Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21272
Title: การพัฒนาคู่มือส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียน : บทเรียนรู้จากโรงเรียนที่มีการปฏิบัติดี
Other Titles: The development of a handbook for moral promotion in schools : lessons learned from good practice schools
Authors: วิริยา ศรีวิเชียร
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.T@Chula.ac.th
Subjects: จริยธรรม -- การศึกษาและการสอน
การพัฒนาจริยธรรม
Moral development
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การดำเนินการวิจัยเรื่องการพัฒนาคู่มือส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียน: บทเรียนรู้จากโรงเรียนที่มีการปฏิบัติดี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษากระบวนการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียน รูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมคุณธรรม บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขจนนำไปสู่ความสำเร็จในการส่งเสริมคุณธรรมจากโรงเรียนที่มีการปฏิบัติดี 2)สังเคราะห์บทเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียน รูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมคุณธรรม บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขจนนำไปสู่ความสำเร็จในการส่งเสริมคุณธรรมจากโรงเรียนที่มีการปฏิบัติดี 3)พัฒนาคู่มือการส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียน โดยใช้ข้อมูลบทเรียนรู้จากโรงเรียนที่มีการปฏิบัติดี และ4)ตรวจสอบคุณภาพคู่มือการส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียน โดยศึกษาข้อมูลจากกรณีศึกษาจำนวน 3 โรงเรียนที่ได้รับรางวัลโรงเรียนดีเด่นด้านคุณธรรม จริยธรรมประจำปีการศึกษา 2551 คัดเลือกกรณีศึกษากระจายตามบริบทขนาดของโรงเรียน แบ่งเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ กลาง เล็กอย่างละ 1 โรงเรียน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งแบบเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การศึกษาเอกสาร และการใช้แบบสอบถามการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย การเปรียบเทียบข้อมูล และการวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียน ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญทั้งหมด 7 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลสภาพบริบทของโรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 ขั้นเตรียมการ ขั้นตอนที่ 3 ขั้นจัดสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบ ขั้นตอนที่ 4 ขั้นดำเนินการ ขั้นตอนที่ 5 ขั้นดูแลสนับสนุน ขั้นตอนที่ 6 ขั้นการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และขั้นตอนที่ 7 ขั้นการประเมินผล และเผยแพร่ผลการดำเนินงาน ปัจจัยความสำเร็จในด้านการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียนได้แก่ 1)ผู้บริหาร 2)บุคลากรภายในโรงเรียน 3)การมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรภายนอกอื่น ๆ และ4)การกำหนดแนวคิดหลักในการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมของโรงเรียน ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข ได้แก่ 1)การดำเนินงานในระยะเริ่มต้น แก้ไขโดยร่วมกันศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียน 2)การจัดระบบงาน แก้ไขโดยกำหนดมาตรฐานในการทำงานให้มีความเหมือนใกล้เคียงกัน มีความเป็นมาตรฐานเดียวกันให้มากที่สุด คู่มือที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียน จำนวน 9 บท ทำการตรวจสอบคุณภาพคู่มือ ในด้านรูปแบบ และด้านเนื้อหา โดยการประเมินจากครูผู้ดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมในโรงเรียน ผลการประเมินพบว่า รูปแบบ และเนื้อหามีความเหมาะ มากว่าร้อยละ 80 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ และกลุ่มผู้ใช้มีความเห็นว่าเนื้อหาในคู่มือสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงมากว่าร้อยละ 80 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้
Other Abstract: The purposes of the research were 1)Implementation process promote moral in schools, Activities to promote good form, The role of the relevant Success factors and ways to resolve problems and obstacles to success in promoting good practices from good practice schools. 2)Synthesis of lessons about implementation process promotes moral in schools. Activities to promote good form. The role of the relevant Success factors and ways to resolve problems and obstacles to success in promoting good practices from good practices schools. 3)Development of a handbook for moral promotion in schools. 4)Audit quality of a handbook for moral promotion in schools. The study data from a case study of 3 schools which has won the outstanding school of moral and ethic for the year 2551. Case studies selected distributed by size of school context. Classify a large, middle and small school one of each. Data collection for performed both quantitative and qualitative. The research data were collected by interviewing, focus group technique, observing, study related documents and a questionnaire. The research data were analyzed by employing content analysis, inductive conclusion comparison and basic statistical analysis. The research results were as Implementation process, promote moral in schools composed of 7 step Including step 1 find the condition of the school context, step 2 prepare, step 3 create environments and elements, step 4 action, step 5 care support, step 6 improving and evolving, step 7 evaluate and publish results. Success factors in promoting good performance in school: are 1)director 2)people within the school 3)participation of community and other external organization and 4) the set of principles to promote moral in the schools. Approach to resolve problems and obstacles include 1)operations in the early phase. Edited by jointly studying various documents related to the promotion of ethics in school 2) the system. Edited by standardization of work to be similar. And having the possibility of the same standard. A handbook for moral promotion in schools, which includes content about moral promotion in school of 9 chapter. To verify the quality manual in form and content. The evaluation of the teachers working in schools to promote moral. The evaluation found that the format and content are appropriate for more than 80 percent higher than the benchmark set and users see the contents of the handbook can be used to adjust the very fact that 80 per cent higher than the benchmark set
Description: วิทยานิพนธ์(ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21272
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.342
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.342
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
viriya_sr.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.