Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21365
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี-
dc.contributor.advisorวิวัฒน์ เตมียพันธ์-
dc.contributor.authorณรงค์ฤทธิ์ ทองแสง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialอุบลราชธานี-
dc.date.accessioned2012-08-10T14:04:30Z-
dc.date.available2012-08-10T14:04:30Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21365-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการศึกษาสิม(โบสถ์)อีสานสายวัฒนธรรมไท-ลาว ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง มีจุดมุ่งหมายศึกษาวัฒนธรรมอีสานซึ่งสืบสายจากวัฒนธรรมไท-ลาว และศึกษาวิวัฒนาการรวมทั้งอิทธิพลรูปแบบศิลปะต่างๆ ทางสถาปัตยกรรม อันจะนำไปสู่การค้นหาเอกลักษณ์ของสิมอีสานสายวัฒนธรรมไท-ลาว ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง โดยเก็บข้อมูลจากการศึกษาภาคเอกสาร การสำรวจภาคสนาม การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้นำเสนอข้อมูลในเรื่อง ตำแหน่งที่ตั้งวัด ลักษณะการวางผังและรูปแบบสิมในกลุ่มตัวอย่าง พร้อมกับวิเคราะห์เปรียบเทียบจัดกลุ่มรูปแบบและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมตามลำดับอายุก่อนหลัง และสรุปผลเป็นข้อมูลที่ใช้ในงานออกแบบ นำเสนอเป็นผลงานการออกแบบสิมวัดหลวง เมืองอุบลราชธานี ผลจากการศึกษาสิมในกลุ่มตัวอย่าง ทำให้ทราบว่า ที่ตั้งวัด ได้ถูกกำหนดโดยชนชั้นผู้ปกครอง หรือ พระสงฆ์ หรือ ประชามติของคนในชุมชน ซึ่งมักกำหนดให้วัดอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ บนเนินสูง หรืออยู่ทิศใต้ชุมชน และพบว่า ภายในเขตวัดอันประกอบด้วยเขตพุทธาวาส สังฆาวาส และเขตสาธารณประโยชน์ ไม่ได้มีการแบ่งเขตชัดเจนเหมือนกับการวางผังบริเวณวัดทางภาคกลาง ทั้งนี้ ในระบบสถาปัตยกรรมสายวัฒนธรรมไท-ลาวเดิม ได้ให้ความสำคัญแก่อาคารอาฮาม(วิหาร) เป็นประธานภายในเขตวัด แต่ปัจจุบันด้วยการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ทำให้อาคารสิมได้รับความสำคัญขึ้นมาทดแทนอาฮาม สิมจึงเป็นอาคารประธานของวัดในเขตพุทธาวาส ที่มักตั้งอยู่บริเวณที่โล่งใจกลางวัด หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และจะไม่ตั้งสิมให้เป็นแนวแกนชัดเจนกับอาคารข้างเคียง ส่วนเขตสังฆาวาสมักอยู่ทางทิศตะวันตกเป็นหลัก แล้วเชื่อมต่อไปยังทิศเหนือและใต้ ตามลำดับ ส่วนเขตสาธารณะประโยชน์ เป็นเขตที่เกิดขึ้นภายหลังเพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยของชุมชน มักเป็นอาคารกลุ่มฌาปนสถานอยู่ตามมุมวัดหรือติดรั้ววัดด้านใดด้านหนึ่ง และเมื่อศึกษาเรื่องรูปแบบสถาปัตยกรรมพบว่า รูปแบบของสิมในกลุ่มตัวอย่าง แบ่งตามอิทธิพลศิลปสถาปัตยกรรมและช่วงลำดับก่อนหลังได้ 3 กลุ่ม คือ 1. สิมที่รับอิทธิพลศิลปสถาปัตยกรรมล้านช้างแบบดั้งเดิม 2. สิมที่รับอิทธิพลศิลปสถาปัตยกรรมล้านช้างผสมผสานภาคกลาง 3. สิมที่รับอิทธิพลศิลปสถาปัตยกรรมล้านช้างแบบท้องถิ่นอีสาน ปัจจุบัน หลักฐานทางศิลปสถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองอุบลราชธานี มีแนวโน้มที่จะสูญหายและถูกเปลี่ยนแปลงไปตามแบบอย่างสถาปัตยกรรมภาคกลาง ในกรณีของอาฮามวัดหลวง เมืองอุบลราชธานี วัดสำคัญประจำเมืองที่สร้างโดยพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ เจ้าเมืองคนแรก นับเป็นตัวอย่างของการสูญหายของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งควรได้รับการสืบหารูปแบบเดิม และพัฒนาศิลปสถาปัตยกรรมให้เห็นเอกลักษณ์ของรูปแบบที่แสดงถึงความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมไท-ลาว อันเป็นรากเหง้าของศิลปสถาปัตยกรรมท้องถิ่น รวมทั้งสนองประโยชน์ใช้สอยได้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ของสังคมในยุคปัจจุบัน ตลอดจนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบสิมในภาคอีสานได้ ดังที่ได้นำเสนอในผลงานการออกแบบสิมวัดหลวง เมืองอุบลราชธานีen
