Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21083
Title: การศึกษาเปรียบเทียบความมุ่งหวังของบิดาเกี่ยวกับการศึกษา ของบุตรในเขตเมืองและชนบทของประเทศไทย
Other Titles: A comparative study of fathers' aspiration for their sons' educational attainment in urban and rural of Thailand
Authors: ผกาทิพย์ กระหม่อมทอง
Advisors: สุนันทา สุวรรโณดม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไมีมีข้อมูล
Subjects: ค่านิยมทางการศึกษา
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จุดมุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้มิได้มุ่งที่จะพิสูจน์สมมุติฐานใดๆ แต่มุ่งที่จะศึกษาเปรียบเทียบความมุ่งหวังเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาของบุตรของบิดาที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเขตชนบท โดยพิจารณาจากปัจจัยทางด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ข้อมูลที่ได้จากโครงการวิจัยต่อเนื่องระยะยาวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและประชากรของประเทศไทย ในส่วนที่เป็นการวิจัยทั้งเขตเมืองและเขตชนบท ระหว่างเดือน เมษายน – พฤษภาคม พ.ศ. 2521 และ พ.ศ. 2513 ซึ่งดำเนินการวิจัยโดยสถาบันประชากรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนชายและภรรยารวมทั้งสตรีที่สมรสแล้วในครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่าง อายุไม่เกิน 60 ปี แต่ในการศึกษาเรื่องความมุ่งหวังของบิดาเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรนั้น สัมภาษณ์เฉพาะหัวหน้าครัวเรือนชายที่มีบุตรชายอายุ 6-12 ปี ถ้ามีบุตรชายในวัยนี้หลายคน จะถามถึงการมุ่งหวังที่มีต่อบุตรชายคนสุดท้อง ผลการศึกษาปรากฏว่า โดยทั่วไปแล้วบิดาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเมืองจะมีความมุ่งหวังให้บทเรียนในระดับสูงกว่าบิดาที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตชนบท และมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปมากที่สุด รองลงมาคือ เรียนเท่าที่จะสามารถจะเรียนได้ สำหรับบิดาในเขตชนบทส่วนใหญ่จะมุ่งหวังให้บทเรียนในระดับประถมศึกษามากที่สุด และรองลงมาจะมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป และเท่าที่สามารถตามลำดับ เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทางด้านประชากร พบว่า บิดาที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองทุกกลุ่มอายุ จะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปสูงกว่าบิดาที่อาศัยอยู่ในเขตชนบททุกกลุ่มอายุ และบิดาในกลุ่ม 15-29 ปี ในเขตเมืองจะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับสูงกว่าบิดากลุ่มอายุ 30-49 ปี และ 50 ปีขึ้นไป ขณะเดียวกันบิดากลุ่มอายุ 15-29 ปีในเขตชนบทมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับประถมศึกษามากที่สุดเมื่อนำเอาจำนวนบุตรที่มีอยู่ของบิดามาพิจารณาประกอบได้พบว่า บิดาในเขตเมืองไม่ว่าจะมีบุตรจำนวนเท่าใดก็ตามจะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปสูงกว่าบิดาที่มีจำนวนบุตรเท่าๆ กันแต่อาศัยอยู่ในเขตชนบท นอกจากนี้ยังพบว่า บิดาในเขตเมืองที่มีบุตรน้อย (1-3 คน) จะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปสูงกว่าบิดาที่มีบุตรมาก (ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป) ในขณะที่ในเขตชนบทนั้นบิดาที่มีจำนวนบุตรมาก (ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป) จะมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับประถมศึกษาสูงกว่าบิดามีบุตรน้อย (1-3 คน) สำหรับบิดาที่ต้องการบุตรเพิ่ม จะมีส่วนสัมพันธ์กับความมุ่งหวังในการศึกษาของบุตรด้วยหรือไม่นั้นได้พบว่า บิดาที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ต้องการบุตรเพิ่มและไม่ต้องการบุตรเพิ่ม จะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปสูงกว่าบิดาที่ต้องการบุตรเพิ่มและไม่ต้องการบุตรเพิ่มในเขตเมืองไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่บิดาต้องการบุตรเพิ่มและไม่ต้องการบุตรเพิ่มในเขตชนบทมีความมุ่งหวังในการศึกษาของบุตรแตกต่างกันเล็กน้อย ในเรื่องการย้ายถิ่นพบว่า บิดาในเขตเมืองทั้งที่เคยย้ายถิ่นและไม่เคยย้ายถิ่นจะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปสูงกว่าบิดาที่อาศัยในเขตชนบททั้งที่เคยย้ายถิ่นและไม่เคยย้ายถิ่นและพบว่าบิดาที่มีประสบการณ์ในการย้ายถิ่นในเขตเมืองและเขตชนบท จะมีความมุ่งหวังในการศึกษาของบุตรไม่แตกต่างกัน ในขณะที่บิดาในเขตชนบทที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการย้ายถิ่นเลยจะมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับประถมศึกษามากที่สุด และมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปรองลงมา ส่วนบิดาที่มีประสบการณ์ในการย้ายถิ่นตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป จะมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับประถมศึกษาน้อยลง และมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปในอัตราที่สูงขึ้น เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจพบว่า บิดาที่ประกอบอาชีพข้าราชการค้าขาย ช่างและบริการที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองจะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปเช่นเดียวกับบิดาที่อยู่ในเขตชนบทในกลุ่มอาชีพเดียวกัน และบิดาที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมในเขตเมืองจะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปมากที่สุด ส่วนบิดาที่ประกอบอาชีพเดียวกันในเขตชนบทจะมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับประถมศึกษามากที่สุด และพบว่าบิดาในเขตเมืองและเขตชนบทที่ประกอบอาชีพที่ใช้ความรู้ความชำนาญสูงกว่า เช่น ข้าราชการ จะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับที่สูงกว่าบิดาที่ประกอบอาชีพที่ใช้ความรู้ความชำนาญต่ำกว่า เช่น อาชีพเกษตรกรรมในเรื่องฐานะทางเศรษฐกิจนั้นพบว่า บิดาที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองทุกระดับฐานะทางเศรษฐกิจ จะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปมากที่สุด รองลงมามุ่งหวังให้บุตรเรียนเท่าที่สามารถ และบิดาฐานะร่ำรวยจะมีความมุ่งหวังระดับนี้สูงกว่าบิดาฐานะปานกลางและยากจน ส่วนบิดาในเขตชนบทจะมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับประถมศึกษามากที่สุด โดยเฉพาะบิดาที่มีฐานะยากจนจะมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับนี้สูงกว่าบิดาฐานะปานกลางและร่ำรวย เมื่อพิจารณาจากปัจจัยทางด้านสังคมและจิตวิทยา ได้แก่การศึกษา พบว่าบิดาที่มีการศึกษาตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 7 ขึ้นไปอาศัยอยู่ในเขตเมือง จะมีความมุ่งหวังให้บุตรได้เรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปเช่นเดียวกับบิดาที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทที่มีการศึกษาระดับเดียวกัน และบิดาที่มีการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษาปีที่ 7 ขึ้นไปอาศัยอยู่ในเขตเมืองจะมีความมุ่งหวังให้บุตรได้เรียนในระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป ส่วนบิดาที่มีการศึกษาระดับต่ำกว่าประถมศึกษาปีที่ 7 ในเขตชนบทจะมีความมุ่งหวังให้บุตรเรียนในระดับประถมศึกษา และทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท บิดาที่มีการศึกษาสูงจะมีความมุ่งหวังในการศึกษาสูงกว่าบิดาที่มีการศึกษาต่ำกว่าหรือไม่มีการศึกษาเลย ในเรื่องการได้รับและการติดต่อทางสื่อสารมวลชน พบว่า บิดาในเขตเมืองที่เคยมีโอกาสได้รับหรือติดต่อกับสื่อสารมวลชน และไม่เคยติดต่อเลยจะมีความมุ่งหวังให้บุตรได้เรียนในระดับที่สูงกว่าบิดาที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทและพบว่าบิดาที่เคยมีโอกาสได้รับหรือติดต่อกับสื่อสารมวลชนจะมีความมุ่งหวังสูงกว่าบิดาที่ไม่เคยมีโอกาสได้รับการติดต่อกับสื่อสารมวลชนเลย
Other Abstract: The purpose of this study is to examine the differences between urban and rural areas of Thailand with respect to fathers' aspirations for their sons' educational attainment. The data used in this study were taken from the National Longitudinal Survey of Social, Economic and Demographic Change in Thailand that was conducted by the Institute of Population Studies, Chulalongkorn University in April - May 1969 and 1970, Data collection was done by administering questionnaires to male heads of household, who had sons between 6-12 years old. Data was collected from these men on the youngest son in this age bracket. It was found in this study that fathers in urban areas have higher aspirations for their sons' educational attainment than fathers in rural areas. The majority of urban fathers wanted their sons to continue studying beyond grade 7. Others wanted their sons to continue studying as long as they could. The majority of rural father, on the other hand, wanted their sons to stop after completing grade 7. Some, however, did want their sons to continue studying beyond grade 7. Considering Demographic factor : in all age groups, a higher percentage of father