Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21153
Title: การเปรียบเทียบผลการสำรวจเชิงจีโอฟิสิกส์ด้วยการวิเคราะห์คลื่นผิวแบบหลายช่องสัญญาณแบบแอคทีฟและแพสซีฟ
Other Titles: A comparison of geophysical surveys by active and passive multichannel analysis of surface wave
Authors: เดชฤทธิ์ รัตนพร
Advisors: ฐิรวัตร บุญญะฐี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: tirawat.b@chula.ac.th
Subjects: คลื่นพื้นผิว
ชั้นดิน -- การสำรวจ
การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิเคราะห์คลื่นผิวแบบหลายช่องสัญญาณเป็นเทคนิคที่ใช้ในการสำรวจหาค่าความเร็วคลื่นเฉือนของชั้นดิน โดยเริ่มจากการตรวจวัดข้อมูลการสั่นสะเทือนที่ผิวดิน แล้วนำมาสร้างโค้งการกระจายเพื่อที่จะนำไปคำนวณหาค่าความเร็วคลื่นเฉือนที่แปรผันกับความลึกในระดับต่างๆ Seng (2551) ได้ศึกษาการวิเคราะห์คลื่นผิวแบบหลายช่องสัญญาณด้วยวิธีแอคทีฟกับดินในประเทศไทย 7 แห่งโดยใช้วิธี F-K Transform ในการสร้างโค้งการกระจาย ในการศึกษานี้ ผู้ศึกษาได้ทดลองใช้วิธี Phase Shift (Park et al., 1998) และจากการเปรียบเทียบโค้งการกระจายที่ได้จากวิธีทั้งสองพบว่า เส้นโค้งการกระจายที่สร้างด้วยวิธี Phase shift ให้ผลที่ดีกว่า เนื่องจากการทดสอบด้วยวิธีแอคทีฟนั้นมีขีดจำกัดในด้านความลึก เนื่องจากจำเป็นต้องใช้แหล่งกำเนิดคลื่นสั่นสะเทือนที่มีกำลังสูงขึ้น เมื่อต้องการประเมินค่าความเร็วของชั้นดินที่อยู่ระดับลึกลงไป ดังนั้นในการศึกษานี้ยังได้ทดลองใช้วิธีสำรวจแบบแพสซีฟ ซึ่งสามารถประเมินค่าความเร็วคลื่นของชั้นดินได้ในระดับที่ลึกกว่า ซึ่งพบว่าสัญญาณจากตัวตรวจวัดในการทดสอบแบบแพสซีฟมีค่าสัญญาณที่เบามาก ทั้งนี้สันนิษฐานว่าการสั่นสะเทือนตามธรรมชาติมีความถี่ต่ำกว่าช่วงที่ตัวตรวจวัดจะตรวจจับได้ นอกจากนี้ในขณะตรวจวัดไม่มีกิจกรรมหรือการจราจรที่หนาแน่นเพียงพอ ที่จะทำให้เกิดคลื่นสั่นสะเทือนที่แรงพอสำหรับอุปกรณ์ตรวจวัด
Other Abstract: Multichannel analysis of surface wave is a technique for shear wave velocity survey. It uses vibration records of ground surface to construct the dispersion curve which is essential to the inversion for shear wave velocity profile. Seng (2551) conducted MASW tests in seven sites in Thailand. The F-K transform was used in his work. In this study, a new method called phase shift (Park et al, 1998) was used to construct the dispersion curve. From comparison between both methods, it was founded that the phase shift method yielded better resolution than the F-K transform. The conventional active MASW has a limitation on the maximum depth of servey which depends on the energy of vibration source. To circumvent the problem, an experimental study on the use of passive MASW was also carried out. However, measured signal were so weak that no meaningful result could be obtained.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21153
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.625
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.625
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
detrit_ra.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.