Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2029
Title: การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมบนหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Development of pharmaceutical care service at medical ward of King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: วรวรรณ บุญประเทือง, 2513-
Advisors: นารัต เกษตรทัต
สมฤทัย ระติสุนทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Narat.K@Chula.ac.th
Somratai.R@Chula.ac.th
Subjects: บริบาลเภสัชกรรมของโรงพยาบาล--ไทย
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานตามปรัชญาการบริบาลทางเภสัชกรรม และศึกษาถึงผลการดำเนินงานตามรูปแบบที่กำหนดในด้านต่างๆ คือ จำนวนและชนิดของปัญหาด้านยาที่พบและที่ได้รับการแก้ไขหรือป้องกัน รวมทั้งทัศนคติของบุคลากรที่เกี่ยวข้องและความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มีต่อการบริการ โดยทำการศึกษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544 ถึง มกราคม 2545 จากการปฏิบัติงานตามรูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยใน ได้แก่ การติดตามผลการรักษาผู้ป่วยด้วยยาเพื่อระบุ แก้ไขและป้องกันปัญหาจากการใช้ยา ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเข้าร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นในการดูแลผู้ป่วย ให้คำแนะนำปรึกษาด้านยาแก่ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ และให้บริการเภสัชสนเทศ พบว่าเมื่อเภสัชกรให้การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยจำนวน 192 ราย สามารถระบุปัญหาจากการใช้ยาได้ 155 ปัญหา ในผู้ป่วย 56 ราย (ร้อยละ 29.2) ซึ่งเป็นความคลาดเคลื่อนในกระบวนการใช้ยา 76 ปัญหา (ร้อยละ 49.0) โดยพบอัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยามากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 2.3 และเป็นปัญหาที่เกิดเนื่องจากยา 79 ปัญหา (ร้อยละ 51.0) โดยปัญหาจากการใช้ยาที่ระบุได้ทั้งหมดสามารถดำเนินการป้องกันก่อนเกิดผลเสียต่อผู้ป่วยคิดเป็นร้อยละ 60.0 เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขร้อยละ 28.4 และปัญหาที่ต้องติดตามเฝ้าระวังร้อยละ 11.6 ปัญหาที่พบได้มากที่สุดคืออาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ร้อยละ 39.3) รองลงมาคือปัญหาผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่ควรได้รับซึ่งเท่ากับปัญหาผู้ป่วยได้รับยาไม่เหมาะสม (ร้อยละ 16.4) กลุ่มยาต้านจุลชีพเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาจากการใช้ยามากที่สุด ( ร้อยละ 30.3 ) เมื่อพิจารณาเฉพาะปัญหาที่เกิดเนื่องจากยา 79 ปัญหา พบว่าร้อยละ 70.9 เป็นปัญหาที่ป้องกันได้ โดยเภสัชกรสามารถดำเนินการป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ร้อยละ 57.2 สำหรับการยอมรับของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีต่อข้อเสนอแนะของเภสัชกรในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหา พบว่าร้อยละ 90.6 เห็นด้วยและมีการเปลี่ยนแปลงตามข้อเสนอแนะของเภสัชกร ร้อยละ 1.9 ยอมรับบางส่วน และร้อยละ 7.5 ไม่ยอมรับ การสำรวจทัศนคติของผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่าบุคลากรทางการแพทย์มีทัศนคติที่ดีต่อการมีเภสัชกรเข้าร่วมทีมการรักษา และผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของเภสัชกรบนหอผู้ป่วย การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยของบุคลากรทางการแพทย์แบบสหสาขาวิชาชีพนั้น เภสัชกรมีบทบาทในการติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย โดยมีหน้าที่หลักคือ การระบุ และดำเนินการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา จะช่วยป้องกันและลดผลเสียจากยาที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย
Other Abstract: The objectives of this study were to develop a pharmaceutical care service and study outcomes of the service by identifying numbers and categories of drug related problems including the prevention as well the resolution of the problems. Survey on attitude of health care team and patients' satisfaction were also performed. This study was done at a medical ward of King Chulalongkorn Memorial Hospital during October 2001 to January 2002. The activities in pharmaceutical care for inpatients included drug therapy monitoring to identify, resolve and prevent drug related problems, adverse drug reaction monitoring, round with medical team, drug counseling to patients and physicians as well as drug information services. When pharmacist provided pharmaceutical care services to 192 patients, 155 drug problems were detected in 56 patients ( 29.2% ). Seventy-six (49.0%) medication errors and 79 (51.0%) drug related problems (DRPs) were identified. The most common type of medication errors were prescribing errors (2.3%).Of all the problems, 60.0% were prevented, 28.4% were resolved and 11.6% were followed. The most common DRPs were adverse drug reactions (39.3%), untreated indications (16.4%) and improper drug selections (16.4%). Anti-infectives were the most common group of drugs that associated with DRPs ( 30.3% ). Of the 79 DRPs, 70.9% were preventable. The pharmacist prevented 57.2% of these problems. When the pharmacist gave interventions, 90.6% were fully accepted by the prescribers, 1.9% were partially agreed and 7.5% were unaccepted. Survey on the attitudes and satisfactions of health care team as well as patients revealed that they satisfied with pharmaceutical care service. The study suggested that in patient care service provided by multidisciplinary team, pharmacists should be played an important role in drug therapy monitoring by identifying, preventing and solving drug related problems, which improving efficacy in patient care service.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2029
ISBN: 9741700555
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worawan.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.