Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21354
Title: ประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : การวิเคราะห์อภิมาน
Other Titles: The effectiveness of nursing interventions on health outcomes in family caregivers of head injury and stroke patients : a meta-analysis
Authors: วาสนา ธรรมสอน
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ป่วย -- การดูแล
หลอดเลือดสมอง -- โรค
สมอง -- โรค
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2) เปรียบเทียบผลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 3) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่มีผลต่อความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยศึกษาจากวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2528 – 2550 จำนวน 31 เรื่อง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสรุปคุณลักษณะของงานวิจัยและแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.82 หาความเที่ยงโดยวิธีผู้ประเมินร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษา ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 นำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามวิธีของ Glass, McGaw, & Smith (1981) ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 77 ค่า ผลการวิเคราะห์งานวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. งานวิจัยที่นำมาวิเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (83.87 %) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวนเท่ากัน (22.58 %) จากคณะพยาบาลศาสตร์ (70.97 %) คุณภาพงานวิจัยโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (61.30 %) พบว่า การปฏิบัติการพยาบาลด้านการรู้และความคิดถูกนำมาศึกษามากที่สุด (48.39 %) และด้านสังคมถูกนำมาศึกษาน้อยที่สุด (16.13%) ส่วนผลลัพธ์ทางสุขภาพด้านอื่น ๆ ถูกนำมาศึกษามากที่สุด (43.14 %) และด้านอาการถูกนำมาศึกษาน้อยที่สุด (1.96 %) 2. ผลการเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพล พบว่า ผลลัพธ์ด้านสุขภาพโดยรวมมีขนาดใหญ่ (d = 2.26) โดยด้านพฤติกรรมให้ค่าขนาดอิทธิพลสูงที่สุด (d = 2.79) และด้านจิตใจให้ค่าขนาดอิทธิพลต่ำที่สุด (d = 1.71) ส่วนการปฏิบัติการพยาบาลแบบผสมผสานให้ค่าขนาดอิทธิพลสูงที่สุด (d = 2.53) และการปฏิบัติการพยาบาลด้านสังคมมีค่าขนาดอิทธิพลต่ำที่สุด (d = 1.52) 3. สถานที่เก็บข้อมูลและการระบุกรอบแนวคิดมีผลต่อความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพล สามารถพยากรณ์ความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพล ได้ร้อยละ 30.00
Other Abstract: The purposes of this meta analysis were to study 1) Methodological and substantive characteristics of nursing interventions on health outcomes of family caregivers of head injury patients and stroke patients; 2) Compare the effectiveness of nursing interventions on health outcomes of family caregivers of head injury patients and stroke patients; and 3) Influences of methodological and substantive characteristics on the effect size. Total of 31 true and quasi – experimental studies in Thailand during 1985 – 2007 were included. Studies were analyzed for method of Glass, McGaw, and Smith (1981). This meta – analysis yielded 77 effect sizes. Results were as follows: 1. The majority of the study were Master theses (83.87%); from ChiangMai University and Mahidol University (22.58%); from faculty of nursing (70.97%). Most of instruments were tested for both reliability and validity (90.32%); decided in very good quality (61.30%). Most of nursing interventions were used was cognitive intervention (48.39%). Nursing interventions least used was social intervention (16.13%). Most of health outcomes used was other health outcome (43.14%). Health outcomes least used was symptom health outcome (1.96%). 2. Nursing interventions had the large effect–size on health outcomes (d = 2.26). Nursing interventions had the largest effect–size on behavior health outcome (d = 2.79), but had the lowest effect – size on psychological health outcome (d = 1.71). Combined intervention had the largest effect–size on health outcomes (d = 2.53). Social intervention had the lowest effect–size on health outcomes (d = 1.52). 3. The unit of setting and conceptual framework was the variable that significantly predicted effect – size at the level of .05. The predictive power was 30.00 % of the variance.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลผู้ใหญ่
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21354
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1073
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1073
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wasana_t.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.