Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21007
Title: | แบบตัวอย่างของโปรแกรมเชิงเส้นเพื่อการคาดคะเนงบดุล |
Other Titles: | A linear programming model for estimating optimal balance sheet |
Authors: | วรรณวิมล พุฒิทานันท์ |
Advisors: | ปัญญา ตันติยวรงค์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | งบการเงิน |
Issue Date: | 2520 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวางแผนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินงานธุรกิจ เพราะว่าการวางแผนช่วยให้มีการกำหนดเป้าหมายและวิธีดำเนินงานให้บรรลุถุงเป้าหมาย การวางแผนที่ดีจะต้องอาศัยความร่วมมือประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของธุรกิจ และต้องให้สอดคล้องกับฐานะของธุรกิจทั้งทางด้านการเงิน บุคคลผู้ดำเนินงาน และข้อจำกัดอื่นของธุรกิจ การประสานงานในการวางแผนมักจะประสบปัญหายุ่งอยากมากมาย โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากจัดสัดส่วนในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ธุรกิจที่มีอยู่ และอาจเป็นไปได้ที่การประสานงานเช่นนี้ไม่ก่อให้เกิดผลดีสูงสุด เพราะไม่มีวิธีการที่ดีพอที่จะวิเคราะห์ผลได้จากสัดส่วนต่างๆ เปรียบเทียบกันได้ ปัญหาเช่นนี้อาจจะแก้ไขได้โดยใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า โปรแกรมคณิตศาสตร์ (Mathematical Programming) ช่วยในการแก้ปัญหาและแผนงานที่ได้จากการใช้เครื่องมือนี้จะเป็นแผนงานที่จะทำให้การดำเนินงานของธุรกิจบรรลุถึงกำไรสูงสุดหรือต้นทุนต่ำสุด ในวิทยานิพนธ์นี้จะแสดงถึงวีธีการสร้างรูปแบบโปรแกรมเชิงเส้นของธุรกิจ 2 ประเภท คือ ธุรกิจที่ผลิตสินค้า และธุรกิจที่ซื้อสินค้ามาขาย เพื่อการคาดคะเนงบดุลที่เหมาะสมที่สุด (Optimal Balance Sheet) สำหรับธุรกิจภายใต้ข้อจำกัดและข้อสมมติของธุรกิจแต่ละประเภทโดยจะศึกษาการสร้างรูปแบบโปรแกรมเชิงเส้นและดัดแปลงจากหนังสือที่เกี่ยวข้อง กำหนดค่าพารามิเตอร์ในรูปแบบที่สร้างขึ้น ขั้นตอนการจัดทำงบดุลโดยคะเนจากผลที่ได้จากการแก้ปัญหาโปรแกรมเชิงเส้น เปรียบเทียบงบดุลโดยคะเนกับงบดุลที่เกิดขึ้นจริงของแต่ละธุรกิจ พร้องทั้งตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับอัตราส่วนต่างๆ ที่ได้จากงบดุลโดยคะเน และปัญหาที่จะใช้เป็นตัวอย่างในการทดลองนี้จะมีข้อสมมติฐานว่าเป็นปัญหาภายใต้สภาวะความแน่นอน และค่าความสัมพันธ์ต่างๆ เป็นเส้นตรง (Linear) นอกจากนี้จากการแก้ปัญหายังสามารถคาดคะเนงบการเงินอื่นที่มีประโยชน์ เช่นงบกำไรขาดทุน (Income Statement) งบประมาณเงินสด (Cash Budget) เพื่อช่วยในการวางแผนและการควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าวิธีการทางคณิตศาสตร์สามารถนำมาดัดแปลงเพื่อช่วยในการแก้ปัญหาในการวางแผนของธุรกิจได้อย่างไร |
Other Abstract: | Planning is of essence for business operation, since it will determine objectives and set up procedures needed for achieving those objectives. An efficient planning derives from cooperation and coordination from various organizational departments. At the same time, it should be compatible with its existing financial and human resources, and some other business environmental factors as well. Coordination in planning activities always confronts with many problems, especially the problems concern the company resources appropriation. It is believed that coordination may not be fully successful due to the fact that many companies fail to use appropriate techniques available to analyse and measure the outcomes of all possible Alternatives. Mathematical Programming can solve this problem. By using the mathematical tool, the company can maximize profit and/or minimize cost from its operations. This thesis will show how to formulate a linear programming model for both Manufacturing and Trading Companies, which will be used for estimating the optimal balance sheet under constraints and assumptions for each type of business. The process of this thesis are as follow: Study and modify the method of constructing a linear programming from reference books. Define the parameters of the formulated model. Show the steps how to prepare the estimated balance sheet from the results of the linear programming. Compare the estimated balance sheet and the real balance sheet for each type of business. Notify the calculated ratio from the estimated balance sheet. The linear programming model used in this thesis, the problem is assumed to be under the condition of certainty and that the relationships are linear. In addition, other useful financial statements will be shown such as income statement and cash budget for planning and control future operation of the business. It is believed that the thesis has shown how mathematics can be applied for solving the practical business planning problems. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การธนาคารและการเงิน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21007 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vunvimol_Pu_front.pdf | 354.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vunvimol_Pu_ch1.pdf | 293.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vunvimol_Pu_ch2.pdf | 333.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vunvimol_Pu_ch3.pdf | 634.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vunvimol_Pu_ch4.pdf | 388.7 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vunvimol_Pu_ch5.pdf | 915.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vunvimol_Pu_ch6.pdf | 283.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vunvimol_Pu_back.pdf | 284.05 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.