Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21109
Title: การสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมเรื่อง "เฮโมดัยอาลัยซิส" สำหรับนักศึกษาพยาบาลระดับอนุปริญญา
Other Titles: Construction of programmed lesson on "Hemodialysis" for diploma nursing students
Authors: ปราณี วิเศษไชยศรี
Advisors: นพรัตน์ ผลาพิบูลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: แบบเรียนสำเร็จรูป
พยาบาลและการพยาบาล -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมเรื่อง “เฮโมดัยอาลัยซิส” สำหรับนักศึกษาพยาบาลอณุปริญญา และเพื่อทดสอบหาประสิทธิภาพของบทเรียนที่สร้างขึ้น ตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 โดยมีสมมติฐานดังนี้ (1) บทเรียนแบบโปรแกรมเรื่อง “เฮโมดัยอาลัยซิส” สำหรับนักศึกษาพยาบาลระดับอณุปริญญา จะใช้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อถือได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 ( The 90/90 standard) (2) บทเรียนแบบโปรแกรมที่สร้างขึ้นจะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ในเนื้อหาวิชาเพิ่มขึ้นหลังจากได้เรียนบทเรียนแล้ว ผู้วิจัยได้สร้างบทเรียนแบบโปรแกรมขึ้นจำนวน 186 กรอบ 192 คำตอบ และได้สร้างข้อสอบวัดสัมฤทธิผล จำนวน 39 ข้อ ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือดังกล่าวทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 105 คน โดยแบ่งลำดับขั้นของการวิจัยออกเป็น 3 ขั้น ขั้นแรกคือ ขั้นการทดลองหนึ่งต่อหนึ่ง ขั้นที่สองคือขั้นการทดลองกลุ่มเล็ก และขั้นสุดท้ายคือ ขั้นการทดลองภาคสนาม จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า คะแนนเฉลี่ยที่นักศึกษาทำแบบฝึกหัดในโปรแกรมคิดเป็นร้อยละ 98.27 และคะแนนเฉลี่ยที่นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังการเรียนบทเรียนคิดเป็นร้อยละ 91.97 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 90/90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จึงสนองสมมติฐานข้อที่ 1 นอกจากนั้นยังพบว่าคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบหลังเรียนบทเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบก่อนเรียนบทเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นการยืนยันว่า บทเรียนแบบโปรแกรมที่สร้างขึ้นนี้ก่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้จริง จึงสนองสมมติฐานข้อที่ 2
Other Abstract: The purpose of this research was to construct a programmed lesson on "Hemodialysis" for diploma nursing students and to inves¬tigate the effectiveness of the programmed lesson based on the 90/90 standard by the hypothesis : (1) a programmed lesson on "Hemodialysis" for diploma nursing student will be used effectively on the 90/90 standard, and (2) the programmed lesson helps in the improving of the student's knowledge. The researcher constructed a programmed lesson consisting of 186 frames, including 192 answers and 39 achievement test items. A. selected sample of 105 subjects was randomized by a simple random sampling. The process. Was divided into three steps. The first step is an one to one testing, the second step is a small group testing and the last step is a field testing. Based on the analysis of data, it was found that the student average score was 98.27 percent and 91.97 percent on answering the questions in the programmed lesson and the post-test respectively which is a statistically significant different at the .01 level. Certainly the effectiveness of this pro rammed lesson met the 90/90 standard at the 98.27/91.97 level. Therefore, the first hypothesis was retained. Furthermore, it was found that the arithematic mean of the post-test was statistically higher than of arithematic mean of the pre-test at the .01 level. Definitely the programmed lesson had imDro7ed the knowledge of the students. Therefore, the second hypothesis was retained.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21109
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pranee_Vi_front.pdf357.38 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Vi_ch1.pdf596.77 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Vi_ch2.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_Vi_ch3.pdf599.77 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Vi_ch4.pdf722.7 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Vi_ch5.pdf386.87 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Vi_back.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.