Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21543
Title: บทบาทของกองเผยแพร่และควบคุมการโฆษณา กระทรวงสาธารณสุข ในการพิจารณาควบคุมการโฆษณาสินค้าประเภทอาหารและยา
Other Titles: The roles of the public relations and advertisement control, division, ministry of public health, in the censorship of the food and drug advertising
Authors: ศรีธวัฒน์ อิทธิระวิวงศ์
Advisors: วศิน เตยะธิติ
สุรัชนา วิวัฒนาชาต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบัน “การโฆษณา” ได้รับการยอมรับว่าเป็นกลยุทธทางการตลาดที่สำคัญอย่างหนึ่งของธุรกิจ ซึ่งมีการแข่งขันทางด้านการตลาดกันมาก ดังนั้นธุรกิจต่างๆ จึงพยายามโฆษณาสินค้าของตนในลักษณะดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคให้ได้มากกว่าคู่แข่ง ทำให้ผู้บริโภคมักได้ยินคำพูดหรือภาพแปลกๆ จากการโฆษณาเสมอ และตามด้วยการวิจารณ์โฆษณาสินค้านั้นๆ ว่าเป็นการโฆษณาโอ้อวดเกินความเป็นจริง การโฆษณาผิดจากข้อเท็จจริง ฯลฯ หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโฆษณาอาหารและยาซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้บริโภค รัฐบาลจึงมอบหมายให้กองเผยแพร่และควบคุมการโฆษณาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันสำหรับการโฆษณาอาหารและยา คือ นักโฆษณามักขัดแย้งด้านแนวความคิดกับคณะกรรมการตรวจพิจารณาคำขอโฆษณาอาหารและคณะกรรมการตรวจพิจารณาคำขอโฆษณา ในเรื่องการตีความตัวบทกฎหมาย ที่ใช้ควบคุมโฆษณาอาหารและยา ซึ่งส่งผลถึงการทำโฆษณาอาหารและยา เช่น ลักษณะการโฆษณาแบบใดจึงเป็นและไม่เป็นการโอ้อวดสรรพคุณเกินความเป็นจริง ลักษณะการโฆษณาแบบใดจึงเป็นและไม่เป็นเท็จ ฯลฯ ส่วนธุรกิจผู้ผลิตอาหารและยาก็ประสบปัญหา เช่นกัน เช่น ไม่สามารถออกโฆษณาได้ทันกำหนดเวลาที่วางแผนไว้ การจำหน่ายสินค้าไม่อาจทำยอดขายได้ตามต้องการเพราะไม่อาจโฆษณาให้ดึงดูดความสนใจผู้บริโภคได้เพียงพอ ฯลฯ วิธีดำเนินการค้นคว้าได้ศึกษาจากแหล่งข้อมูล 2 แหล่ง คือแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ แหล่งข้อมูลปฐมภูมิใช้วิธีวิจัยแบบสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง (Personal Interview) โดยการคัดเลือกตัวอย่างได้ใช้วิธี Non – Probabilistios Sampling จากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ คณะกรรมการตรวจพิจารณาคำขอโฆษณาอาหารและยา นักโฆษณาที่มีประสบการณ์ด้านการทำโฆษณาอาหารและยา ตลอดจนธุรกิจผู้ผลิตอาหารและยา ซึ่งเป็นผู้จ้างทำโฆษณา ส่วนแหล่งข้อมูลทุติยภูมิซึ่งใช้เป็นแหล่งข้อมูลสนับสนุนจะใช้แหล่งข้อมูลจากภายนอก (External Source) เช่น บทความต่างๆ เกี่ยวกับการโฆษณาอาหารและยา ที่นักโฆษณาหรือกรรมการตรวจพิจารณาคำขอโฆษณาอาหารและยาเขียนขึ้น ตลอดจนกฎหมายต่างๆ เป็นต้น จากการศึกษาบทบาทการควบคุมโฆษณาอาหารและยา ของกองเผยแพร่และควบคุมการโฆษณา ดังกล่าวมีประเด็นที่สำคัญคือ คณะกรรมการตรวจพิจารณาคำขอโฆษณาอาหารและคณะกรรมการตรวจพิจารณาคำขอโฆษณายายังขาดความรู้ด้านการโฆษณา หลักเกณฑ์ในการควบคุมโฆษณาอาหารและยายังไม่แน่นอนและไม่เหมาะสมเท่าที่ควร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และคณะกรรมการตรวจพิจารณาคำขอโฆษณาอาหารหรือยาในครั้งแรกเป็นชุดเดียวกัน การระบุเหตุผลในการไม่อนุมัติข้อความโฆษณานั้นๆ ยังไม่ละเอียด ชัดแจ้ง การประสานงานระหว่างหน่วยราชการต่างๆ ในการควบคุมโฆษณายังไม่ดีพอ การควบคุมโฆษณาทั้งในกรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาคยังควบคุมไม่ทั่วถึง ผู้บริโภคบางส่วนขาดความรู้ ความเข้าใจในการเลือกซื้อสินค้ามาบริโภค การควบคุมโฆษณาอาหารและยาในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเข้มงวดขึ้นกว่าปัจจุบัน ข้อเสนอแนะสำหรับการควบคุมโฆษณาอาหารและยา คือ คณะกรรมการตรวจพิจารณาคำขอโฆษณาทั้ง 2 ชุด ควรศึกษาหาความรู้ด้านการโฆษณาเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการควบคุมโฆษณาอาหารและยาควรปรับปรุงให้ทันสมัย คล่องตัว และเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน ตลอดจนมีความแน่นอนเพื่อนักโฆษณา สามารถยึดเป็นหลักในการทำโฆษณา คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ควรเป็นคณะกรรมการชุดใหม่ต่างหากจากคณะกรรมการตรวจพิจารณาคำขอโฆษณาอาหารและยาในครั้งแรก ควรมีการระบุเหตุผลในการไม่อนุมัติโฆษณาสินค้านั้นๆ ให้ละเอียดชัดแจ้งเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลัง ควรปรับปรุงการประสานงานระหว่างหน่วยราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโฆษณาอาหารและยา ควรเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่และงบประมาณเพื่อใช้ในการตรวจสินค้าต่างๆ ที่จำหน่ายในท้องตลาด ตลอดจนการโฆษณาทั้งกรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาค ในด้านผู้บริโภคควรรู้จักป้องกันตนเองตลอดจนรู้จักพิจารณาเลือกซื้อสินค้าอย่างมีเหตุผล และมีส่วนช่วยเหลือสังคม เช่น กรณีที่พบสินค้าใดเป็นอันตรายหรือโฆษณาสินค้าใดเกินความเป็นจริง ฯลฯ ก็ควรแจ้งกองเผยแพร่และควบคุมการโฆษณา กระทรวงสาธารณสุขเพื่อดำเนินการต่อไป
