Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20879
Title: สมบัติความชอบน้ำของฟิล์มแอโนไดซ์บนโลหะผสมไทเทเนียมที่กระตุ้นด้วยยูวี
Other Titles: Hydrophilic property of anodized film on titanium alloy activated by UV
Authors: พนาวรรณ หวังดี
Advisors: ดุจฤทัย พงษ์เก่า คะชิมา
วิริทธิ์พล ศรีมณีพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Dujreutai.P@Chula.ac.th
Viritpon.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาสมบัติความชอบน้ำของฟิล์มแอโนไดซ์บนโลหะผสมไทเทเนียม (Ti-6Al-4V) ที่กระตุ้นด้วยยูวี โดยเตรียมฟิล์มแอโนไดซ์ขึ้นจากวิธีกาล์วาโนสแตติกและโพเทน ชิโอสแตติกที่ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าต่ำและความต่างศักย์ไฟฟ้าต่ำ ในสารละลายอิเล็ก โทรไลต์ 2 ชนิดที่ต่างกันคือ กรดฟอสฟอริกและโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 1 โมลาร์ หลังการปรับปรุงผิวโลหะผสมไทเทเนียมแล้ว พบว่าค่ามุมสัมผัสกับน้ำของฟิล์มแอโนไดซ์ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญและลักษณะพื้นผิวมีความขรุขระมากขึ้น โดยฟิล์มแอโนไดซ์ที่เกิดขึ้น บนโลหะผสมไทเทเนียมเมื่อใช้กรดฟอสฟอริกเป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์ ที่ค่าความ หนาแน่นกระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตร เกิดเฟสของ Ti₂O₃ ร่วมอยู่กับ TiO₂ และ TiO และค่ามุมสัมผัสกับน้ำลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.006) หลังผ่านการกระตุ้นด้วย ยูวีนาน 2 ชั่วโมง โดยเฟสองค์ประกอบและลักษณะพื้นผิวของฟิล์มแอโนไดซ์ไม่เกิดการ เปลี่ยนแปลง แต่ในกรณีของฟิล์มแอโนไดซ์ที่เตรียมจากสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ค่า ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า 1.75 แอมแปร์ต่อตารางเซนติเมตร ไม่พบเฟสของ TiO ร่วมอยู่กับ Ti₂O₃ และ TiO₂ และหลังจากการกระตุ้นด้วยยูวีพบว่าค่ามุมสัมผัสกับน้ำลดลงแต่ไม่มีความ แตกต่างกันทางสถิติ สำหรับฟิล์มแอโนไดซ์ที่เตรียมจากวิธีโพเทนชิโอสแตติก ในทั้งสอง สารละลายอิเล็กโทรไลต์ พบว่าหลังจากกระตุ้นด้วยยูวีนาน 2 ชั่วโมง พบว่าค่ามุมสัมผัสกับน้ำ ลดลงแต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p >0.05) แสดงให้เห็นว่า ทั้งวิธีกาล์วาโนสแตติก และโพเทนชิโอสแตติกสามารถเพิ่มสมบัติความชอบน้ำได้ภายหลังการทำแอโนไดซ์ อย่างไรก็ ตาม มีเพียงฟิล์มแอโนไดซ์ที่ประกอบด้วย TiO ที่ค่ามุมสัมผัสกับน้ำลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ภายหลังการฉายยูวี คาดว่า TiO อาจจะมีส่วนช่วยเพิ่มสมบัติความชอบน้ำแก่ฟิล์มแอโนไดซ์ ได้
Other Abstract: Hydrophilic property of anodized film on titanium alloy (Ti-6Al-4V) activated by UV was studied. Anodic oxide film was prepared by 2 methods at a low current density and low voltage in two kinds of electrolytes, 1M H₃PO₄ and 1M NaOH. The as-anodized film prepared from galvanostatic and potentiostatic method in both electrolytes showed a significantly decreasing contact angle before UV irradiation and an increasing surface roughness. Only the as-anodized film formed in 1M H₃PO₄ at 1A/cm2 composed of Ti₂O₃, TiO₂ coexisted with TiO and the contact angle significantly decreased (p=0.006) after UV irradiation for 2h. The as-anodized film formed in 1M NaOH at 1.75 A/cm² composed of only Ti₂O₃ and TiO₂. Moreover, the contact angle was not changed after UV irradiation for 2h. All of the as-anodized films prepared from potentiostatic method in both electrolytes did not show a significant decreasing in contact angle after UV irradiation for 2h (p>0.05). It is indicated that only the as-anodized film which composed of TiO showed a significant decreasing in contact angle after UV irradiation. It is implied that the TiO phase formed in anodic oxide film imparts hydrophilicity to the film.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีเซรามิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20879
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phanawan_wh.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.