Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2035
Title: คุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยเภสัชกร ณ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
Other Titles: Quality of diabetic patient care by pharmist at Nongbualumphu Hospital
Authors: อริสรา จันทร์ศรีสุริยวงศ์, 2518-
Advisors: อภิฤดี เหมะจุฑา
เกตสุดา สุวรรณเทศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Aphirudee.H@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
เบาหวาน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยเภสัชกร ณ โรงพยาบาลหนองบัวลำภู การประเมินในครั้งนี้ทำโดยการเปรียบเทียบตัวชี้วัดต่างๆ ก่อนและหลังการที่เภสัชกรมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยโดยไม่มีกลุ่มควบคุม ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาได้รับการส่งต่อมาจากอายุรแพทย์และให้อยู่ในความดูแลของเภสัชกรเป็นระยะเวลา 6 เดือน การให้การดูแลผู้ป่วยจะเริ่มตั้งแต่การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การให้คำปรึกษาวิธีใช้ยา การประเมิน และการปรับขนาดยาตามระดับน้ำตาลในเลือด ตัวแปรหลักที่ทำการศึกษา คือ ระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) ตัวแปรรองที่ทำการศึกษา คือ ความดันเลือด ระดับครีเอตินินในเลือด ระดับยูเรียไนโตรเจนในเลือด การตรวจระดับไขมันในเลือด การเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ความพึงพอใจของผู้ป่วยและอายุรแพทย์ในการให้การดูแลของเภสัชกร ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาจนสิ้นสุดการศึกษามีจำนวน 45 ราย เป็นเพศหญิง 36 ราย เพศชาย 9 ราย มีอายุเฉลี่ย 48.49 +- 8.36 ปี ผู้ป่วย 30 ราย สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ณ ระดับที่คาดหวัง คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 120 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และผู้ป่วย 42 ราย สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ณ ระดับที่ยอมรับได้ คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ผู้ป่วยจำนวน 11 รายมีสภาวะการทำงานของไตลดลง ส่วนจำนวนผู้ป่วยที่สามารถควบคุมความดันเลือดได้ตามเป้าหมายการรักษามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในระหว่างการศึกษามีผู้ป่วยเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 24.44% ไม่มีผู้ป่วยรายใดต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือน้ำตาลในเลือดต่ำ และผู้ป่วยทุกรายมีความพึงพอใจในการให้การดูแลผู้ป่วยของเภสัชกร เมื่อสิ้นสุดการศึกษามีผู้ป่วยจำนวน 15 รายที่แพทย์ให้กลับไปอยู่ในความดูแลของแพทย์และผู้ป่วยอีก 30 รายให้อยู่ในความดูแลของเภสัชกรต่อไปได้ การศึกษาในครั้งนี้แสดงถึงคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยเภสัชกรในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
Other Abstract: The objective of this study was to determine whether the quality of diabetic patient care can be improved by pharmacist at Nongbualumphu hospital. The evaluation was done by comparing the parameters before and after pharmacist-assisted program had been implemented. There was no control group in this study. Eligible patients were referred by a medical doctor and followed after a period of six months. The program provided for these patients included education of the nature of diabetes, medication counseling, monitoring, evaluation and medication dosage adjustment according to varying hypoglycemic range. Primary outcome variable was fasting plasma glucose. Secondary outcomes were based on assessment of blood pressure control, serum creatinine, lipid profiles, hypoglycemic symptoms and satisfaction of patients and medical doctor. Forty-five patients completed the study. There were 36 women and 9 men with a mean age of 48.49+-8.36 years. Thirty patients significantly achieved an ideal target fasting plasma glucose (FPG) of 120 mg/dL or less (p < 0.05). Forty-two patients significantly achieved an acceptable control (a target FPG of 140 mg/dL or less (p < 0.05)). Eleven patients had worsening of renal functions. Significant changes in blood pressure control were noted (p < 0.05). Symptomatic hypoglycemic episodes occurred in 24.44% of patients. There was no patient admitted to the hospital during the study period due to hyper- or hypoglycemic reactions. All patients were satisfied to this pharmacist-assisted diabetic management program. After the completion of this study, fifteen patients were referred to medical doctor and thirty patients chose to receiving care by pharmacist. This study demonstrates the quality of diabetic patient care by pharmacist in the control of hyperglycemia.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2035
ISBN: 9741713207
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ArisaraChan.pdf7.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.