Other Abstract: At present the advertising has been accepted as a kind of important marketing strategy in the competitive situation of the business. Therefore, various producers compete against one another in winning consumers’ hearts by means of more striking – attention advertisement. This advertising war meets with critioism stated that whether these advertisements are overclaimed and are true to fact etc., especially those of food & drugs which affects consumers directly. The government, therefore, assigns the authority of the advertising consideration to the Publio Relations and Advertisement Control Division ( PAC) which is the unit of the Food and Drug Administration, Ministry of Public Health. As far as the case of food & drugs concerns, there occurs a conceptual conflict between advertising agencies and PAC committee concerning the interpretation of the regulations imposed on the food & drugs advertising. This immensely affects the advertising operation of food & drugs products because the agencies do not understand what criterion the PAC committee utilizes to judge whether advertisements are overclaimed or deceitful etc. As for producers of food & drugs, they also encounter their problems i.e. unable to launch their advertising plans as scheduled, unable to reach their prospective sales target because of the inadequate advertising impact etc. The processes of the research have been undertaken from 2 information sources i.e. the primary information source and the secondary information source. In respect to the primary information source, personal interviewing will be utilized and the non- probabilistics sampling method will help select samples from 3 sampling groups i.e. the committee of PAC, the well – experienced advertising personalities, and the producers of food and drugs who are advertisers. The secondary information source served ad back- up information will be collected from the external source, for example, the regulations, various articles on food & drugs advertising written by advertising personalities or the committee of PAC, etc. Having studied the roles of PAC in the censorship of the Food and Drug advertising, we gained several important points as followed : The committee of PAC lacks the advertising knowledge; there is no certain and appropriate criterion in considering and controlling the food & drugs advertising. The Appeal Committee and the Primary PAC Committee are the group ; no meticulous and clear reasons are made in the non – approval of the advertising copy; the co –operation of public sectors in advertising control is not good enough ; the advertising control both in Bangkok and the provinces is not thoroughly covered; parts of consumers lack the knowledge and understanding in selecting goods; there is a trend showing that advertising control on food and drugs in the future will be more stringent. Some suggestion for the authority of food & drugs advertising control has been provided as followed : The PAC committee should study more of advertising knowledge; the criterion of food & drugs advertising control should be up- to-date, flexible and suitable for the contemporary world; there also should be a certainty for advertising people to attach to as a rule ; the Appcal Committee of PAC should be apart from the Primary one; meticulous & clear reasons should be made in case that any non – approval of advertising copy occurred so as to avoid the consequent problems; the improvement of the co- operation among public sectors relating with food & drugs advertising controls should be undertaken; more bugets and more officials for product inspection in the marketplace and advertising monitoring both in Bangkok and provinces are needed; consumers should learn how to select goods rationally and should participate in helping the society, for example, pointing out and reporting any dangerous or overclaimed products to PAC authority for undertaking legal action.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2525
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การตลาด
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21543
ISBN: 9745608823
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srithawat_It_front.pdf626.17 kBAdobe PDFView/Open
Srithawat_It_ch1.pdf384.25 kBAdobe PDFView/Open
Srithawat_It_ch2.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Srithawat_It_ch3.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Srithawat_It_ch4.pdf708.37 kBAdobe PDFView/Open
Srithawat_It_ch5.pdf856.8 kBAdobe PDFView/Open
Srithawat_It_back.pdf254.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.