Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21353
Title: ระบบงานสารสนเทศด้านการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ
Other Titles: Information system for medical treatment and health recovery
Authors: กนกวรรณ บุ้นประสิทธิ์ชัย
Advisors: ปวีณา เชาวลิตวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: paveena.c@chula.ac.th
Subjects: ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
สารสนเทศทางการพยาบาล
การพยาบาล -- การประมวลผลข้อมูล
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการบริหารจัดการงานสาธารณสุขด้านการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสุขภาพมีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลสุขภาพรายบุคคลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและประมวลผลลัพธ์ทางสุขภาพของประชาชนโดยรวม และการมีข้อมูลพื้นฐานสุขภาพรายบุคคลที่ดีจะทำให้มีระบบสารสนเทศที่มีประโยชน์และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้ ในการปฏิบัติงานสถานพยาบาลเป็นผู้มีหน้าที่ในการส่งข้อมูลสุขภาพรายบุคคลรวมถึงข้อมูลอื่นๆตามความต้องการของผู้ใช้ไปยังหน่วยงานทางสาธารณสุข แต่เนื่องจากความต้องการใช้งานข้อมูลดังกล่าวเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์และสนับสนุนการดำเนินงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบมีความแตกต่างกัน อีกทั้งขั้นตอนในการดำเนินงาน ลักษณะและข้อกำหนดของข้อมูลมีความสับสนและซ้ำซ้อนกันอยู่ จึงเป็นผลทำให้สถานพยาบาลมีภาระงานในการนำส่งข้อมูลที่ค่อนข้างมาก ทำให้เกิดแนวคิดในการรวบรวม วิเคราะห์และจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูลรวมถึงกระบวนการจัดเตรียมและส่งข้อมูลของสถานพยาบาล ในการดำเนินงานวิจัยเริ่มจากการศึกษาภาพรวมการใช้งานข้อมูลและสารสนเทศในระบบสาธารณสุขที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั้งจากเอกสาร รายงานที่มีใช้ในหน่วยงาน ภาพรวมดัชนีชี้วัดสุขภาพ องค์ประกอบระบบข้อมูลสุขภาพและการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องในหลายหน่วยงานเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลในระบบให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีคุณภาพ จากนั้นได้พัฒนารูปแบบและลักษณะของข้อมูลให้เหมาะสมและเป็นไปตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ข้อมูลที่จำเป็นและรายงานพื้นฐานสำหรับการบริหารจัดการงานสาธารณสุขด้านการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ สุดท้ายได้ทำการออกแบบระบบสารสนเทศซึ่งมีทั้งการออกแบบฐานข้อมูลและหน้าจอการทำงานของระบบที่เหมาะสม โดยได้นำเสนอผลลัพธ์ที่ได้ในงานสัมมนาที่รวมความคิดเห็นจากตัวแทนผู้ใช้งานในทุกระดับจากหลายหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญทางสาธารณสุขซึ่งผลการประเมินแสดงให้เห็นว่าข้อมูลและรายงานพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับงานสาธารณสุขด้านการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสุขภาพรวมถึงการออกแบบระบบสารสนเทศมีความสอดคล้องและตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานอย่างแท้จริง ซึ่งระบบสารสนเทศที่ได้จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการดำเนินงาน การวางแผนนโยบายเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆรวมทั้งจะส่งผลถึงการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพมากขึ้น เป็นประโยชน์และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานสาธารณสุของประเทศได้เป็นอย่างดี
Other Abstract: To efficiently and effectively manage health care system for medical treatment and health recovery, health data is needed to support operation and outcome of health. Having a good basic data can make the system convenient for user. Health care providers are responsible for preparing individual health data and other necessary related data to various departments in the ministry of public health. In practice, data required by various public health units can be different or similar sometimes. Hence, health care providers may have workloads in transferring data to various public health units which cause unproductive works to health care providers. In order to eliminate this redundancy, and reduce data processing and data management system to improve data quality, the research and determination for necessary data in health care management is proposed. In this research, various sources of information are collected, studied, and analyzed such as missions, overall health indicators, reports and statistic, the data elements of health include the user interview for current analysis requirements from various public health units to create a necessary data and report for health care medical treatment and health recovery. To develop and design database and application of information system, the proposed system was evaluated by a seminar in which system users and public health specialists brainstorm that it is possible to develop. The information system can assist planning, policy development and support operation in public health. Furthermore, it can help increase efficiency of all operation in health care providers to improve patient safety and quality, to manage public health more efficiently and to be the most utilized of nation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21353
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.624
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.624
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanokwan_bu.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.