Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21098
Title: การวิเคราะห์ที่อยู่อาศัยในเชิงเศรษฐกิจสังคมโดยการใช้สื่อ
Other Titles: Socio-economic context of housing through media analysis
Authors: ปัทมวรรณ เนตรพุกกณะ
Advisors: กนกศักดิ์ แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kanoksak.K@Chula.ac.th
Subjects: เศรษฐกิจและสังคม
การสื่อทางภาษา
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการบริโภคเชิงสัญญะที่เป็นปรากฏการณ์ของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่จากสื่อในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยโดยทำการเก็บรวบรวมตัวอย่างงานโฆษณาที่อยู่อาศัยจากหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับคือประชาชาติธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ ไทยรัฐ ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 จากนั้นนำมาสร้างเกณฑ์การวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพโดยใช้ทฤษฏีตรรกวิทยาการบริโภคของโบดริยารด์เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่างานโฆษณาที่อยู่อาศัยในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการกล่าวถึงค่าเพิ่มของที่อยู่อาศัยที่เป็นคุณค่าการแลกเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์และคุณค่าเชิงสัญญะมากกว่าคุณค่าการแลกเปลี่ยนโดยการสร้างความหมายแฝงที่เป็นความหมายทางสังคมให้กับบ้าน เพื่อสร้างให้บ้านกลายเป็นเครื่องหมายในการสื่อสารกับบุคคลอื่นในสังคมโดยการแสดงถึงสัญลักษณ์เกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจสังคมและแสดงสัญญะของความแตกต่างในเรื่องรสนิยมและแบบแผนการดำเนินชีวิตของผู้เป็นเจ้าของ ทำให้ผู้บริโภคทำการบริโภคเชิงสัญญะเป็นสำคัญซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสังคมการบริโภคในปัจจุบันส่ง ผลให้ความหมายของบ้านในสังคมปัจจุบันกลายเป็นสินค้าที่แสดงสัญญะแทนที่จะเป็นบ้านในความหมายของการเป็นที่พักอาศัย
Other Abstract: The objective of this study is to analyze the socio-economic context of housing which is related to consumption sign through media. Baudrillard's consumption of the sign concept is used as theoretical framework for qualitative analysis of housing advertisement samples collected from 3 newapaper (Thai Rath ,Prachachart Turakij and Than Settakij) during october - november 1995. The research reveals that housing advertisements in consumer society creating more symbolic exchange value and sign value than exchange value. Also connotative meaning has become social meaning in order that house as a maker or means for communications with each other. In this sense various dimensions of house demonstrate symbolic sign in particular social status taste and lifestyle And the meaning of house become more "commodity sign" than dwellings.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21098
ISBN: 9476368621
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattarmawan_Ne_front.pdf398.44 kBAdobe PDFView/Open
Pattarmawan_Ne_ch1.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Pattarmawan_Ne_ch2.pdf931.18 kBAdobe PDFView/Open
Pattarmawan_Ne_ch3.pdf605.39 kBAdobe PDFView/Open
Pattarmawan_Ne_ch4.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open
Pattarmawan_Ne_ch5.pdf358.33 kBAdobe PDFView/Open
Pattarmawan_Ne_back.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.