Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21015
Title: การวิเคราะห์เนื้อหาวารสารธรรมศาสตร์
Other Titles: A content analysis of Thammasat University Journal
Authors: วรรณา โตพิบูลย์พงศ์
Advisors: ศจี จันทวิมล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์เนื้อหาวาระสารธรรมศาสตร์” มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปริมาณบทความในแต่ละแขนงวิชา และศึกษาขอบเขตเนื้อหาว่าสอดคล้องกับแขนงวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือไม่ สำรวจผู้เขียนบทความ และวิเคราะห์เนื้อหาว่าตรงตามวัตถุประสงค์ในการจัดพิมพ์หรือไม่ นอกจากนี้ยังศึกษาแนวโน้มของเนื้อหาบทความในแต่ละช่วงความรับผิดชอบของบรรณาธิการในแต่ละสมัย ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งสัมภาษณ์บรรณาธิการ และผู้ที่มีส่วนในการจัดทำวารสารธรรมศาสตร์ ใช้คู่มือการศึกษาชั้นปริญญาตรี 2525 – 2526 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นแนวทางในการสร้างตารางการวิเคราะห์เนื้อหาสำรวจและวิเคราะห์เนื้อหาบทความที่เป็นกลุ่มประชากรทั้งหมด 275 บทความ จากวารสารธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี 1 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2514 ถึงปีที่ 11 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2525 บันทึกรอยคะแนนลงในตารางวิเคราะห์เนื้อหารวมคะแนนทั้งหมด และนำมาหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้คือ 1. จำนวนเนื้อหาในวิชาต่างๆ พบว่ามีเนื้อหาในสาขาวิชาศิลปศาสตร์มากที่สุดคือ 133 บทความ จากบทความทั้งสิ้น 275 บทความ คิดเป็นร้อยละ 48.36 รองลงมาอันดับที่ 2 ได้แก่ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มี 54 บทความ คิดเป็นร้อยละ 19.64 อันดับ ที่ 3 ได้แก่ สขาวิชารัฐศาสตร์มี 39 บทความ คิดเป็นร้อยละ 14.18 สาขาวิชาที่มีจำนวนบทความน้อยที่สุดคือ สาขาวิชานิติศาสตร์มีจำนวน 2 บทความ คิดเป็นร้อยละ 0.73 2. จำนวนเนื้อหาในช่วงปีต่างๆ 5 ช่วง ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 – 2525 ซึ่งคณะบรรณาธิการแต่ละชุดรับผิดชอบในการจัดทำวารสาร พบว่า เนื้อหาสาขาวิชาศิลปศาสตร์มีมากเป็นอันดับที่ 1 ทั้ง 5 ช่วง สำหรับสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์มีมากเท่ากับสาขาวิชาศิลปศาสตร์คือมากเป็นอันดับที่ 1 อยู่ 1 ช่วง คือช่วงปี พ.ศ. 2520 – 2521 ส่วนช่วงปี พ.ศ. 2514 – 2516 ช่วงปี พ.ศ. 2517 – 2519 ช่วงปี พ.ศ. 2522 – 2523 และช่วงปี พ.ศ. 2524-2525 จะมีมากเป็นอันดับที่ 2 สาขาวิชารัฐศาสตร์จะมีมากเป็นอันดับที่ 2 อยู่ 1ช่วง คือ ช่วงปี พ.ศ. 2520-2521 ส่วนช่วงปี พ.ศ. 2514-2516 ช่วงปี พ.ศ. 2517-2519 และช่วงปี พ.ศ. 2522-2523 จะมีมากเป็นอันดับที่ 3 และช่วงปี พ.ศ. 2524-2525 จะมีมากเป็นอันดับที่ 4 และในช่วงปี พ.ศ. 2524-2525 นี้ สาขาวิชาที่มีมากเป็นอันดับที่ 3 ได้แก่ สาขาวิชาพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และสาขาอื่นๆ 3. แหล่งที่มาของบทความ พบว่าจำนวนบทความส่วนใหญ่มาจากผู้เขียนที่สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือจำนวน 165 บทความ จากบทความทั้งหมด 275 บทความ คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมาอันดับที่ 2 คือ ธนาคาร หน่วยงานธุรกิจ เอกชน และอื่นๆ มี 30 บทความ คิดเป็นร้อยละ 10.91 และรองลงมาเป็นอันดับที่ 3 คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี 27 บทความ คิดเป็นร้อยละ 9.82 4. จำนวนผู้เขียนบทความที่จำแนกตามสังกัดของผู้เขียนบทความ พบว่าผู้เขียนบทความสังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มากที่สุดคือ 117 คน จากผู้เขียนทั้งหมด 210 คน คิดเป็นร้อยละ 55.71 รองลงมาได้แก่ผู้เขียนที่สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีจำนวนเท่ากันกับผู้เขียนที่สังกัดธนาคาร หน่วยงานธุรกิจ เอกชน และอื่นๆ คือ 26 คน คิดเป็นร้อยละ 12.38 รองลงมาอันดับที่ 3 ได้แก่ ผู้เขียนที่สังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้เขียนที่มาจากส่วนราชการอื่น