Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20993
Title: พุทธปรัชญาเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรม
Other Titles: The Buddhist doctrine of karma and its results
Authors: ปรีชา คุณาวุฒิ
Advisors: สุนทร ณ รังษี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: กรรม
พุทธปรัชญา
Issue Date: 2521
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทฤษฏีเรื่องกรรมมีเค้าเริ่มจากทฤษฏี “ฤตะ” ในพระเวท ต่อมาจึงได้นำมาใช้อธิบายในแง่ศีลธรรม และได้เป็นที่ยอมรับกันอยู่ในอุปนิษัท เมื่อพุทธศาสนาเกิดขึ้นก็รับรองเรื่องกรรม และได้นำมาอธิบายไว้อย่างละเอียดพิสดาร ซึ่งเราอาจอธิบายหลักของพระพุทธศาสนาในส่วนใจความสำคัญทั้งหมด ได้ด้วยคำว่า “กรรม” เพียงคำเดียวได้ทั้งในปริยายเบื้องสูงและเบื้องต่ำ ด้วยเหตุนี้ พระพุทธศาสนาจึงได้ชื่อว่า “กรรมวาท” ซึ่งตรงกันข้ามกับ “อกิริยวาท” อันเป็นลัทธิที่เกิดขึ้นฝ่ายตรงกันข้ามในสมัยพุทธกาล ซึ่งไม่เข้าใจในหลักของกรรม มติของกรรมของพระพุทธศาสนานั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กรรมตามอรรถาธิบายในพระสูตร และกรรมตามอรรถาธิบายในอรรถกถา แต่ก็มิได้หมายความทั้งสองประเภทนี้จะแตกต่างกัน แท้จริงเป็นการขยายความซึ่งกันและกันเท่านั้น มติในพระสูตรแบ่งกรรมออกเป็น 4 ประเภท คือ กรรมดำมีวิบากดำ กรรมขาวมีวิบากขาว กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว และกรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ซึ่งเป็นการแบ่งโดยอาศัยธรรมชาติของกรรมดีและกรรมชั่ว หรือทั้งไม่ดีไม่ชั่วเป็นเกณฑ์ แต่มติในอรรถกถาได้นำเอามติในพระสูตรที่กระจักกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ มาสรุปไว้เป็นหลักเกณฑ์เสียใหม่ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ของกรรมที่ให้ผลให้ชัดเจนยิ่งขึ้น มติในอรรถกถาจึงแบ่งออกเป็น 3 ประเภท รวม 12 ชนิด กรรมที่ให้ผลตามเวลา (4) กรรมให้ผลตามน้ำหนัก (4) และกรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ (4) เรื่องของกรรมมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการอธิบายจริยศาสตร์ คือ เราจะตัดสินการกระทำว่าดีหรือชั่วได้จากหลักของกรรม และการรู้เรื่องกรรมอย่างแจ่มแจ้งก็จะทำให้เลือกกรรมของตนใหม่ได้ ในแง่หนึ่งมนุษย์ถูกรรมกำหนด แต่ในอีกแง่หนึ่งมนุษย์ก็สามารถทอนกำลังของกรรมเก่าด้วยกรรมที่กระทำใหม่ได้ กล่าวให้กระชับก็คือ มนุษย์มีเสรีจะเลือกกรรมใหม่ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกรรมเก่าอันไม่พึงประสงค์ได้ ทฤษฏีกรรมตามมติของพระพุทธศาสนา ไม่ใช้เป็นทฤษฏีลอยๆ ซึ่งใช้อธิบายปรากฏการต่างๆ กรรมเป็นกฎสากลของชีวิตทั้งหมด ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งสามารถยืนยันว่าจะต้องได้รับผลอันเหมาะสมทัดเทียมกับกรรมที่ได้กระทำเอาไว้ หลักเรื่องกรรมของพระพุทธศาสนามิใช้สมมติฐานสำหรับอธิบายศีลธรรม เหมือนอย่างสมมติฐานในเหตุผลทางการปฏิบัติของคานท์ แต่เป็นหลักหรือเป็นกฎที่เป็นจริงซึ่งยืนยันผลว่าจะต้องได้รับมาจากอดีต และจะต้องได้รับอีกในอนาคต ตามประเภทของกรรมที่บุคคลได้กระทำลงไปอย่างแน่นอน ระบบของกรรมตามมติของพระพุทธศาสนา จึงสมบูรณ์กว่าระบบของกรรมเดินตามมติของพราหมณ์ ทั้งนี้เพราะให้กฎเกณฑ์ในการอธิบาย ได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างชัดเจนอยู่ในตัวเอง โดยไม่ต้องอาศัยเทพเจ้าเป็นผู้พิทักษ์กฎแห่งกรรมแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังให้ความอุบอุ่นใจและความมั่นใจ ได้ดีกว่าทฤษฏีจริยธรรมอื่นๆ ที่ยืนยันได้แต่เพียงปัจจุบันชาติ เพราะพระพุทธศาสนายืนยันผล ว่าจะต้องได้รับแน่นอนไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า และยิ่งไปกว่านั้นเรายังสามารถสร้างสรรค์ชีวิตของเราใหม่ได้ตามกฎแห่งกรรมอีกด้วย
