Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21554
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิมลสิทธิ์ หรยางกูร | - |
dc.contributor.author | วีระ อินพันทัง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-08-18T16:55:34Z | - |
dc.date.available | 2012-08-18T16:55:34Z | - |
dc.date.issued | 2524 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21554 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงอิทธิพลของสภาพแวดล้อมกายภาพของอาคารสำนักงานที่มีต่อพฤติกรรมของผู้ใช้สอย โดยทำการศึกษาในอาคารสำนักงานใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย และอาคารสำนักงานใหญ่ ธนาคารศรีนคร ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพของที่ทำงานแตกต่างกันเพื่อศึกษาเบื้องต้นว่าสภาพแวดล้อมกายภาพมีแนวโน้มที่จะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้ใช้สอยอย่างไร สมมุติฐานหลักของการวิจัยนี้คือลักษณะทางกายภาพของที่ทำงานที่แตกต่างกันในธนาคารทั้งสองน่าจะมีผลกระทบทำให้พฤติกรรมของผู้ใช้สอยในแต่ละธนาคารมีความแตกต่างกันไปด้วย สมมุติฐานนี้เป็นไปตามทฤษฎีทางจิตวิทยาสภาพแวดล้อม ซึ่งยอมรับกันว่าสภาพแวดล้อมกายภาพมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ พฤติกรรมของมนุษย์ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันจะแตกต่างกันไป นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาตัวแปรในเรื่องตำแหน่งชั้นที่ผู้ใช้สอยทำงานอยู่, ระยะเวลาที่ผู้ใช้สอยทำงานอยู่ในอาคารและความหนาแน่นของผู้ใช้สอย ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้ใช้สอยนอกเหนือไปจากลักษณะทางกายภาพของสภาพแวดล้อม ลักษณะทางกายภาพของที่ทำงานที่แตกต่างกันในธนาคารทั้งสอง กล่าวคือ ในธนาคารกสิกรไทย ตำแหน่งชั้นที่ทำการศึกษาวิจัยอยู่ในชั้นที่ 3 – 7 เนื้อที่ใช้สอยในแต่ละชั้นเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีแกนสัญจรทางตั้งแกนเดียวอยู่ภายในอาคาร ทางสัญจรภายในแยกออกจากแกนสัญจรทางตั้งเป็นหลายทางกระจายอยู่ในบริเวณเนื้อที่ซึ่งมีเสาปรากฏอยู่ทั่วไป และมีการจัดเนื้อที่ใช้สอยของสำนักงานแบบแปลนเปิดโล่ง ส่วนในธนาคารศรีนคร ตำแหน่งชั้นที่ได้ทำการศึกษาวิจัยอยู่ในชั้นที่ 3, 4, 5, 7, 9 และ 10 เนื้อที่ใช้สอยเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแคบและยาว แกนสัญจรทางตั้งมี 2 แกนอยู่ริมอาคารทั้งสองด้าน ทางสัญจรภายในอยู่ตรงกลางเป็นแนวตรงตามความยาวของเนื้อที่เชื่อมระหว่างแกนสัญจรทางตั้งทั้งสอง ภายในเนื้อที่ใช้สอยไม่มีเสาปรากฏ การจัดผังบริเวณของสำนักงานเป็นแบบแปลนเปิดโล่ง แต่มีส่วนที่เป็นห้องและเครื่องใช้สำนักงานที่จัดเป็นผนังกั้นอยู่ในบางส่วน สำหรับความหนาแน่นของผู้ใช้สอยปรากฏว่าในธนาคารกสิกรไทยมีความหนาแน่นมากกว่า กล่าวคือผู้ใช้สอยมีพื้นที่เฉลี่ยต่อคนสำหรับที่ทำงาน 4.2 ตารางเมตร ในขณะที่ผู้ใช้สอยในธนาคารศรีนครมีพื้นที่เฉลี่ยต่อคนสำหรับที่ทำงานถึง 9.2 ตารางเมตร จากการศึกษาพฤติกรรมของผู้ปฎิบัติงานทั่วไปในธนาคารทั้งสอง ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21 – 35 ปี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ปรากฏผลดังนี้ ผู้ใช้สอยในธนาคารศรีนครมีแนวโน้มที่จะมีทัศนคติต่อสภาพแวดล้อมที่ดีกว่าผู้ใช้สอยในธนาคารกสิกรไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับตำแหน่งชั้นของที่ทำงาน, การสัญจรติดต่อภายในหรือเรื่องเกี่ยวกับเนื้อที่ใช้สอย การที่ผู้ใช้สอยในธนาคารทั้งสองมีทัศนคติที่แตกต่างกันนี้เป็นไปได้ว่าจะได้รับอิทธิพลจากลักษณะทางกายภาพของที่ทำงาน คือ ในเรื่องตำแหน่งชั้นของที่ทำงาน ถึงแม้ว่าชั้นที่ผู้ใช้สอยในธนาคารทั้งสองทำงานอยู่จะอยู่ในตำแหน่งที่ไม่แตกต่างกันนัก แต่ในธนาคารศรีนครมีทางเข้าออกในชั้นพื้นดินถึง 2 ทางที่แกนสัญจรทางตั้งทั้งสอง ทำให้สามารถเข้าถึงที่ทำงานได้สะดวกกว่า ในเรื่องการสัญจรติดต่อภายในนับว่าในธนาคารศรีนครมีลักษณะที่ตรงไปตรงมามากกว่าที่เป็นอยู่ในธนาคารกสิกรไทย จึงไม่เป็นปัญหาว่าผู้ใช้สอยในธนาคารศรีนครมีแนวโน้มที่จะมีทัศนคติในเรื่องนี้ที่ดีกว่า ส่วนเรื่องเนื้อที่ใช้สอย ที่ทำงานของธนาคารทั้งสองมีการจัดเนื้อที่ใช้สอยแบบแปลนเปิดโล่งเช่นเดียวกันก็จริงอยู่ แต่ในธนาคารศรีนครมีส่วนที่เป็นห้องและเครื่องใช้สำนักงานที่จัดเป็นผนังกั้นอยู่ในบางส่วน ในขณะที่ที่ทำงานในธนาคารกสิกรไทยเปิดโล่งตลอด ที่ทำงานยิ่งมีลักษณะเปิดโล่งจะมีตัวแปรต่างๆ เช่นการมองเห็น, เสียงดัง ฯลฯ มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้ใช้สอยมากขึ้น