Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21463
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของการอธิบายและความสุขเชิงอัตวิสัยของนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: The relationship between explanatory style and subjective well-being of Chulalongkorn University junior students
Authors: นงลักษณ์ ศรีบรรจง
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Theeraporn.U@chula.ac.th
Subjects: ความสุข
สุขภาวะ -- แง่จิตวิทยา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- นักศึกษา
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบของการอธิบายกับความสุขเชิงอัตวิสัย และศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้ที่มีรูปแบบของการอธิบายในลักษณะมองโลกในแง่ดีกับผู้ที่มีรูปแบบของการอธิบายในลักษณะมองโลกในแง่ร้าย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 369 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. สำหรับสถานการณ์ทางบวกผู้ที่มีรูปแบบของการอธิบายในลักษณะมองโลกในแง่ดีมีความสุขเชิงอัตวิสัยสูงกว่าผู้ที่มีรูปแบบของการอธิบายในลักษณะมองโลกในแง่ร้าย 2. สำหรับสถานการณ์ทางลบผู้ที่มีรูปแบบของการอธิบายในลักษณะมองโลกในแง่ดีมีความสุขเชิงอัตวิสัยสูงกว่าผู้ที่มีรูปแบบของการอธิบายในลักษณะมองโลกในแง่ร้าย 3. การอนุมานสาเหตุเกี่ยวกับสถานการณ์ทางบวกในมิติแหล่งกำเนิดของสาเหตุ มิติความสม่ำเสมอ และมิติความทั่วไปมีสหสัมพันธ์พหุคูณทางบวกกับความสุขเชิงอัตวิสัย 4. การอนุมานสาเหตุเกี่ยวกับสถานการณ์ทางลบในมิติแหล่งกำเนิดของสาเหตุ มิติความสม่ำเสมอ และมิติความทั่วไปมีสหสัมพันธ์พหุคูณทางลบกับความสุขเชิงอัตวิสัย 5. รูปแบบของการอธิบายเกี่ยวกับสถานการณ์ทางบวกและสถานการณ์ทางลบในมิติแหล่งกำเนิดของสาเหตุ มิติความสม่ำเสมอ และมิติความทั่วไปสามารถร่วมกันทำนายความสุขเชิงอัตวิสัยของบุคคล
Other Abstract: The purposes of this thesis were to study the relationship between explanatory style and subjective well-being of Chulalongkorn University junior students, and to compare the differences of positive explanatory style and negative explanatory style. Participants were 369 junior students of Chulalongkorn University. The results are as follows: 1. For good events, the mean subjective well-being of the students with positive explanatory style is significantly higher than the mean of subjective well-being of the students with negative explanatory style. 2. For bad events, the mean subjective well-being of the students with positive explanatory style is significantly higher than the mean of subjective well-being of the students with negative explanatory style. 3. The attributions for the good events in the internality dimension, stability dimension, and globality dimension have significant positive multiple correlation with subjective well-being. 4. The attributions for the bad events in the internality dimension, stability dimension, and globality dimension have significant negative multiple correlation with subjective well-being. 5. The good events explanatory style in the internality dimension, stability dimension, and globality dimension and the bad events explanatory style in the internality dimension, stability dimension, and globality dimension, together, can significantly predict the subjective well-being.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21463
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1416
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1416
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nongluk_sr.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.