Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21295
Title: การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
Other Titles: Development of indicators of learner’s key competencies based on the basic education core curriculum B.E. 2551
Authors: มัณฑนา ชูไกรไทย
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Siridej.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวชี้วัดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามแนวคิดทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 5 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรและโรงเรียนที่มีความพร้อมตามรายชื่อที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศ จำนวน 1,146 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เพื่อตรวจสอบตัวชี้วัดและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และใช้โปรแกรม LISREL ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า มีตัวแปรที่เป็นตัวชี้วัดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 23 ตัวชี้วัดครอบคลุมองค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสารประกอบด้วย 6 ตัวชี้วัด ความสามารถในการคิด ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด ความสามารถในการแก้ปัญหา ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ประกอบด้วย 6 ตัวชี้วัด และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของโมเดลตัวชี้วัดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi - square = 82.08, df = 126, p = .999, GFI = .994 , AGFI = .986 , RMR = .015) น้ำหนักองค์ประกอบของตัวชี้วัดทั้ง 23 ตัว มีค่าเป็นบวก มีขนาดตั้งแต่ 0.697 ถึง 0.849 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกตัว โดยองค์ประกอบที่มีน้ำหนักความสำคัญมากที่สุด ความสามารถในการคิด รองลงมา คือ ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี โดยองค์ประกอบในแต่ละด้านดังกล่าวมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.997, 0.957, 0.953, 0.896 และ 0.839 ตามลำดับ และมีความแปรผันร่วมกับองค์ประกอบสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้ประมาณร้อยละ 99.4, 91.6, 90.9, 80.2 และ 70.5 ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this research were to develop indicators of learner’s key competencies based on the basic education core curriculum B.E.2551 and to investigate the goodness of fit of the proposed model to the empirical data. The participants of this research were totally 1,146 students in the eighth grade and the eleventh grade under the Office of the Basic Education Commission in the model schools and the schools those were ready to use curriculum under the notice of Ministry of Education. The researcher collected the data by using the interview to verify the indicators and the questionnaire survey. Data were analyzed by descriptive statistics through SPSS and LISREL for confirmatory factor analysis, and second order confirmatory factor analysis. The research results were as follows: 1) The results of confirmatory factor analysis were found that all of the 23 indicators were significant indicators of learner’s key competencies at the 0.01 level of significance covering 5 aspects: communication capacity consisting of 6 indicators, thinking capacity consisting of 5 indicators, problem-solving capacity consisting of 4 indicators, capacity for applying life skills consisting of 6 indicators and capacity for technological application consisting of 2 indicators. 2) The results of the second order confirmatory factor analysis of the indicators of learner’s key competencies were found that the proposed model was conformable with the empirical data ( = 82.08, df = 126, p = .999, GFI = .994 , AGFI = .986 , RMR = .015) and all 5 aspects had positive value from 0.697 to 0.849 at the 0.01 level of significance. The highest factor loading indicator was thinking capacity. The next ranks were problem-solving capacity, communication capacity, applying life skills and capacity for technological application. Each factor loading was 0.997, 0.957, 0.953, 0.896 and 0.839, each variance of this model was 99.4%, 91.6%, 90.9%, 80.2% and 70.5% respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21295
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
muntana_ch.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.