Other Abstract: The source of karmic theory can be traced back to the ancient concept of "Rta" in the Veda. This concept later on gradually developed and was applied into the moral realm and then generally accepted in the Upanisads. As soon as Buddhism was firmly established, it appeared that the Buddha recognized this concept in some aspect and also elaborated it in detail. In a sense, we may say that the essential core of Buddhism can be summed up by this concept or in other words by the very word "karma" both in Metaphysical and ordinary level of senses. So Buddhism may be called "Karma-Vaãda," which is diametrically opposite to "Akiriya-Vãda," the doctrine existing at that time. The Buddhist concept of karma can be derived from two sources: the one as exposed in Suttanta Texts and the other as explained in the commentary. This does not mean that both are different in their essence, but they are complement to each other instead. According to Suttanta, the karmas are of four kinds: (1) black karma having black result, (2) white karma having white result, (3) black and white karma having black and white result, and (4) neither-black-nor-white karma having neither-black-nor¬-white result. In the commentary, the commentator tries to gather the various concepts scattered in the Suttanta and put into a systematic theory, the purpose of which is to make it more coherent and comprehensible. This is the reason why we find the twelve kinds of karmas in three groups, namely (1) karma characterized by time, (2) karma characterized by force, and (3) karma charac¬terized by function. We find that the theory of karma plays the vital part also in the Buddhist ethics. This is because the moral judgement of good and evil is based on the karmic theory in toto, or in other words, a man can make a new and careful choice because of his knowledge of right and wrong karma. Again, it can be said that in some aspect, a man at present is determined by his previous actions, but his past unwholesome karma can be weakened to some extent by his new meritorious karma. Suffice it to say here that any man has the freedom to make his suitable and new way of life opposite to the past undesirable one. The Buddhist karmic theory is not a mere fantastic theory for the purpose of explaining phenomena. According to Buddhism, karma is the universal law, not related only to the time whether the past, the present or the future. This law expounds always that the doer must obtain his result inexorably and properly. The Buddhist teaching, therefore, is not the hypothesis only for the sake of moral explanation as it is said in Kant's Practical Reason, but it is the actual principle or law which says nothing but the fact that every kind of the present results grow from the soil of the past karmas and from the present they must be reaped again in future surely and inevitably. As it is seen from the above mentioned, the Buddhist karmic theory is more complete than the same theory in Brahmanism. The reason for this, is that Buddhism lays down the autonomous princi¬ple for the explanation both in the present and in the future. This law can function independently without the interference of the Absolute God, and it consoles the heart of all men better than the moral theory which is limited only to the present. This is because the Buddhist karmic theory confirms that the results of karma must be reaped whether in this life or in the next life and above all it says that a man is the architecture of his own future.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20993
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prija_Ku_front.pdf377.43 kBAdobe PDFView/Open
Prija_Ku_ch1.pdf392.78 kBAdobe PDFView/Open
Prija_Ku_ch2.pdf748.45 kBAdobe PDFView/Open
Prija_Ku_ch3.pdf520.92 kBAdobe PDFView/Open
Prija_Ku_ch4.pdf464.5 kBAdobe PDFView/Open
Prija_Ku_ch5.pdf503.1 kBAdobe PDFView/Open
Prija_Ku_ch6.pdf913.58 kBAdobe PDFView/Open
Prija_Ku_ch7.pdf444.6 kBAdobe PDFView/Open
Prija_Ku_back.pdf281.58 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.