Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20929
Title: การสำรวจสถานภาพ ความต้องการ และปัญหาการใช้สื่อการสอนในโปรแกรมการฝึกอบรมของธนาคาร ในประเทศไทย
Other Titles: A survey of status, needs and problems concerning the utilization of instructional media in the training programs of the banks in Thailand
Authors: พงศ์ศิษฎ์ ไทยสีหราช
Advisors: วิรุฬห์ ลีลาพฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การสอนด้วยสื่อ
การฝึกอบรม
ธนาคารและการธนาคาร
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสถานภาพของการใช้สื่อการสอนในโปรแกรมการฝึกอบรม ของธนาคารในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาความต้องการหน่วยโสตทัศนศึกษา และนักวิชาการโสตทัศนศึกษา เพื่อใช้ในโปรแกรมฝึกอบรมของธนาคารในประเทศไทย 3. เพื่อศึกษาปัญหาของการใช้สื่อการสอนในโปรแกรมการฝึกอบรม ของธนาคารในประเทศไทย วิธีดำเนินการวิจัย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับหัวหน้าหน่วยฝึกอบรม หรือหัวหน้าฝ่ายพัฒนาส่วนบุคคลของธนาคารที่มีอยู่ในประเทศไทย โดยเอาเฉพาะสำนักงานใหญ่ของแต่ละธนาคาร และธนาคารของสาขาธนาคารต่างประเทศที่ตั้งสำนักงานอยู่ในประเทศไทย รวมมีจำนวนทั้งสิ้น 40 ธนาคารโดยเก็บข้อมูลธนาคารละ 1 คน รวมจำนวนประชากรมี 40 คน นำแบบสอบถามที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ค่าสถิติโดยใช้ค่าร้อยละ และมัชฌิมเลขคณิต ผลสรุปการวิจัย 1. ธนาคารส่วนใหญ่จะเลือกสื่อการสอนโดยยึดจุดมุ่งหมายของเรื่องที่จะฝึกอบรมเป็นหลัก และจะต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจน มีธนาคารเหมาะสมกับธนาคารของห้องและจะต้องเป็นสื่อการสอนที่ให้แนวคิดเพียงแห่งเดียวเป็นหลัก นอกจากนี้ก่อนที่จะใช้สื่อการสอนจะมีการเตรียมพร้อมทั้งตัวผู้ให้การอบรม สื่อการสอน และห้องที่จะใช้ฝึกอบรม ในการใช้ก็จะใช้สื่อการสอนเพื่ออธิบายเนื้อหา นำเข้าสู่เรื่อง สรุปเนื้อหาและใช้ฝึกทักษะของเนื้อหาที่อบรมในตอนนั้นๆ เป็นหลัก ส่วนสื่อการสอนที่ใช้มากคือ กระดานดำ แผนภูมิ แผนภาพ ของตัวอย่าง ของจริงการแสดงบทบาทสมมติ การสาธิต เครื่องฉายภาพโปร่งใส เครื่องฉายสไลด์ ระบบขยายเสียงและเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง ส่วนสื่อการสอนที่ใช้น้อยคือภาพโฆษณา ของจำลอง ตู้อันตรทัศน์ การจัดแสดง การจัดนิทรรศการ การเล่นแบบละคร เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องเล่นแผ่นเสียง และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ 2. ธนาคารส่วนใหญ่ต้องการให้มีหน่วยโสตทัศนศึกษาโดยจัดเป็นห้องต่างหากและให้มีอยู่ในสำนักงานใหญ่และที่สาขาสำคัญแต่ละภาคในประเทศ สื่อการสอนที่ธนาคารต้องการมากคือ อุปกรณ์ประเภทเครื่องฉายและเครื่องเสียง ส่วนนักวิชาการโสตทัศนศึกษาที่ธนาคารต้องการจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ได้ มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยมีประสบการณ์ในการทำงาน 1 – 3 ปี และต้องการนักวิชาการโสตทัศนศึกษาที่มีความชำนาญทางการถ่ายภาพ การผลิตสไลด์ การใช้เครื่องฉายต่างๆ รวมทั้งสามารถเก็บรักษาและซ่อมแซมสื่อการสอน 3. ปัญหาที่พบมากคือ จำนวนสื่อการสอนมีน้อย ไม่มีผู้ให้คำแนะนำในการเลือกผลิตหรือใช้สื่อการสอน ไม่มีเวลาทำสื่อการสอน ไม่มีหน่วยบริการสื่อการสอน และขาดทักษะในการใช้สื่อการสอนประเภทเครื่องฉายและเครื่องเสียง ข้อเสนอแนะ 1. สถาบันศึกษาที่ผลิตนักวิชาการโสตทัศนศึกษา หรือนักเทคโนโลยีทางศึกษาควรจะได้มีการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของธนาคาร หรือหน่วยงานที่จะรับนักวิชาการโสตทัศนศึกษาเข้าทำงาน และควรเน้นทางด้านการฝึกฝนทักษะทางการผลิต และใช้สื่อการสอนให้มาก 2. ธนาคารควรจะตั้งหน่วยทัศนศึกษา รับนักวิชาการโสตทัศนศึกษาเข้ามาทำหน้าที่เกี่ยวกับการสอนที่ใช้ในการฝึกอบรมโดยเฉพาะ เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนในโปรแกรมฝึกอบรม
