Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21466
Title: วาระข่าวสารและทิศทางเนี้อหาเกี่ยวกับนโยบายประชานิยม ที่นำเสนอผ่านหนังสือพิมพ์ในยุครัฐบาลทักษิณและหลังรัฐบาลทักษิณ
Other Titles: News agenda and content direction of populist policy as presented in newspaters during and post Thaksin Shinawatra
Authors: นพวงษ์ มังคละชน
Advisors: พีระ จิรโสภณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Pira.C@chula.ac.th
Subjects: รัฐบาล -- ไทย -- สมัยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร, 2544-2549
การสื่อข่าวและการเขียนข่าว
การสื่อข่าวและการเขียนข่าว
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายประชานิยม ที่นำเสนอในช่วงรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ของหนังสือพิมพ์มติชน ไทยรัฐ และกรุงเทพธุรกิจ โดยศึกษาเกี่ยวกับวาระข่าว แหล่งข่าว และทิศทางเนื้อหา รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอนโยบายประชานิยม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในส่วนของข่าวและบทบรรณาธิการเกี่ยวกับนโยบายประชานิยมที่สำคัญ คือ นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค นโยบายหวยบนดิน และนโยบายบ้านคนจน ในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 ถึงวันที่ 20 กันยายน 2550 และใช้วิธีการสัมภาษณ์บรรรณาธิการและหัวหน้าข่าว ผลการศึกษา พบว่า หนังสือพิมพ์นำเสนอวาระข่าวสารและทิศทางเนื้อหาในรัฐบาลทักษิณแตกต่างจากรัฐบาลสุรยุทธ์ โดยที่ในรัฐบาลทักษิณ หนังสือพิมพ์ให้ความสำคัญแก่นโยบายหรือความคืบหน้าในการดำเนินนโยบาย แหล่งข่าวสารส่วนใหญ่เป็นภาครัฐ ส่วนในรัฐบาลสุรยุทธ์ หนังสือพิมพ์ให้ความสำคัญกับการนำเสนอเรื่องการแก้ไข ปรับเปลี่ยน และตรวจสอบทุจริตของรัฐบาลทักษิณ โดยที่แหล่งข่าวสารส่วนใหญ่คือองค์กรอิสระ นโยบาย 30 บาท รักษาทุกโรค ในรัฐบาลทักษิณ ถูกนำเสนอว่าเป็นนโยบายที่ให้สิทธิการรักษาครอบคลุมเกือบทุกโรค แต่มีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ และเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างข้าราชการและนักการเมือง ส่วนในรัฐบาลสุรยุทธ์ นำเสนอไปที่ความบกพร่องในการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลทักษิณ สำหรับนโยบายหวยบนดิน ในรัฐบาลทักษิณ ถูกนำเสนอว่าเป็นนโยบายที่ช่วยแก้ปัญหาผู้มีอิทธิพล แต่ทำให้เกิดปัญหาทางสังคม เป็นนโยบายที่ได้รับทั้งการสนับสนุนและคัดค้าน ส่วนในรัฐบาลสุรยุทธ์ นำเสนอไปที่การใช้จ่ายเงินอย่างไม่โปร่งใส และมอมเมาสังคม เป็นนโยบายที่ได้รับทั้งการสนับสนุน คัดค้าน และให้ข้อเสนอแนะ ส่วนนโยบายบ้านคนจน ในรัฐบาลทักษิณ ถูกนำเสนอว่าเป็นนโยบายที่ช่วยเหลือให้คนยากจนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ในรัฐบาลสุรยุทธ์ นำเสนอว่าเป็นนโยบายที่มีการทุจริต และโครงการไม่มีคุณภาพ ทำให้ประชาชนเดือดร้อน และประเทศชาติเสียหาย หนังสือพิมพ์แต่ละประเภทนำเสนอเนื้อหาแตกต่างกัน โดยหนังสือพิมพ์แนวธุรกิจมักให้ความสำคัญกับประเด็นข่าวเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือปฏิกิริยาของบุคคลหรือองค์กรอื่นที่มีต่อนโยบายของรัฐ มากกว่าประเด็นเกี่ยวกับนโยบายหรือความคืบหน้าของนโยบายเหมือนอย่างหนังสือพิมพ์ประเภทอื่น การนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายประชานิยม ถูกกำหนดโดยวิจารณญาณของนักข่าว จุดยืนขององค์กรหนังสือพิมพ์ สภาพการณ์ทางสังคม พฤติกรรมของรัฐบาล กระบวนการและขั้นตอนของนโยบายประชานิยม และคุณค่าทางข่าวของนโยบายประชานิยม
Other Abstract: This study aims at studying content about populist policies implemented during the Thaksin Shinawatra administration and the interim administration under Gen Surayud Chullanont in three selected newspapers – Matichon, Thai Rath and Krungthep Thurakit. Content analysis of news and editorials about major populist policies namely – universal healthcare, affordable housing program and legalized lottery policy -- was conducted between 9 February 2001 and 20 September 2007, alongside in-depth interviews with editors and news chiefs at the respective newspapers. The research has these findings. The studied newspapers presented different news agenda and content direction during the Thaksin administration from the Surayud administration. During Thaksin administration, the newspapers put emphasis on policy and progress in policy implementation. Most of the news sources found are from government sector. During the Surayud administration, the newspapers put more emphasis on the policy change and adjustment, as well as anti-corruption policy. Most of the news sources are independent organizations. The 30-baht universal healthcare policy was presented during Thaksin administration as a policy that enabled health care rights of citizens but had problems in terms of management which led to conflict between civil servants and politicians. As for the Surayud government, the news was presented in the direction that pointed to the flaw of budget allocation during the Thaksin administration. As for the legalized lottery policy, it was presented in the selected papers as a policy that helped resolve the problem of power warlords but it led to social problem that received both supports and opposition. During the Surayud government, the same policy was presented as non-transparent and bad for the society. With respect to affordable housing program policy, it was presented during the Thaksin administration as a policy that assisted poor people for a better living while during the Surayud government it was presented as a corrupt and substandard policy that affects the people and the country. All the studied newspapers presented their content differently. Business newspapers stress issues about opinions and reactions of people towards government policy rather than progress in policy implementation as in other newspapers. In all, it could be concluded that news presentation about populist policies are determined by the judgment of journalists, newspapers’ standpoint, social situation, government behavior, processes and steps of populist policy and news values.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วารสารสนเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21466
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.286
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.286
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppawong_Ma.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.