ประกอบกับในธนาคารกสิกรไทยมีความหนาแน่นของผู้ใช้สอยมากกว่า ความหนาแน่นเป็นตัวแปรหนึ่งที่มีผลกระทบทำให้มีความรู้สึกว่าคับแคบ, ไม่เป็นส่วนตัว ฯลฯ สำหรับการเลือกสภาพแวดล้อม ผู้ใช้สอยในธนาคารทั้งสองมีแนวโน้มที่จะเลือกทำงานอยู่ในชั้นที่อยู่ใกล้กับระดับดินโดยเฉพาะสูงไม่เกินชั้นที่ 4 ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากกว่าชั้นที่อยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้นไป อย่างไรก็ตามผู้ใช้สอยในธนาคารกสิกรไทยเพียงร้อยละ 8.0 เลือกที่จะทำงานอยู่ในชั้นที่ 1 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะชั้นดังกล่าวอยู่ติดกับแนวถนนภายนอกอาคารและมีที่จอดรถล้อมรอบ 3 ด้าน ย่อมจะมีความพลุกพล่าน ในการเลือกตำแหน่งที่นั่งทำงานภายในชั้น ปรากฏว่าผู้ใช้สอยในธนาคารกสิกรไทยมีแนวโน้มที่จะเลือกอยู่ใกล้ๆ กับเสาที่มีกระจายอยู่โดยทั่วบริเวณเป็นส่วนใหญ่ ส่วนผู้ใช้สอยในธนาคารศรีนครมีแนวโน้มที่จะเลือกอยู่บริเวณริมโดยรอบของเนื้อที่ใช้สอยเป็นส่วนใหญ่ อธิบายได้ว่าน่าจะเป็นเพราะผู้ใช้สอยต้องการอาณาเขตที่เป็นของตน ไม่ต้องการให้ผู้อื่นรบกวน จึงได้เลือกบริเวณดังกล่าวซึ่งต่างก็ไม่อยู่ใกล้กับแนวทางสัญจร ส่วนการเลือกระบบแกนสัญจรทางตั้งผู้ใช้สอยในธนาคารศรีนครซึ่งมีทัศนคติที่ดีในเรื่องการสัญจรติดต่อได้เลือกระบบแกนสัญจรทางตั้งตามแบบเดิมที่เป็นอยู่ถึงร้อยละ 78.1 อย่างไรก็ตามการเลือกระบบแกนสัญจรทางตั้งของผู้ใช้สอยในธนาคารกสิกรไทยและการเลือกการจัดเนื้อที่ใช้สอยของที่ทำงานของผู้ใช้สอยในธนาคารทั้งสองก็คงเลือกตามแบบเดิมที่เป็นอยู่มากกว่าแบบอื่นๆ ทั้งนี้เชื่อว่าเป็นเพราะผู้ใช้สอยส่วนใหญ่อาจไม่เคยมีประสบการณ์ในสภาพแวดล้อมแบบอื่นๆ จึงได้เลือกแบบที่เป็นอยู่ในอาคารซึ่งตนมีความคุ้นเคย นอกจากนี้การศึกษายังพบว่าผู้ใช้สอย (เฉพาะในธนาคารกสิกรไทย) ที่ทำงานอยู่ในอาคารเป็นเวลานานกว่ามีแนวโน้มที่จะมีทัศนคติต่อสภาพแวดล้อมที่ดีกว่าผู้ใช้สอยที่เพิ่งเข้ามาทำงาน และในการเลือกชั้นที่ทำงานผู้ใช้สอยส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเลือกทำงานอยู่ในชั้นเดิมที่เคยทำงานอยู่ก่อนเช่นเดียวกัน ผลของการศึกษาวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมกายภาพของที่ทำงานอาจจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้ใช้สอยตามทฤษฎีทางจิตวิทยาสภาพแวดล้อมที่กล่าวข้างต้น ซึ่งจะเป็นแนวทางในการศึกษาเฉพาะเรื่องในชั้นต่อไป รวมทั้งจะเป็นแนวทางในการออกแบบสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับความต้องการทางพฤติกรรมของผู้ใช้สอย เพื่อขจัดปัญหาขัดแย้งในการใช้สอย ทั้งนี้ย่อมส่งผลกระทบในการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study is to investigate the influence of physical environment of office space on users’ behavior. Two office buildings with different physical characteristics of space selected for study are the Thai Farmers Bank Head – Office and the Bangkok Metropolitan Bank Head – Office. It was hypothesized that different physical characteristics of office space of both buildings would reflect different behaviors of users. This hypothesis follows the aspect of environmental psychology theory which states that physical environment influences human behavior. People behave differently in different environments. Other related variables investigated are the preference in floor location of users’ workspace, length of occupancy and density. These variables were expected to effect users’ behavior other than physical environment. For Thai Farmers Bank Building, only 3 – 7 th floor were selected for study. It provides almost square shape space at each floor with single vertical circulation core system and is divided into multiple horizontal circulation within the building. The Office layout is open – planned with columns within the working space. For Bangkok Metropolitan Bank, only 3 rd, 4 th , 5 th , 7 th , 9 th , 10 th floor were selected for study. Long and narrow rectangular space were observed at this building with vertical circulation core split on both ends of the building. They are joined by horizontal circulation. The open plan office space is laid out without columns and are partially divided with partitions or office furnitures. At the Thai Farmers Bank the average working area per person is 4.2 m, while that at the