Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20790
Title: การแสดงบทบาทตัวละครนิลพัทในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์
Other Titles: The acting role of Ninlapat in Khon performance
Authors: อลัมพล สังฆเศรษฐี
Advisors: มาลินี อาชายุทธการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Malinee.A@Chula.ac.th
Subjects: โขน
รามเกียรติ์ -- ตัวละคร
ตัวละครและลักษณะนิสัย
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายนี้ที่จะศึกษาการแสดงบทบาทตัวละครนิลพัทในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ โดยศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลตัวละครนิลพัทจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาล ที่ ๑ และศึกษาวิเคราะห์ท่ารำ จากอาจารย์ประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว ระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๐๘- ๒๕๒๖ โดยวิเคราะห์กระบวนท่ารำตอนจองถนน กระบวนท่านิลพัทรบหนุมาน กระบวนท่านิลพัทรบยักษ์ และกระบวนท่าการออกกราวตรวจพลของนิลพัท จากการศึกษาพบว่าตัวละครนิลพัท ปรากฏอยู่ในบทละคร เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นวานรสีน้ำรัก(สีดำ) เมื่อเวลาแผลงฤทธิ์มีแปดกร สวมมาลัยที่ศีรษะ อาวุธประจำกายคือพระขรรค์ บิดาคือพระกาล ไม่ปรากฏมารดา เมียและลูก มีความจงรักภักดีและกล้าหาญ มีความเคารพ ความนอบน้อม ความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เมื่อเสร็จศึกแล้วได้รับยศเป็นพระยาอภัยพัทธ์วงศ์ ตำแหน่งอุปราชเมืองชมพู ท่ารำของนิลพัทตอนจองถนน นำทักษะทางท่ารำนาฏยศิลป์โขนลิงมาประกอบการแสดงการตีบทประกอบการเจรจา และการตีบทประกอบบทร้อง การตีบทประกอบบทเจรจา และบทร้อง เป็นศิลปะการรำที่ต้องใช้ฝีมือในการแสดงการตีบทเป็นอย่างมาก ความโดดเด่นของท่ารำนิลพัทในตอนจองถนน คือการที่ผู้แสดงสามารถแสดงท่ารำในอารมณ์ต่างออกมาได้อย่างชัดเจน มีความสอดคล้องของท่ารำกับบทละคร ใน ๑ ช่วงของการแสดง อาจมีทั้งอารมณ์เสียใจ อาลัย อาวรณ์แต่ยังคิดแค้นอยู่ในบทนั้น ตัวละครนิลพัทจึงเป็นตัวละครที่มีบทบาทในการแสดงที่โดดเด่นมากตัวหนึ่ง เป็นศิลปะการรำที่ต้องใช้ฝีมือ และลีลาในการแสดงเป็นอย่างมาก กระบวนท่านิลพัทรบหนุมาน และกระบวนท่านิลพัทรบยักษ์ เป็นการรำตามกระบวนท่าที่กำหนดไว้ แต่ละท่านั้นจะเชื่อมโยงด้วยกระบวนท่าต่างๆตามแบบแผนในการแสดงทุกครั้ง ท่ารบนิลพัทรบหนุมาน และนิลพัทรบยักษ์ เป็นกระบวนท่ารำที่ประกอบด้วยท่ารำที่เป็นแม่ท่าลิง และท่ารำพิเศษ ท่ารำที่เป็นแม่ท่าลิงได้แก่ ท่าเก็บ ท่าหย่อง ท่ายืดกระทบ ท่ากระโดดยกเท้าขวา การเข้ารบนิลพัทรบหนุมาน และตีออกได้แก่ ท่าตีบน๑,๒ ท่าตีเลาะ การเข้ารบนิลพัทรบยักษ์ และตีออกได้แก่ ท่าปัดอาวุธด้านขวา ท่าปัดอาวุธด้านซ้าย ท่านิลพัทรบหนุมาน มีกระบวนท่ารำทั้งหมด ๖ ท่าได้แก่ ท่าจับ๑ ท่าหมุนตัวกระโดดแทงด้านข้างแบบยืน ท่าก้าวเหยียบมือเงื้อแทงป้องบน ท่าหมุนตัวกระโดดแทงด้านข้างแบบนั่ง ท่าแทงกัดแขน และท่าเงื้อบน ท่ารบนิลพัทรบยักษ์ มีกระบวนท่ารำทั้งหมด ๕ ท่าได้แก่ ท่าจับ๑ ท่าสามทีไขว้ ท่าหกกัด ท่าขึ้นลอย ๑ ท่าขึ้นลอย ๒ กระบวนท่ารำการออกกราวตรวจพลของนิลพัท ท่ารำจัดอยู่ในลักษณะอากัปกิริยาของวานร ประเภทพญาลิง ใช้ทำนองเพลงกราวนอกเป็นเพลงดำเนินการแสดง สื่อความหมายของท่ารำประกอบกิริยาต่างๆที่เกี่ยวกับการจัดทัพ ตัวละครนิลพัทมีความโดดเด่นและลีลาในเรื่องของการแสดงท่ารำประกอบจังหวะโดยกระบวนท่ารำนั้นใช้ท่ากระโดดหนีบน่องแทนการยกเท้าหนีบน่อง แสดงท่ารำที่เข้มแข็งและความว่องไวในการออกท่าที่ประสานสอดคล้องกัน ท่ารำแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง คือกระบวนท่ารำตามแบบมาตรฐานและท่าพิเศษของนิลพัท คือกระบวนท่าจับแมลงวัน เป็นท่ารำที่สอดแทรกลีลาและอากัปกิริยาของลิง กระบวนท่ารำของตัวละครนิลพัท เป็นการสะท้อนถึงองค์ความรู้ในการแสดงของอาจารย์หรือครูผู้ชำนาญการที่มีความรู้ความสามารถ อาจสอดแทรกความสามารถเฉพาะตัว กลเม็ดลีลาท่าทางต่างๆให้การแสดงมีความโดดเด่น เป็นที่ติดตาต้องใจของผู้ชมได้ ดังนั้น จึงสมควรส่งเสริมให้เกิดการศึกษาค้นคว้า เพื่อการอนุรักษ์ และเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาต่อไป
