Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20789
Title: การประสานรายการยาในผู้ป่วยนอกคลินิกอายุรกรรมและศัลยกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
Other Titles: Medication reconciliation in outpatient visiting medicine and surgery clinics at H.M. Queen Sirikit Hospital
Authors: สุธาทอง มั่งมี
Advisors: นารัต เกษตรทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Narat.K@Chula.ac.th
Subjects: ความคลาดเคลื่อนทางยา
เภสัชกรรมของโรงพยาบาล
Medication errors
Hospital pharmacies
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของกระบวนการประสานรายการยา โดยเปรียบเทียบความแตกต่างและความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบในกลุ่มผู้ป่วยนอก ก่อนและหลังการนำกระบวนการประสานรายการยามาใช้ปฏิบัติ ที่ห้องตรวจอายุรกรรมและห้องตรวจศัลยกรรม วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ posttest-only control study ศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2553 กลุ่มควบคุมคือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาก่อนดำเนินการนำกระบวนการประสานรายการยามาใช้ กลุ่มศึกษาคือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาหลังนำกระบวนการประสานรายการยามาใช้ กระบวนการประสานรายการยาจัดทำโดยเก็บรวมรวบข้อมูลจากเวชระเบียน ฐานฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการสัมภาษณ์ผู้ป่วย แล้วนำมาจัดทำรายการยา โดยบันทึกใน outpatient medication reconciliation (OMR) form แนบไว้ในเวชระเบียนเพื่อให้แพทย์ทบทวนก่อนสั่งใช้ยาแก่ผู้ป่วย เปรียบเทียบความแตกต่างของรายการยา และความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบในกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจากห้องตรวจอายุรกรรมและศัลยกรรมถูกคัดเข้าสู่กลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษากลุ่มละ 150 ราย โดยเป็นผู้ป่วยอายุรกรรมและผู้ป่วยศัลยกรรมกลุ่มละ 75 ราย ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดทำรายการยาที่สมบูรณ์เฉลี่ย 18.6 ± 7.2 นาที ผู้ป่วยกลุ่มควบคุมและกลุ่มศึกษาได้รับยาเฉลี่ย 7.7 ± 2.9 และ 7.8 ± 2.7 รายการ ตามลำดับ พบความแตกต่างของรายการยาในกลุ่มศึกษามากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ร้อยละ 64.7 และ 40.0, p=0.000) ส่วนใหญ่เป็นชนิด intentional discrepancies (ร้อยละ 49.7) จำนวนความคลาดเคลื่อนทางยาต่อรายการยาในกลุ่มศึกษาน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1:12 รายการ, p=0.031) ความคลาดเคลื่อนทางยาร้อยละ 87.5 อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย ความคลาดเคลื่อนทางยาที่พบมากที่สุดคือ duplication to order drug (ร้อยละ 61.5) กลุ่มยาที่พบความคลาดเคลื่อนทางยามากที่สุดคือ ยากลุ่มหัวใจและหลอดเลือด (ร้อยละ 76.9) พบความคลาดเคลื่อนทางยาประเภท omission error มากที่สุดในกลุ่มผู้ป่วยอายุรกรรม (ร้อยละ 42.9) ในขณะที่พบความคลาดเคลื่อนทางยาประเภท duplication to order drug มากที่สุดผู้ป่วยศัลยกรรม (ร้อยละ 100.0) สรุปผลการศึกษา: กระบวนการประสานรายการยาในผู้ป่วยนอกช่วยลดจำนวนความคลาดเคลื่อนทางยาได้ อย่างไรก็ตาม การประสานรายการยาในผู้ป่วยนอกต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นจากการบริการเดิม กรณีที่มีผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอ อาจเลือกทำการประสานรายการยาในผู้ป่วยบางราย เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ใช้ยาหลายชนิด หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด
Other Abstract: Objective: To determine the results of medication reconciliation process by compairing medication discrepancies and medication errors between 2 group of outpatients, before and after implementation of medication reconciliation (MR) process, at medicine and surgery clinics. Method: A posttest-only control group study was conducted during March-August 2010. The control group was chronic disease outpatients who visited medicine and surgery clinics, before MR process was implemented. The study group was chronic disease outpatients who visited the same clinics after MR process was implemented. MR process was implemented by collecting information from patient charts, computerized database and patient interview. This information was recorded in outpatient medication reconciliation (OMR) form, the form was then attached in the patient charts which was reviewed by physicians before prescribing. Result: There were 150 patients recruited from medicine and surgery clinics into each control group and study group with 75 patients per clinic per group. The average time to complete OMR form was 18.6 ± 7.2 minutes. The average items of drug in the control and study group were 7.7 ± 2.9 and 7.8 ± 2.7 respectively. Number of medication discrepancies in the study group were significant higher than control group (64.7 % vs 40.0 %, p = 0.000), mostly were intentional discrepancies (49.7 %). Number of ME per number of drug items in the study group was significant lower than control group (1 vs 12 items, p = 0.031). Most type of ME were duplication to order drug (61.5 %) where 87.5% of ME were no harm and cardiovascular drugs were the most commonly caused of error (76.9 %). The most ME found at medicine clinic group were omission errors (42.9 %) where duplication to order drug were found at surgery clinic group (100.0 %). Conclusion: MR process in outpatients can help decreasing medication error, however, MR process in outpatients need more time beyond regular services. In case of personal shortage, implementation of MR process in chronic disease outpatients with polypharmacy or outpatients receiving surgery should be proposed.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20789
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suthatong_mu.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.