Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21287
Title: การพัฒนากลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งสำหรับสถานศึกษาของรัฐ
Other Titles: The development of conflict management strategies for public education institutions
Authors: อารีรัสมิ์ วัฒนทองผิว
Advisors: พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
เอกชัย กี่สุขพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pruet.S@Chula.ac.th
Ekachai.K@chula.ac.th
Subjects: การบริหารความขัดแย้ง
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพความขัดแย้ง และวิธีการบริหารความขัดแย้ง ในสถานศึกษาของรัฐ 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งสำหรับสถานศึกษาของรัฐ และ 3) ประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งสำหรับสถานศึกษาของรัฐที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัย มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยเบื้องต้น 2) ศึกษาสภาพความขัดแย้งในสถานศึกษา และวิธีการบริหารความขัดแย้งสำหรับสถานศึกษาของรัฐ โดยสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารสถานศึกษาของรัฐ จำนวน 240 คน 3) ยกร่างกลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งสำหรับสถานศึกษาของรัฐ โดยใช้เทคนิค SWOT Analysis และ TOWS Matrix 4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งสำหรับสถานศึกษาของรัฐ โดยจัดการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (focus group) 5) ตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ โดยสอบถามความเหมาะสมจากผู้บริหารสถานศึกษาของรัฐ 6) ปรับปรุงและนำเสนอกลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งสำหรับสถานศึกษาของรัฐ ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาของรัฐ ส่วนใหญ่เป็นความขัดแย้งตามสายบังคับบัญชา โดยสาเหตุของความขัดแย้งเกิดจากความแตกต่างในส่วนบุคคลทั้งด้านความคิด ค่านิยม ทัศนคติ ประสบการณ์ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารสถานศึกษา มีความคิดเห็นว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาอยู่ในระดับน้อย และความขัดแย้งช่วยส่งเสริมให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสียในการปฏิบัติงาน (2) การบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษาของรัฐที่พบมากที่สุด คือ การประนีประนอม เทคนิคที่ใช้ในการจัดการความขัดแย้งมากที่สุด คือ การยึดหลักความเสมอภาค ความยุติธรรม และกระจายความเป็นธรรม (3) กลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งสำหรับสถานศึกษาของรัฐที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 2) กลยุทธ์พัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่ความเป็นมืออาชีพ 3) กลยุทธ์เสริมสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานและสร้างขวัญกำลังใจ และ 4) กลยุทธ์สร้างระบบบริหารจัดการสถานศึกษาที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล (4) ผลการประเมินความเหมาะสมของกลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งสำหรับสถานศึกษาของรัฐ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้คือ 1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาควรเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีของผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งในสถานศึกษา 2) สถานศึกษาควรมีมาตรการที่จะส่งเสริมสนับสนุน และกระตุ้นให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเห็นความสำคัญของการพัฒนาตนเอง ระบบการทำงานเป็นทีม และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในสถานศึกษา
Other Abstract: The objectives of this research are to 1) analyze the conditions of conflict and conflict management in public education institutions 2) develop conflict management strategies for public education institutions and 3) justify the conflict management strategies for public education which have been developed. The six steps conducting in this research are as follows: 1) define a conceptual framework for preliminary study 2) study the conditions of conflict and how to manage conflict for public education institutions by using questionnaire for surveying 240 principals’ opinions of public education institutions who had been considering to participate in pilot projects for Learning to Lead Change 3) draft the conflict management strategies for public education institutions by using SWOT analysis and TOWS Matrix 4) enhance the conflict management strategies by organizing a focus group meeting 5) verify the suitability of strategies by checking with 240 principals of public education institutions who had been considering to participate in pilot projects for Learning to Lead Change 6) improve and propose the conflict management strategies for public education institutions. Research findings ; 1) The conflicts in public education institutions occur in hierarchy of command, especially causes of conflict arising from differences in personal, idea, attitude, and experience. However, most of principals believed that conflicts occur at low level and help to foster a positive rather than negative effect on work. 2) The conflict management of public education institutions that most principals use for solving the problems is compromise and the techniques utilized in conflict management are the principles of equality, justice, and fairness. 3) The conflict management of public education institutions developing for this study composes of 4 main strategies, 12 plans and 52 projects/activities. These 4 main strategies are (1)enhancing the efficiency of the principals (2) improving teachers and staff’s competency to be professional (3) creating a positive education institution environment and motivation (4) establishing education institution system that has good governance. 4) The results justify that the conflict management strategies of public education institutions are appropriate up to high level and the most. The recommendations are 1) the Secondary Educational Service Area should enhance knowledge skills and positive attitude of school principals on school conflict management 2) there should be measures to promote and encourage teachers and staffs about the importance of personnel and teamwork development and promote good relationships in schools.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21287
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1960
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1960
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
areerat_wa.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.