Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20698
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศักดา ธนิตกุล-
dc.contributor.authorพรรณพิไล อิสริยะพฤทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-10T14:16:26Z-
dc.date.available2012-07-10T14:16:26Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20698-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractแฟรนไชส์เป็นระบบธุรกิจที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเนื่องจากเป็นระบบช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าและบริการที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง โดยผ่านสัญญาแฟรนไชส์ โดยหลักการแล้วผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิในการประกอบธุรกิจ แฟรนไชส์ หรือ แฟรนไชซอร์ และผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการประกอบธุรกิจ หรือ แฟรนไชซีต่างได้รับผลประโยชน์จากการเข้าทำสัญญาดังกล่าว แต่ข้อสัญญาหนึ่งที่มักปรากฏในสัญญา แฟรนไชส์และก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมาย คือข้อสัญญาจำกัดสิทธิแข่งขันในการประกอบธุรกิจของผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษากฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศที่กำกับดูแลความมีผลและการบังคับใช้ข้อสัญญาในลักษณะที่เป็นการจำกัดสิทธิแข่งขันในการประกอบธุรกิจของผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสัญญาแฟรนไชส์ซึ่งไม่เป็นธรรมและไม่มีเหตุผลอันสมควร อันเป็นการไม่ส่งเสริมหรือทำลายความเจริญก้าวหน้าในระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางหรือหลักเกณฑ์ในการควบคุมและกำกับดูแลข้อสัญญาจำกัดสิทธิแข่งขันดังกล่าวในสัญญาแฟรนไชส์ภายใต้กฎหมายไทย จากการศึกษาพบว่า กฎหมายไทยที่มีอยู่และเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลข้อสัญญาจำกัดสิทธิดังกล่าวคือพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมยังขาดความชัดเจนในเรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายและการบังคับใช้ข้อสัญญาจำกัดสิทธิแข่งขันดังกล่าวในสัญญาแฟรนไชส์อันจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายในแง่ของการหาดุลยภาพระหว่างการคุ้มครองผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิและการจำกัดสิทธิแข่งขันของผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยที่ไม่ขัดกับนโยบายสาธารณะในเรื่องการค้าเสรี เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายและการบังคับใช้ข้อสัญญาจำกัดสิทธิแข่งขันให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาที่เหมือนกัน ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมโดยอาศัยหลักที่กฎหมายต่างประเทศนำมาใช้และมีความเหมาะสมกับการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายและการบังคับใช้ข้อสัญญาดังกล่าวของสัญญาแฟรนไชส์ภายใต้กฎหมายไทยในการอธิบายหรือขยายความในเรื่องความเป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีของข้อสัญญาที่มีลักษณะดังกล่าวen
dc.description.abstractalternativeFranchise is a business system which is widely popular among Thailand and other countries since it is an efficient channel for distributing goods and services through franchise agreements. In principle, both franchisors and franchisees acquire interest or benefit from entering franchise agreements. However, a clause which is commonly contained in franchise agreement and cause legal problems is a non-compete clause. The objectives of this thesis is therefore to study Thai and foreign laws governing the non-compete clause in franchise agreements which is not unfair and unreasonable, and obstruct economic progress, including studying for stipulating guidelines or criteria on regulating the non-compete clause in franchise agreements under Thai law. It has been found from the study that current Thai law relevant to governing the non-compete clause in franchise agreement, i.e. Unfair Contract Terms Act, is unclear or insufficient on the criteria applied to scrutinize validity and enforce the non-compete clause. Such law should provide the criteria which balance equity between the two parties in respect of protecting legitimate interest of franchisors and restraint of trade against franchisees in a way that is not contrary to public policy on free trade. To solve the problems on scrutinizing validity and enforcement of the non-compete clause by applying same basis, guidelines to amend Unfair Contract Term Act in respect of clarifying or describing the extent of fairness and reasonableness of the non-compete clause, based on criteria applicable in foreign laws and suitable for scrutinizing validity and enforcement of the non-compete clause in franchise agreements under Thai law were introduced in this thesis.en
dc.format.extent5848743 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1892-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectแฟรนไชส์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen
dc.subjectแฟรนไชส์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen
dc.subjectแฟรนไชส์ -- ไทยen
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับข้อสัญญาจำกัดสิทธิแข่งขันในการประกอบธุรกิจของผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสัญญาแฟรนไชส์en
dc.title.alternativeLegal problems on non-compete clause in franchise agreementsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSakda.T@chula.ac.th, tsakda@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1892-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panpilai_is.pdf5.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.