dc.description.abstractalternativeThis study of Isan sims (the northeastern word for ‘ubosot’, the ordination hall, in central Thai) in Tai-Lao Culture around the Lower Mekhong Basin aims to study the evolution of northeastern architectural culture. The research methodology includes the collection of documentary data, a field survey, and interviews. Findings include the locations of the temples, the layout and the patterns of the sims in the sample group, leading to a comparative analysis of architectural components and forms. The study findings are then used in the design of the sim at Wat Luang, Ubonratchathani Province. The study of the sims in the sampling reveals that the location of the temple is designated by the ruling class, monks, or by the community consensus. Mostly, the temple is located near a source of water, on a high hill, or to the south of the local community. The division between the Buddhavas, the Sanghavas and the area for public use is not so clearly marked as in the layout planning of temples in the central region. This is because earlier in the architecture of Tai-Lao culture, the focus was on the vihara (or the ah-haam in northeast dialect) as opposed to the ubosot or sim. However, with cultural changes, the sim building has become the major structure in the Buddhavas area instead. Usually situated in the open space in the middle of the temple compound, facing east, the sim is not to be placed in a defined axis line with nearby buildings. The Sanghavas or the monastery is often in the west extending to the north and the south respectively. The area for public use is established later to meet the needs of the community, often as a group of buildings for funeral rites and cremation situated on the temple periphery. The research also finds that the sims in the sample group can be divided architecturally into three groups according to time periods and architectural and art influences. These are: 1. the sims with the influence of original Lan Chang art and architecture 2. the sims with the influence of art and architecture from Lan Chang and the central region 3. the sims with the influence of art and architecture of the local northeastern Lan Chang art and architecture At present, it seems that the local art and architecture of Ubonratchathani is likely to be over powered by that of the central region. A good example of such loss of historical evidence is the case of the ah-haam or the vihara of Wat Luang, Ubonratchathani, the important provincial temple built by Phra Pratum-worarajsuriyawongse, the first governor. Combining the rediscovered architectural identity of the Tai-Lao culture with contemporary functional requirements, the research proposes new design for the sim of Wat Luang, Ubonratchathani.en
dc.format.extent22313682 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.849-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโบสถ์ -- ไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)en
dc.subjectสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาen
dc.titleการศึกษาสิมอีสานสายวัฒนธรรมไท-ลาว ลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง เพื่อออกแบบสิมวัดหลวง เมืองอุบลราชธานีen
dc.title.alternativeA study of Isan Sims Tai-Lao culture around the lower Mekhong basin for designing the Sim of Wat Luang, Ubonratchathani Provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorpsuwan2006@yahoo.com-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.849-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
narongrit_th.pdf21.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.