Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20594
Title: ปัจจัยการสื่อสารเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb)
Other Titles: Communication factors for the promotion of low-carb foods consumpsion behavior
Authors: กรกนก นิลสังข์
Advisors: อุบลวรรณ เปรมศรีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Ubolwan.P@chula.ac.th
Subjects: พฤติกรรมผู้บริโภค
การส่งเสริมสุขภาพ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb) และศึกษาถึงปัจจัยการสื่อสารเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb) โดยทำการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ใช้การประมวลผลโดยโปรแกรม SPSS นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงวามถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย t-test และ ANOVA และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb) โดยรวมในระดับปานกลาง โดยบริโภคเนื้อสัตว์มากที่สุด และบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่บริโภคเพื่อลดน้ำหนักน้อยที่สุด ในด้านปัจจัยการสื่อสารจะมีผลต่อผู้บริโภคในระดับปานกลาง โดยที่ปัจจัยการสื่อสารที่ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb) มากที่สุดคือ อารมณ์ของผู้บริโภค น้อยที่สุด คือ โปสเตอร์ ผลการทดสอบสมมติฐานปรากฏดังนี้ 1.พฤติกรรมการบริโภคอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb) จะแตกต่างกันตามลักษณะทางประชากร ได้แก่ รายได้ และการประเมินตนเองในด้านการดูแลสุขภาพ แต่ไม่แตกต่างกันตามเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และสถานะสุขภาพ 2.การกระทำกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพอนามัยมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb) โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและถูกวิธีมีความสัมพันธ์เชิงบวกมากที่สุด ส่วนการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์ทางลบมากที่สุด 3.ปัจจัยการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb) โดยบุคคลในครอบครัวมีความสัมพันธ์เชิงบวกมากที่สุด
Other Abstract: The objectives of this research were to study the behaviors of Low-Carb foods consumption and communication factor supporting those behaviors. The questionnaire was designed as a tool to observe 400 persons of sampling group and, after data collection, SPSS program was used to analyze data. The results of the study were presented by frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, ANOVA and Pearson correlation coefficient. The results of the research were as follows: The sampling group consumed low-carbohydrate food in medium level. Particularly, meat was the most selection, while food additives for weight control were the least selection of their preferences. In the aspect of communication factors, the sampling group was affected by them in medium level. Particularly emotion of sampling was the most important factor and poster as a media was the least effective factor affecting the sampling group.The hypothesis testing of the study was as follows: 1. Low-Carb foods consumption behaviors were different from demographic characteristics: income and self evaluation about healthcare. But it did not be affected by gender, age, marital status, level of education, occupation and health condition. 2. Activity for health supporting related to Low-carb foods consumption behaviors. Particularly, habitual exercising was the most effective activity which positively related to these consumption behaviors, while smoking was the worst activity which negatively related to these consumption behaviors. 3. Communication factor related to Low-Carb foods consumption behaviors, particularly family was the most positive factor for those behaviors.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20594
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1104
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1104
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kornkanok_ni.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.