Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20835
Title: อิทธิพลของลักษณะเป้าหมายของบิดามารดาที่มีต่อพฤติกรรมและความรู้สึกอยากเรียนและผลการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีลักษณะเป้าหมายส่วนตนของนักเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน
Other Titles: Effects of parental goals on behavioral and emotional engagement in learning and academic performance of high school students as mediated by the students' personal achievement goals
Authors: ดุสิดา ดีบุกคำ
Advisors: ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร
พรรณระพี สุทธิวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Praphaiphun.P@Chula.ac.th
Panrapee.S@Chula.ac.th
Subjects: วัยรุ่น
พฤติกรรมการเรียน
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Adolescence
Learning behavior
High school students
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุแสดง อิทธิพลของลักษณะเป้าหมายของบิดามารดาที่มีต่อพฤติกรรมอยากเรียน ความรู้สึกอยากเรียน และผลการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีลักษณะเป้าหมายส่วนตนของนักเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นชุดแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง .71-.89 ผลการวิเคราะห์โมเดลโดยใช้โปรแกรมลิสเรล 8.72 พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรอิสระในโมเดลอธิบายพฤติกรรม อยากเรียนได้คิดเป็น 29% (chi-square = 2.65, df = 2, p = .265, GFI = 0.998, AGFI = 0.984) อธิบายความรู้สึกอยากเรียนได้คิดเป็น 11% (chi-square = 2.65, df = 2, p = .265, GFI = 0.998, AGFI = 0.984) และอธิบายผลการเรียนได้คิดเป็น 22% (chi-square = 2.82, df = 2, p = .244, GFI = 0.998, AGFI = 0.983) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ลักษณะเป้าหมายของบิดามารดาแบบต่างๆ มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมอยากเรียน ความรู้สึกอยากเรียน และผลการเรียน ผ่านลักษณะเป้าหมายส่วนตนของนักเรียนแบบต่างๆ แตกต่างกัน ซึ่งโดยรวมแล้วลักษณะเป้าหมายแบบมุ่งเรียนรู้จะส่งผลดี ต่อผลลัพธ์ด้านการเรียนรู้มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับลักษณะเป้าหมายแบบมุ่งแสดง ความสามารถและแบบมุ่งหลีกเลี่ยงการด้อยความสามารถ
Other Abstract: To validate the causal models depicting the effects of parental goals on behavioral and emotional engagement in learning and academic performance of high school students as mediated by the students’ personal achievement goals. Data were collected from 600 participants who were high school students in Bangkok, using a set of questionnaires with reliability ranging from .71-.89. Results from statistical analysis using LISREL 8.72 software indicated that each of the three models was a good fit to the empirical data. Parental and personal goals which are the independent variables in the models accounted for 29% of the variance of the students’ behavioral engagement (Chi-square = 2.65, df = 2, p = .265, GFI = 0.998, AGFI = 0.984), 11% of the variance of the students’ emotional engagement (Chi-square = 2.65, df = 2, p = .265, GFI = 0.998, AGFI = 0.984), and 22% of the variance of the students’ academic performance (Chi-square = 2.82, df = 2, p = .244, GFI = 0.998, AGFI = 0.983). The findings indicated that different parental goals, mediated by the students’ personal goals, have different direct and indirect effects on the students’ behavioral and emotional engagement in learning and academic performance. Overall, the mastery goal has most positive effects on the learning outcomes in comparison with the performance and performance-avoidance goals.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20835
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.511
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.511
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
dusida_de.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.