who lived in urban areas wanted their sons to go beyond grade 7 than did fathers who lived in rural areas. The fathers in the age group 15-29 in urban areas aspired to have their sons finish higher than urban fathers in age group 30-34 and 50 - plus. Fathers in the age group 15-29 in rural aspired to have their sons finish only grade 7. About the number of living children was, it found that in urban areas a higher percentage of fathers with large or small numbers of children respectively, wanted their sons to finish beyond grade 7 higher than did fathers with large or small numbers of children respectively, in rural areas. A higher percentage of urban fathers with few children wanted their sons to finish beyond grade 7 than did urban fathers with many children. More rural fathers with many children wanted their sons to only complete grade 7, compared to father with few children. Considering how the desire for additional children is related to the fathers' aspiration for their sons' educational attainment : there was no difference in educational aspiration for sons for urban fathers who wants more children compared to those who didn't want more. But in rural areas, there was some difference in aspiration for these two classes of fathers. Considering migration : urban fathers' aspiration for their sons' educational attainment did not differ depending on whether they had ever migrated or not. In rural areas, however, three times as many fathers who had migrated wanted their sons to go beyond grade 7 than did fathers who had not migrated. Considering economic factors : it was found that the same percentage of rural fathers who were government officials, sales workers, craftsman, and in service occupations prefered their sons to finish higher than grade 7 as urban father in the same occupations. Fathers in agriculture in urban areas wanted their eons to finish higher than grade 7, but fathers in agri¬culture in rural wanted their sons to finish only grade 7 or less. In both urban and rural places, skilled workers wanted their sons to finish higher than unskilled workers. Considering socio-economic status : a larger percentage of urban fathers with high socio-economic status wanted their sons to finish higher education than did fathers of average or lower socio-economic status. Fathers in rural areas of lower socio-economic status wanted their sons continue beyond grade 7 less than who had average or higher socio economic status. As far as educational attainment of fathers is concerned, it is found that in urban places the proportion of fathers who attained higher than grade 7 themselves and who wanted their sons to finish higher than grade 7 was the same as their coun¬terparts in rural areas. But urban fathers with less than 7 years of schooling typically had aspirations for their sons' education beyond grade 7, while rural fathers with less than 7 years of schooling did not. In both urban and rural places, it was found that the fathers who had a higher level of education had a higher level of aspiration. Considering exposure to mass media : it was found that urban fathers exposed and not exposed to mass media wanted their sons study to a higher level of education than did rural fathers. Fathers exposed to mass media (newspaper, book radio and tele¬vision) wanted their sons to attain a higher level of education than did fathers who were not exposed.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21083
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pakatip_Kr_front.pdf518.53 kBAdobe PDFView/Open
Pakatip_Kr_ch1.pdf692.87 kBAdobe PDFView/Open
Pakatip_Kr_ch2.pdf550.45 kBAdobe PDFView/Open
Pakatip_Kr_ch3.pdf625.52 kBAdobe PDFView/Open
Pakatip_Kr_ch4.pdf556.97 kBAdobe PDFView/Open
Pakatip_Kr_ch5.pdf636.02 kBAdobe PDFView/Open
Pakatip_Kr_ch6.pdf795.13 kBAdobe PDFView/Open
Pakatip_Kr_ch7.pdf416.19 kBAdobe PDFView/Open
Pakatip_Kr_back.pdf326.96 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.