ที่ไม่ใช้มหาวิทยาลัยซึ่งมีจำนวนเท่ากัน คือ 8 คน คิดเป็นร้อยละ 3.81 ข้อเสนอแนะ 1. คณะบรรณาธิการวารสารธรรมศาสตร์ ควรจะหาวิธีชักจูงให้คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ เขียนบทความในสาขาวิชาที่มีจำนวนบทความน้อย หรือไม่มีเลย มาลงพิมพ์ในวารสารธรรมศาสตร์ 2. บรรณาธิการควรแก้ปัญหาการขาดแคลนต้นฉบับด้วยการเชื้อเชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ เขียนบทความส่งมาให้โดยกำหนดแนวเรื่องและให้เวลาผู้เขียนนานพอสมควร 3. คณะบรรณาธิการ ควรแก้ปัญหาเรื่องวารสารออกช้ากว่ากำหนดโดยการเตรียมงานไว้ล่วงหน้าหลายๆ เดือน และควรทาบทามคณะผู้จัดทำวารสารในชุดต่อไปไว้แต่เนิ่นๆ เพื่อให้เข้ามารับช่วงงานต่อได้ในทันที ทั้งนี้เพื่อวารสารฉบับที่จะออกต่อไปออกได้ทันกำหนดเวลา 4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ควรเพิ่มทุนอุดหนุนการวิจัย และนำผลงานวิจัยมาเขียนเป็นบทความลงในวารสารธรรมศาสตร์ 5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ควรปรับปรุงโครงสร้างการดำเนินงานของวารสารธรรมศาสตร์ใหม่ ทั้งนี้เพื่อให้จัดทำวารสารธรรมศาสตร์มีความคล่องตัว ออกตรงเวลา และ มีคุณภาพอยู่ในระดับที่พึงปรารถนาได้ 6. การพิจารณาคัดเลือกบรรณาธิการ ควรจะได้หมุนเวียนไปตามคณะต่างๆ ให้วารสารธรรมศาสตร์มีเนื้อหาในแขนงต่างๆ สมดุลย์กันมากขึ้น 7. ในการพิจารณาเรื่องตำแหน่งทางวิชาการ คณะควรให้น้ำหนักในการพิจารณาผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารธรรมศาสตร์มากกว่าวารสารทางวิชาการฉบับอื่นๆ 8. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ควรสนับสนุนทางด้านการเงินโดยกำหนดสัดส่วนของเงินสนับสนุนต่อต้นทุนการจัดทำเฉลี่ยต่อเล่มที่แน่นอน
Other Abstract: The purpose of the research on "A Content Analysis of Thammasat University Journal" is as follows ; (1) to examine the numbers and scope of the article contents if they are in accordance with the subject fields of study of Thammasat University or not ; (2) to examine the writers and analyze the contents if they accord with the objectives of publishing the journal or not ; (3) to study the trend of the article contents under the responsibility of the editor of each period. In conducting the research, the researcher reviewed all relevant literature as well as interviewed the editors and the persons involved in publishing the studied journal. With the advent of Thammasat University Undergraduate Bulletin 1982 - 1983, the content analysis tables were constructed. The population of 275 articles from Thammasat University Journal volume 1 number 1, 1971 to volume 11 number 4, 1982 were closely examined, analyzed and tallied in the tables. The numbers of articles or writers in each table were added up, and their percentage was computed. The research results can be concluded as follows : 1. The subjects with the first most contents were the Liberal Arts Subjects which numbered 133 articles out of the total of 275, or 48.36 percent. The subjects with second and third most contents were Economics and Political Science respectively. Economics had 54 articles, or 19.64 percent, and Political Science had 39 articles, or 14.18 percent. The subject with least content was Laws which had 2 articles, or 0.73 percent. 2. The subject contents in five periods from 1971 to 1982 under each editor's responsibility were as follows : Liberal Arts Subjects had the first most contents in all five devided periods. Economics had the first most contents as Liberal Arts Subjects from 1977 to 1978 and the second most contents from 1971 to 1973, 1974 to 1976, 1979 to 1980, and 1981 to 1982. Political Science had the second most contents in one periods from 1977 to 1978, the third most contents from 1971 to 1973, 1974 to 1976, 1979 to 1980, and the fourth most contents from 1981 to 1982. The third most contents from 1981 to 1982 were Commerce and Accountancy and other subjects. 