
Other Titles: Blended learning instruction factors affecting self-directed learning of undergraduate students
Authors: เสมอกาญจน์ โสภณหิรัญรักษ์
Advisors: ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: praweenya@yahoo.com
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่ส่งผลต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่ส่งผลต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 382 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ตัวแปรแฝงภายนอก 2 ตัวแปร คือ 1) ปัจจัยประสบการณ์การสอน และ 2) ปัจจัยประสบการณ์ของผู้เรียน ตัวแปรแฝงภายใน 12 ตัวแปร คือ 1) ปัจจัยการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียน 2) ปัจจัยการมอบหมายงานการเรียน 3) ปัจจัยการให้คำแนะนำทางการเรียน 4) ปัจจัยกิจกรรมการเรียนรู้ 5) ปัจจัย การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน-ผู้เรียน 6) ปัจจัยการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน-บทเรียน 7) ปัจจัยการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน-ผู้สอน 8) ปัจจัยแหล่งการเรียนรู้ 9) ปัจจัยการให้ผลป้อนกลับ 10) ปัจจัยการประเมินผลระหว่างเรียน 11) ปัจจัยการประเมินผลหลังเรียน และการเรียนรู้แบบนำตนเอง รวมทั้งหมด 14 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติภาคบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การทดสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 28.94 p = 0.98 ที่องศาอิสระ เท่ากับ 47 ค่า GFI = 0.99 AGFI = 0.98 และ RMR 0.015 ตัวแปร ในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้แบบ นำตนเองได้ร้อยละ 44 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้แบบนำตนเอง 10 ปัจจัย ได้แก่ 1) ประสบการณ์การสอน 2) ประสบการณ์ของผู้เรียน 3) การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียน 4) การมอบหมายงานการเรียน 5) กิจกรรมการเรียนรู้ 6) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน – บทเรียน 7) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน – ผู้สอน 8) การให้ผลป้อนกลับ 9) การประเมินระหว่างเรียน และ 10) การประเมินหลังเรียน จาก 10 ปัจจัยดังกล่าว พบปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการเรียนรู้แบบนำตนเอง 3 ปัจจัย ได้แก่ การมอบหมายงานการเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ และการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียน อย่างไรก็ตามการให้คำแนะนำทางการเรียน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน-ผู้เรียน และแหล่งการเรียนรู้ เป็นปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้แบบนำตนเอง
Other Abstract: The purposes of this quantitative research were 1) to develop and validate the casual model of blended learning on self-directed learning of undergraduate students and 2) to examine the goodness of fit of a casual model of blended learning on self-directed learning of undergraduate students. The samples consisted of 382 college students from three public universities. Two exogenous variables were 1) instructors’ experiences and 2) learners’ experiences while twelve endogenous variables were 1) objectives; 2) assignment; 3) guidance; 4) learning activities; 5) student-student interaction; 6) student-content interaction; 7) student-instructor interaction; 8) resources; 9) feedback; 10) formative evaluation; 11) summative evaluation; and 12) self-directed learning. The research data were collected by the questionnaire. The effect of the blended learning variables on self – directed learning was calculated using descriptive statistics, a Pearsons product moment correlation, and a structural equation modeling by LISREL program. The results were as follows: 1. The casual model of blended learning on self-directed learning was valid and fit to the empirical data. The model indicated that the Chi-square goodness of fit test was 28.94 p = 0.98, df = 47, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, and RMR = 0.015. The model accounted for 44% of variance in blended learning instruction factors affecting self-directed learning of undergraduate students. 2. Factors affecting undergraduate students’ self-directed learning were 1) instructors experience; 2) learners experience; 3) objectives; 4) assignments; 5) learning activities; 6) student – content interaction; 7) student - instructor interaction; 8) feedback; 9) formative evaluation; and 10) summative evaluation. Three of ten factors had direct effects on self-directed learning whereas seven factors had indirect effects on self-directed learning. The finding was described as follows: Assignment, activities, and objective directly affected on self-directed learning. However, there were no effect of guidance, student – student interaction, and resources on students’ self-directed learning
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20263
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
samoekan_so.pdf4.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.