Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20961
Title: | แบบจำลองการสอนจุลภาคเรื่อง "การเร้าความสนใจของนักเรียน" |
Other Titles: | A microteaching model on "stimulation students' interest" |
Authors: | ประเสริฐ ชั้นประเสริฐ |
Advisors: | ชัยยงค์ พรหมวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การสอนจุลภาค |
Issue Date: | 2518 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความมุ่งหมาย 1. เพื่อสร้างแบบจำลองทักษะการสอนเรื่อง การเร้าความสนในของนักเรียน ในรูปของเทปบันทึกภาพขนาด 1 นิ้ว ให้เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกทักษะการสอนแบบจุลภาคของครูและนิสิตฝึกสอน ในสถาบันฝึกหัดครูต่างๆ 2. เพื่อหาความเชื่อถือได้และคุณภาพของแบบจำลองทักษะการสอนที่สร้างขึ้นนำไปใช้จริง การดำเนินการ 1. ศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับสอนแบบจุลภาคโดยเน้นทักษะการเร้าความสนใจของนักเรียน 2. กำหนดและสร้างตัวแบบจำลองการสอนในรูปของเทปบันทึกภาพ 1 นิ้ว แล้วถ่ายทอดเทปขนาด 1/2 นิ้ว ขาว-ดำ 3. แต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 8 ท่าน ประเมินความเชื่อถือได้ของแบบจำลองทักษะการสอน ในแง่ของประโยชน์และความเชื่อถือได้ 4. หาคุณภาพของแบบจำลองการสอนที่สร้างขึ้น โดยการนำทดสอบที่สร้างขึ้นเองโดยวิเคราะห์หาความยากง่ายและอำนาจจำแนกแล้ว เรื่องการเร้าความสนใจของนักเรียนไปทดสอบกับนิสิตฝึกสอนชั้นปีที่ 3 ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒปทุมวัน ที่เรียนวิชาพฤติกรรมการเรียนการสอนจำนวน 30 คน โดยให้ทำแบบสอบเพื่อประเมินผลครั้งแรก หลังจากนั้นจึงนำเทปบันทึกภาพแบบจำลองการสอนมาเปิดเล่นกลับให้นิสิตกลุ่มเดิมดู หลังจากนิสิตดูทักษะการสอนจบลง ก็ทำให้แบบทดสอบชุดเดิมเพื่อประเมินผลครั้งหลัง หาค่าความแตกต่างของความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้วยการทดสอบค่า ที (t-test) ผลการวิจัย 1. คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทำการประเมินค่าความเชื่อถือได้แบบจำลองการสอน ปรากฏว่า โดยเฉลี่ยทั้งเนื้อหา ทักษะการสอน และเทคนิคการถ่ายทำอยู่ในเกณฑ์ “ดี” 2. คะแนนการทดสอบโดยเฉลี่ยของนิสิตก่อนและหลังการทดลองใช้แบบจำลองการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กล่าวคือ นิสิตที่ชมเทปบันทึกภาพแบบจำลองการสอนแล้วมีความรู้เกี่ยวกับการเร้าความสนใจของนักเรียนเพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะ 1. ควรจัดตั้งคลินิกการสอนแบบจุลภาคในสถาบันฝึกหัดครูเพื่อช่วยเหลือครูประจำการและนิสิตฝึกสอนที่มีปัญหาในการสอน 2. หาแนวทางและวิธีการที่เหมาะสมเพื่อการใช้การสอนแบบจุลภาคปรับปรุงคุณภาพการสอนของครูและนิสิตฝึกสอนในการสอนระดับชั้นต่างๆ 3. ควรสร้างแบบจำลองในรูปของภาพยนตร์ 16 ม.ม. เสียงในฟิล์ม ทั้งภาพยนตร์สีและขาวดำ สำหรับใช้ฝึกทักษะการสอนของครูหรือนิสิตฝึกสอนในกรณีที่ไม่มีเครื่องเทปบันทึกภาพ 4. ควรได้มีการวิจัยเปรียบเทียบการฝึกทักษะการสอนจุลภาค กับการฝึกทักษะการสอนด้วยวิธีอื่นเพื่อสนับสนุนให้มีการค้นหาวิธีการฝึกทักษะการสอนอื่นๆ ที่ดีกว่า |
Other Abstract: | Purpose The purpose of this study was two fold: ; (1) to construct a Microteaching Model on "Stimulating Students' Interest" videotaped on a 1 inch reel. The potential uses of the model would be in the field of teachers training; and (2) to find the validity and quality of the model. Procedures Procedures employed to achieve the objectives of the study consisted primarily of gathering information from relevant litera¬ture and research studies. A model script was written prior to videotaping on 1 inch black and white videotape reel and later transfered to 1/2 inch reel. After the videotape construction and the revision of the Microteaching Model, the Validating Committee was appointed to determine the Validity of the model. Then, the Comprehensive tests of the model were constructed. By random sampling 30 third year students of Srinakarintaraviroj University (Patoomwan) were given the pre-tests before viewing the model. After viewing the model, the post-tests were even. The data was computed to find the significant difference at 0.01 level using t-test statistical technique. Results The validity of the microteaching model on "Stimulating Students' Interest" was certified as "Good" by the Validating Committee. The pre-test and post-test scores yielded the significant difference at the 0.01 level, indicating that the student teachers, who viewed the model, had increased their skill in the stimulating students' interest. Recommendations 1. Microteaching clinics should be established in teacher training institutions to solve the teaching and learning strategies. 2. Strategies and procedures in utilization of a skill model to increase the effectiveness of teacher training skill should to be encouraged. 3. The microteaching models should be later on produced in the form of 16 mm. film, black and white or color, for more widely uses by regular teachers who do not have the access of videotape components. 4. Comparative studies of teacher training via the microteaching should be conducted against other teacher training methods to encourage more varieties of better teacher training strategies in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | โสตทัศนศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20961 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prasert_Sh_front.pdf | 339.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasert_Sh_ch1.pdf | 972.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasert_Sh_ch2.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasert_Sh_ch3.pdf | 482.64 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasert_Sh_ch4.pdf | 350.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasert_Sh_ch5.pdf | 276.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prasert_Sh_back.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.