Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20703
Title: | การสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง และการเรียนรู้ค่านิยมส่งเสริมสังคมจากภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นชุดมาสค์ไรเดอร์ของกลุ่มแฟนคลับ |
Other Titles: | Communication, parasocial interaction and pro-social value learning in fanclub of masked rider carioon series |
Authors: | ปริญชาติ จรุงจิตรประชารมย์ |
Advisors: | กาญจนา แก้วเทพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kanjana.Ka@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเรียนรู้ค่านิยมส่งเสริมสังคม การมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงกับตัวละครมาสค์ไรเดอร์ การสื่อสารที่นำไปสู่การเรียนรู้ค่านิยมส่งเสริมสังคมจากภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นชุดมาสค์ไรเดอร์ของแฟนคลับ และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้ง 3 รวมทั้งเปรียบเทียบการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงและการเรียนรู้ค่านิยมส่งเสริมสังคมของแฟนคลับที่มีอายุแตกต่างกัน ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ แฟนคลับมาสค์ไรเดอร์ที่มีอายุระหว่าง 14-46 ปี โดยอาศัยการวิจัยแบบสหวิธีการ การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจกับแฟนคลับมาสค์ไรเดอร์จำนวน 470 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม ประมวลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์หาค่าความแปรปรวน และการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ของ Scheffe ซึ่งผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) ระดับการเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริง 2) ระดับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับการเรียนรู้ค่านิยมส่งเสริมสังคม 3) ระดับการเปิดรับข่าวสารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระดับการเรียนรู้ค่านิยมส่งเสริมสังคม 4) ระดับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงมีความแตกต่างกันตามอายุของกลุ่มแฟนคลับ 5) ระดับการเรียนรู้ค่านิยมส่งเสริมสังคมไม่มีความแตกต่างกันตามอายุของกลุ่มแฟนคลับ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกแฟนคลับ 24 คน การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการร่วมกับการศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า แฟนคลับมีการเรียนรู้ค่านิยมส่งเสริมสังคมจากภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นชุดมาสค์ไรเดอร์ในประเด็นต่างๆ โดยแบ่งเป็น 1) ค่านิยมส่งเสริมสังคมที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิต เช่น ความพยายาม ความอดทน เป็นต้น 2) ค่านิยมส่งเสริมสังคมที่เกี่ยวกับคนรอบข้าง เช่น ความเสียสละ ความสามัคคี เป็นต้น ซึ่งที่มาของการเรียนรู้นั้นมาจากการเปรียบเทียบกับละครโทรทัศน์ไทย ลักษณะนิสัย พฤติกรรมของตัวละครและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่อง ส่วนการสื่อสารที่นำไปสู่การเรียนรู้ค่านิยมส่งเสริมสังคมนั้นมีที่มาจากตัวสาร หรือ Message เกี่ยวกับมาสค์ไรเดอร์ที่แฟนคลับเปิดรับ อันได้แก่ เนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะนิสัย พฤติกรรมของตัวละคร และเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่อง ในด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงนั้น พบว่าสามารถวิเคราะห์ได้จากความถี่ในการสื่อสารผ่านช่องทางสื่อชนิดต่างๆ โดยมีทั้งความสัมพันธ์ในเชิงบวกและเชิงลบ เช่น การเอาใจช่วยตัวละคร การตำหนิตัวละคร นอกจากนี้แฟนคลับยังมีการแสดงออกซึ่งการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกึ่งความจริงอีกด้วย เช่น การสะสมสิ่งของต่างๆเกี่ยวกับมาสค์ไรเดอร์ และการแต่งกายเลียนแบบมาสค์ไรเดอร์ เป็นต้น |
Other Abstract: | The main objective of this research is to study the pro-social value learning, parasocial interaction and communication that will lead to pro-social value learning in fanclub of Masked Rider cartoon series, including the relationship of these 3 variables also to compare different in parasocial interaction, pro-social value learning between fanclub with different age. The sampling group in this research was Masked Riders’ fanclub age between 14-46 years old. The research was separated into 2 methods. The first method was quantitative research using questionnaire with 470 fans, processing data using computer program and data analysis by testing the Pearson’ s Product Moment Correlation Coefficient One-way Analysis of Variance and Multiple Comparison of Scheffe method. The results of this research method were as follows: 1) The degree of media exposure was positively correlated with the degree of parasocial interaction 2) The degree of parasocial interaction was positively correlated with the degree of pro-social value 3) The degree of media exposure was positively correlated with the degree of pro-social value learning. 4) Fanclub with different age are not different in pro-social value learning. 5) Fanclub with different age are different in parasocial interaction. The second method was qualitative research using in-depth interview with 24 fanclubs, researcher’s participatory observation, informal conversational and document analysis. The study found that the fanclubs experienced pro-social value learning in many points that can be divided into 2 parts which were 1) Living value such as effort and patient and 2) Surrounded relationship value such as sacrifice, unity etc. The origin of pro-social value learning came from comparing Masked Rider cartoon series with Thai dramas, learning from personality and behavior of characters also from situations in each chapter. The communications that lead to pro-social value originally came from media exposure about Masked Rider, which were messages about characteristic and behavior of characters and situations in each chapter of a series. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20703 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
princhart_ch.pdf | 3.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.