Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20489
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รัตน์ศิริ ทาโต | - |
dc.contributor.author | อมรรัตน์ สุปินราช | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-07-05T14:04:56Z | - |
dc.date.available | 2012-07-05T14:04:56Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20489 | - |
dc.description | วิทยาพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของนิสิตชาย โดยใช้แนวทางในการสอนเพศศึกษาของ Carter-Jessop, Franklin, Health, Jimenez-Irizarry, and Peace (2000) ซึ่งได้ประยุกต์ The Social Cognitive Learning Theory ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมในการพัฒนาโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นิสิตเพศชายที่กำลังศึกษาในหลักสูตรปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม ๆ ละ 30 คน รวม 60 คน กลุ่มควบคุมได้รับความรู้ตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การให้ความรู้ด้วยสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) การพัฒนาทักษะทางสังคมและการควบคุมตนเอง 3) การเสริมสร้างทักษะ และ 4) การสร้างแรงสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อน จำนวน 3 ครั้ง ๆ 2 ชั่วโมง โดยมีสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วีซีดีและคู่มือการจัดกิจกรรม เป็นสื่อในการดำเนินกิจกรรม ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาก่อนนำไปทดลองใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการกำกับการทดลอง คือ แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์และการตั้งครรภ์ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .84 แบบวัดการรับรู้ประโยชน์ของการใช้ถุงยางอนามัยมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .82 และแบบวัดการรับรู้อุปสรรคของการใช้ถุงยางอนามัยมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .79 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัย มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติการทดสอบค่าที (Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของนิสิตชายในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนทัศนคติหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของนิสิตชายในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนทัศนคติหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001). | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effect of changing adolescent's attitude program on intention to use condoms in male students. Sex education process from Carter-Jessop, Franklin, Health, Jimenez-Irizarry, and Peace's study (2000) which applied the Social Cognitive Learning Theory (Bandura, 1995) and related literature was used as a conceptual framework to develop the program. The participants were 60 freshmen male students who were randomly assigned to an experimental group or a control group, 30 each. The experimental group received changing attitude program, while the control group received usual knowledge about sexual health and condom use. The intervention developed by a researcher consisted of 4 steps: 1) giving information by computer assisted instruction 2) social skill development and self control 3) skill building, and 4) peer support which was implemented in 2 hours for 3 consecutive weeks. Media used in the program included computer assisted instruction, VCD and a manual for a researcher. The intervention was reviewed for content validity by a panel of experts. Knowledge on STDs, AIDS and pregnancy (KR= .84), perceived benefits of using condoms (?= .82) and perceived barrier to condom use (?= .79) was measured to monitor the intervention effect. Intention to use condom questionnaire was used to collect the data. It demonstrated acceptable reliability with Cronbach's alpha at .74. Data were analyzed using descriptive statistics, dependent t-test and independent t-test. Major findings were as follow: 1. The mean score of intention to use condoms after participating in the changing attitude program was significantly higher than before participating in the program (p<.001). 2. The mean score of intention to use condoms after participating in the program of the experimental group was significantly higher than that of the control group (p<.001). | en |
dc.format.extent | 1767379 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1251 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ถุงยางอนามัย | - |
dc.subject | การเปลี่ยนทัศนคติ | - |
dc.subject | นักศึกษา -- ทัศนคติ | - |
dc.title | ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อความตั้งใจในการใช้ถุงยางอนามัยของนิสิตชาย | en |
dc.title.alternative | The effect of changing adolescent's attitude program on intention to use condom in male students | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การพยาบาลเด็ก | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Ratsiri.T@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.1251 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
amornrat_su.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.