3. The first most articles written by Thammasat University staff numbered 165 out of the total of 275, or 60 percent. The second most articles written by banks' staff , private agencies' staff, individuals, and others numbered 30, or 10.91 percent. The third most articles written by Chulalongkorn University staff numbered 27 articles, or 9.82 percent. 4. The first most writers were Thammasat University staff. They numbered 117 out of the total of 210, or 55.71 percent. The second most writers were Chulalongkorn University staff which had the same numbers as the writers who were banks' staff, private agencies' staff, individuals and others. They numbered 26 writers, or 12.38 percent. The third most writers were Chiangmai University staff and other government offices' staff which were not universities' ones. Each of the Chiangmai University staff and other government offices' staff had 8 writers, or 3.81 percent. Recommendations 1. The editors of the Thammasat University Journal should encourage Thammasat University lecturers and experts from various fields of study to write their articles for Thammasat University Journal - especially the articles in the subject fields scarcely published or not published in the journal. 2. The editor should solve the problem of article shortage for the journal by encouraging and inviting their colleagues, acquaintances and experts from various fields of study to write articles for the journal. The editor should also inform them of the theme and time for writing their articles. 3. The editors should solve the problem of delay by planning the work in advance and sound out for a new set of editors in early to take over and carry out the work. by this method, the journal of future issues can turn out on time. 4. Thammasat University should increase financial support to the lecturers, staff and students to do research and encourage them to give the information of the research in the journal. With these articles, the journal will be more interesting. 5. The University should improve the working structure of this journal in order to produce the qualified and punctual journal. 6. The position of the editor for this journal should rotate to all faculties. If we have the editor from different faculties. it will be of great advantage in publishing the journal for all fields of study. 7. Every faculty and its programs should consider the instructors' articles published in the Thammasat University Journal - more than those published in other journals - as a factor for the instructors' career promotion. 8. The University should provide the financial support in the fixed proportion of the total cost per issue.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21015
ISBN: 9745630926
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanna_Top_front.pdf354.36 kBAdobe PDFView/Open
Wanna_Top_ch1.pdf405.1 kBAdobe PDFView/Open
Wanna_Top_ch2.pdf514.52 kBAdobe PDFView/Open
Wanna_Top_ch3.pdf454.74 kBAdobe PDFView/Open
Wanna_Top_ch4.pdf792.29 kBAdobe PDFView/Open
Wanna_Top_ch5.pdf595.25 kBAdobe PDFView/Open
Wanna_Top_back.pdf739.47 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.