Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20825
Title: | การสร้างต้นแบบเครื่องควบคุมภาพพลิกแบบสัมพันธ์กับเสียง โดยอัตโนมัติ |
Other Titles: | prototype construction of an automatic synchronized flip picture controlling machine |
Authors: | พินิจ พันธ์ชื่น |
Advisors: | ศุภร สุวรรณาศรัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Issue Date: | 2526 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อสร้างค้นแบบเครื่องควบคุมภาพพลิกแบบสัมพันธ์เกี่ยวกับเสียงโดยอัตโนมัติ 2. เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องด้านเทคนิคการสร้างและการใช้งาน วิธีดำเนินการวิจัย 1.ขั้นตอนการสร้างเครื่องควบคุมภาพพลิก 1.1 กำหนดคุณสมบัติของเครื่องมือที่จะสร้าง 1.2 ศึกษา และทดลองหลักการทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 1.3กำหนดปัญหาที่น่าจะเกิดขึ้นในการสร้าง 1.4 เสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหา 1.5 จัดระบบการทำงานของเครื่องและทดลองการสร้าง 1.6 นำข้อมูลจากการทดลองมาปรับปรุงจนเครื่องทำงานได้ตามที่กำหนด 2. สาธิตการใช้เครื่องให้ผู้เชี่ยวชาญชม และประเมินคุณภาพ 3. เก็บรวบรวมข้อมูลแบบประเมินคุณภาพที่ผู้เชี่ยวชาญตอบ 4. วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินคุณภาพ โดยการคำนวณหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5. นำเครื่องไปทดลองใช้ในห้องเรียน และให้นักศึกษาเขียนแสดงความคิดเห็นที่มีต่อการควบคุมภาพพลิก ผลการวิจัย 1. เครื่องควบคุมภาพพลิกที่สร้างขึ้นมีคุณสมบัติตามที่กำหนด คือพลิกภาพได้เองครั้งละ 1 ภาพ และให้เสียงบรรยายและเสียงประกอบสัมพันธ์กับภาพที่เปลี่ยนไป 2. ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นเรื่องรูปแบบและระบบการทำงานของเครื่องดังนี้ 2.1 ระบบส่งกำลังดึงภาพดี 2.2 ระบบจับภาพ และระบบควบคุมอัตโนมัติเชื่อถือได้ 2.3 ไม่แน่ใจเรื่อง รูปแบบ ขนาด และความทนทานของเครื่อง 3. ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นเกี่ยวกับงานใช้งานทั่วๆ ไปว่า เครื่องมือที่สร้างขึ้นมีความสะดวกมากในการเคลื่อนย้าย การติดตั้ง การบังคับควบคุม การทำความสะอาดเครื่อง และการซ่อมบำรุง นอกจากนี้ยังมีความเห็นว่า การจัดเตรียมภาพก็ทำได้ง่ายมากเช่นเดียวกัน 4. ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นเกี่ยวกับนำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปใช้ประกอบการเรียนการสอน ดังนี้ 4.1 เหมาะสมมากกับการใช้ในชั้นนำเข้าสู่บทเรียน ชั้นสอน และชั้นสรุปบทเรียน 4.2 เหมาะสมมากในการใช้เล่านิทานประกอบภาพหรือแสดงขั้นตอนของการปฏิบัติต่างๆ 4.3 เหมาะสมมากกับระดับอนุบาลและประถมศึกษา และเหมาะสมปานกลางกับระดับมัธยมและอุดมศึกษา 4.4 เหมาะสมกับกลุ่มเล็ก (5-10 คน) และการเรียนรายบุคคล ข้อเสนอแนะ 1. สถานบันการศึกษา การสนับสนุนให้มีการพัฒนาเครื่องควบคุมภาพพลิกและแบบสัมพันธ์กับเสียงอัตโนมัติ ให้มีรูปแบบและประสิทธิภาพดีขึ้น เพื่อที่จะได้นำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม 2.ในการพัฒนาเครื่องมือดังกล่าว มีสิ่งควรพิจารณาดังนี้ 2.1 จัดทำที่เก็บภาพเมื่อเครื่องพลิกลงมาแล้ว 2.2 สร้างเครื่องให้เป็นหน่วยเดียวโดยรวมเครื่องบันทึกเสียงและตัวเครื่องพลิกภาพไว้ด้วยกัน 2.3 ออกแบบให้ใช้ภาพขนาดใหญ่ที่ใช้สอนทั้งชั้นได้ 3. ควรนำการวิจัยเปรียบเทียบการสอนโดยใช้เครื่องควบคุมภาพพลิกกับการสอนโดยใช้ภาพนิ่งในลักษณะอื่น เช่น สไลด์ หรือ ฟิล์มสตริป |
Other Abstract: | Purposes : 1. To construct a prototype of an automatic sound synchronized flip picture controlling machine. 2. To analyse the quality of the machine in terms of construction techniques and its application. Procedure : 1. Steps in the construction of the flip picture controlling machine. 1.1 Established the main funotions of the machine. 1.2 Studied and experimented some related principles and theories. 1.3 Anticipated problems which might occur at some points in the construction process. 1.4 Suggested possible solutions to such problems. 1.5 Designed a system for the machine and made a model. 1.6 Developed the machine to the point that it could perform the required functions. 2. Demonstrated the machine before experts in educational technology who evaluated the machine. 3. Collected data from the evaluation forms answered by the experts. 4. Analysed the data by finding mean and standard deviation. 5. Demonstrated the machine in the classroom and had the students give written comments. Conclusions : 1. The automatic sound synchronized flip picture controlling machine constructed can perform the two functions, I . e turning one picture at one time and giving synchronized sound. 2. Concerning the design and the operating system, the experts stated that : 2.1 The power transmission system to pull the pictures was good. 2.2 The picture picking system and the automatic control system were reliable. 2.3 The design and the size of the machine had not been perfected and questioned whether the machine was durable. 3. The experts not only thought that the machine was very convenient to move around, to install, to clean and to repair but they also thought the preparation of the pictures was simple. 4. As for the suitability in classroom, the experts believed that the machine was : 4.1 very suitable for introductory step, teaching step, and conclusion step. 4.2 very suitable for telling stories with pictures or illustrating steps of doing/making things. 4.3 very suitable for kindergarten and primary classes, and suitable for use at secondary and tertiary levels. 4,4 very suitable for small group ( 5 - 10 persons ) and individual learning. Suggestions : 1. Educational institutes should promote the development of the automatic sound synchronized flip picture controlling machine so that it will be more efficient and suitable for classroom use. 2. The following are suggestions for the further development of the machine: 2.1 The machine should have a container to collect pictures after they have been shown. 2.2 The picture flipping machine and the tape recorder should be consolidated into a single unit. 2.3 The machine ought to be able to accommodate larger pictures for classroom study. 3. Further research should be done to compare the efficiency of this machine with that of slides or filmstrips. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20825 |
ISBN: | 9745622591 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pinit_Pu_front.pdf | 367.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pinit_Pu_ch1.pdf | 302.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pinit_Pu_ch2.pdf | 485.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pinit_Pu_ch3.pdf | 373.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pinit_Pu_ch4.pdf | 346.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pinit_Pu_ch5.pdf | 277.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pinit_Pu_back.pdf | 797.45 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.