Other Abstract: The purpose of this thesis to study the role of Ninlapat in the Show on Ramayana. The study analyzed character of Ninlapat from role play of Ramayana by King Rama 1, and analyzed posture from Acharn Prasit Pinkaew during 1965 – 1983. The analysis is focused on the posture called “Jong Thanon”, “the battle between Ninlapat and Hanuman”, “the battle between Ninlapat and the giant”, and “the ground inspection of Ninlapat”. The study states that the character of Ninlapat could be found in Ramayana, the royal writing of His Majesty the King Rama I, as black monkey. He has eight hands when he shows the strength, with garlands on his head. He has weapon called “Khan”. His father is “Phra Karl”, without reference to his mother, wife and children. His outstanding characters are courage, brave, honesty, humility, respect, and responsibility. He was ranked as “Phraya Apai Wong”, Uparat of Muang Chompoo, after finishing the battle. Ninlapat’s choreography applies the skills of posture from monkey in Thai classic masked play, translation for dialogue and lyrics. The translation for dialogue and lyrics is the art that requires highly skilled of translation. The outstanding point of Ninlapat’s postures in “Jong Thanon” is the way that the character’s mood could be showed clearly, with harmonization between the postures and scripts. There might be the feeling of sad, mourn and also enrage in the same chapter. Therefore, Ninlapat is one of the most outstanding characters in the show, which requires high skills of dance. The postures of “the battle between Ninlapat and Hanuman” and “the battle between Ninlapat and the giant” are the dance which already defined. Each posture is connected in pattern. The postures of “the battle between Ninlapat and Hanuman” and “the battle between Ninlapat and the giant” consist of main postures for monkey dancing and other special dancing. The main postures of monkey dancing are postures of keeping, walking on the heels, stretching effects, and lift right foot jumping. The attack and retraction of Ninlapat with Hanuman are Tha Tee Bon and Tha Tee Lor. The attack and retraction of Ninlapat with the giant are the brush away weapon from right and left. The 6 postures for the battle between Ninlapat and Hanuman are the posture of catching, turning around and pierce the side by standing, stepping on the hands to lift lunge and prevent from above, turning around and pierce the side by sitting, piercing and biting arm, and raising. The 5 postures for the battle between Ninlapat and the giant are the posture of catching 1, crossing all three time (Sam Tee Kwai), Hok Kud, Kuen Loy 1, and Kuen Loy 2. The postures of “the ground inspection of Ninlapat” are manners of Phaya monkey. “Ground Nok” rhythm is applied to the performance to show the meaning of various embattle postures. The outstanding characteristics of Ninlapat are the style of rhythm dancing by jumping and clamp leg instead of lifting the foot and clamp leg, and the strength and adroitness of compatible dancing. The postures are divided in 2 periods, which are standard postures and special postures. The special posture for Ninlapat is the posture of catching the flies, which styles and manners of monkey are included in the dancing. Choreography of Ninlapat reflects the performance knowledge of teachers and experts. They might insert personal skills, tactics, and styles to make the shows more outstanding in order to impress the audiences. Therefore, the education and research should be encouraged for the conservation and for the benefit of further study.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20790
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
alumpol_sa.pdf11.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.