Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20627
Title: ระบบการป้องกันการปนเปื้อนสารอันตรายในโรงงานผลิตเบาะรถยนต์
Other Titles: Dangerous substances prevention system in automotive seat&cushions production factory
Authors: เบญจลักษณ์ ทองกุล
Advisors: จิตรา รู้กิจการพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fieckp@eng.chula.ac.th
Subjects: รถยนต์--เครื่องมือและอุปกรณ์
โลหะหนัก
รถยนต์--เครื่องมือและอุปกรณ์ -- แง่สิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบป้องกันการปนเปื้อนสารอันตรายในโรงงานผลิตเบาะรถยนต์ซึ่งจากการศึกษาปัญหาของโรงงานกรณีศึกษาพบว่าทางลูกค้ามีความต้องการที่จะให้ผู้ผลิตทำการผลิตเบาะรถยนต์ที่ปราศจากการปนเปื้อนสารอันตรายจากสารโลหะหนัก ดังนั้นจึงได้ทำการตรวจสอบสารโลหะหนัก ในวัสดุและวัตถุดิบทั้งหมดที่ใช้ในโรงงานและพบว่ามีวัสดุและวัตถุดิบที่มีการปนเปื้อนสารโลหะหนัก อยู่ทั้งหมด 8 รายการ ดังนั้นจึงได้ทำการประเมินและจัดลำดับความสำคัญของข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตเบาะรถยนต์ โดยประชุมทีมงานของโรงงานซึ่งประกอบด้วยฝ่ายขาย ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายประกันคุณภาพ ฝ่ายวางแผน ฝ่ายกระบวนการผลิตและฝ่ายผลิต ซึ่งนำเทคนิคการวิเคราะห์ข้อบกพร่อง (FMEA) มาประยุกต์ใช้ทั้งนี้ได้คำนวณค่าความเสี่ยงชี้นำ (RPN) เพื่อนำมาจัดลำดับความสำคัญของข้อบกพร่องในการแก้ไขโดยมีแนวทางการแก้ไขปัญหา 5 แนวทาง ได้แก่ (1) ปรับปรุงทางด้านข้อมูลโดยการจัดให้มีการตรวจสอบการปนเปื้อนสารโลหะหนัก จากหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับจากลูกค้า (2) ปรับปรุงทางด้านการปฏิบัติงานโดยจัดทำและปรับปรุงแผนควบคุม ระเบียบการปฏิบัติงาน วิธีการปฏิบัติงานและเอกสารสนับสนุน (3) ปรับปรุงทางด้านการสื่อสารโดยจัดทำระบบเอกสารในการส่งต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานหนึ่งไปสู่อีกหน่วยงานหนึ่ง (4) ปรับปรุงทางด้านการชี้บ่ง โดยกำหนดให้มีการชี้บ่งตั้งแต่ขั้นตอนการรับเข้าของวัสดุและวัตถุดิบจากผู้ขายจนกระทั่งถึงส่งผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า (5) ปรับปรุงทางด้านการอบรมโดยการจัดการอบรมให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดตั้งแต่หัวหน้าจนถึงพนักงานหน้างานให้เข้าใจถึงขั้นตอนการทำงานที่ถูกต้อง ผลจากการแก้ไขและปรับปรุงพบว่าทำให้ค่าความเสี่ยงชี้นำหลังการปรับปรุงมีค่าลดลงและจากการนำเบาะรถยนต์ที่ผลิตหลังจากการปรับปรุงไปตรวจสอบพบว่าไม่มีการปนเปื้อนสารอันตรายจากสารโลหะหนัก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาที่ได้ดำเนินการไปนั้นสามารถป้องกันการปนเปื้อนสารอันตรายจากสารโลหะหนักในกระบวนการผลิตเบาะรถยนต์ได้
Other Abstract: The objective of this study was to develop the dangerous substances prevention system in automotive seat & cushions production factory. From the problem study, it was found that customers desire the seat & cushions without SoC (Substances of Concern). Therefore all of materials and raw materials were checked. There were 8 items of materials and raw materials having SoC. The cross functional team of the factory were set they came from sale, purchasing, quality assurance, planning, process, and production departments. The roles of this team were to analyze the problem’s causes and then prior there causes, The important tools for this study were the failure Mode and Effect Analysis (FMEA) and the Risk Priority Number (RPN). This team had draw the improvements for the prevention system. They comprised five improvements; 1) Data Improvement, SoC inspection be creditable organization was provided.; 2) Operating Improvement, The control plan, procedures, work instruction and supporting documents were done.; 3) Communicating Improvement The document system between departments was defined.; 4) Identifying materials and raw materials improvement, this improvement comprised initial raw material incoming to product delivering. And 5) Training Improvement, all of levels of workers were trained to understand proper work operation for the prevention system. The result of improving were as follow; the risk priority number are decrease and the test result of seat & cushions after improved are without SoC. This system can prevented dangerous substances in automotive seat & cushions production factory.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20627
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.756
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.756
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Benjaluck_to.pdf5.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.