Bangkok Metropolitan Bank is 9.2 m. Results obtained from questionnaires distributed to employees working in both buildings, sampled randomly, are as follows : Respondents in the Bangkok Metropolitan Bank show more positive attitude towards floor location, internal circulation and working space. It is possible that the different attitudes of respondents in two buildings reflect influence of physical environment. Although the floor location of working space of both buildings are not quite different, the two separate exits at the Bangkok Metropolitan Bank provide more convenient accessibility than the Thai Farmers Bank. There is more simple internal circulation pattern at the Bangkok Metropolitan Bank Building. The partial partitioning of the open plan office space at the Bangkok Metropolitan Bank Building offers more privacy and quietness. In addition, the office space at the Thai Farmers Bank Building is higher in density than at the Bangkok Metropolitan Bank. As density increased, the users tended to perceive the environment as narrow, crowed, and rather lacking of privacy. Respondents in the two buildings prefer to work on the floors close to the ground level, especially these that are not higher than 4 th floor because of the desire for convenient accessibility. Only 8 percent of the respondents of the Thai Farmers Bank tend to locate themselves near column while respondents of the Bangkok Metropolitan Bank tend to locate themselves away from passage. 78. 1 percent of respondents of the Bangkok Metropolitan Bank favor split core of vertical circulation system. However, respondents of the Thai Farmers Bank prefer single core. Respondents in both buildings reported that they preferred open – planned layout. It reflects the experiential consequences that people would prefer the familiar environment. The results of this study also implicate that respondents ( only in the Thai Farmers Bank) of longer occupancy tend to have more positive attitudes towards their physical environment. Respondents in both buildings tend to prefer working in the familiar floor location. This research reveals that physical environment of office space tends to influence users’ behavior, and hence supports the stated hypothesis. The results are subjected to future research in specific areas. They have positive implications for designing office environment in a behavioral approach. The goal to increase the work efficiency can thus be achieved. | - |
dc.format.extent | 733779 bytes | - |
dc.format.extent | 867607 bytes | - |
dc.format.extent | 1029774 bytes | - |
dc.format.extent | 1437376 bytes | - |
dc.format.extent | 500400 bytes | - |
dc.format.extent | 901360 bytes | - |
dc.format.extent | 1092159 bytes | - |
dc.format.extent | 694235 bytes | - |
dc.format.extent | 763847 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | อิทธิพลของสภาพแวดล้อมกานภาพภายในสำนักงาน ที่มีต่อพฤติกรรมของผู้ใช้ : การศึกษากรณีตัวอย่างอาคารสำนักงานใหญ่ ของธนาคารกสิกรไทยและธนาคารศรีนคร | en |
dc.title.alternative | The impacts of physical environment of office space on users' behavior : a case study of the head-office bulidings of Thai Farmers Bank and Bangkok Metropolitan Bank | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vira_In_front.pdf | 716.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vira_In_ch1.pdf | 847.27 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vira_In_ch2.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vira_In_ch3.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vira_In_ch4.pdf | 488.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vira_In_ch5.pdf | 880.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vira_In_ch6.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vira_In_ch7.pdf | 677.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Vira_In_back.pdf | 745.94 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.