Other Abstract: Purposes 1. To study the status of utilization the instructional media in training programs of the banks in Thailand. 2. To survey the needs of Audio - Visual Service and Provincial Educational Officer of the training programs of the banks in Thailand. 3. To study the problems concerning the utilization the instructional media in the training programs of the banks in Thailand. Procedures : Data were collected by questionnaires. The questionnaires were distributed to the chief of the Training Department or the chief of the Personnel Development Department of the headquarters of the banks in Thailand or the branches of Foreign Banks. The total population group were made of 40 subjects. The data were analyzed in term of the percentage and the arithematic mean. Finding : 1. Majority of the Banks select instructional media by considering the objectives of the content in training, the clarity of media, the suitable of media size to room size and the unity of the concept for training. Moreover, they provided instructional media and the room for training before utilizing the instructional media. They utilize the instructional media to explain, persuade and conclude the content and to practice skill. The instructional media that they used most were chalkboards, charts, diagrams, specimens, real things, demonstration methods, role play methods, overhead projector, slide projector and tape recorder. But poster, medel, diorama, display, exhibition, drama, television, filmstrip projector, opaque projector, record player and radio were used less. 2. Most of the banks would like to have audio-visual department in the headquarters of the banks and their important branch in Thailand. The instructional media which they want are projectors and sound equipment. The banks want male or female provincial educational officers who have bechalor degree and have experience in working for 1 - 3 years. The provincial educational officers whom they want should have skill in producing photographies and slides, using projectors and mending instructional media. 3. Most of the problems which they faced were the lack of instructional media, the expert to introduce how to select, produce and use instructional media. Moreover, the researcher found that they have no place for the instructional media service and they have no time and skill to produce instructional media. Suggestions : 1. The institution that produce the provincial educational officers or educational technology officers should improve the curriculum to be harmonious to the need of the banks or offices which want the provincial educational officers. The institution should emphasize practicing skill on producing and using the instructional media. 2. The banks should have the audio - visual department and receive the provincial educational officers to work concern with instructional media.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20929
ISBN: 9745618128
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongsit_Th_front.pdf346.93 kBAdobe PDFView/Open
Pongsit_Th_ch1.pdf275.41 kBAdobe PDFView/Open
Pongsit_Th_ch2.pdf423.32 kBAdobe PDFView/Open
Pongsit_Th_ch3.pdf243.14 kBAdobe PDFView/Open
Pongsit_Th_ch4.pdf432.05 kBAdobe PDFView/Open
Pongsit_Th_ch5.pdf383 kBAdobe PDFView/Open
Pongsit_Th_back.pdf422.96 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.