Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21558
Title: การผลิตและการตลาดของหญ้าปลูกทำสนาม ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Production and marketing of lawn grass in Bangkok metropolitan area
Authors: วุฒิชัย พิริโยทัยสกุล
Advisors: ฉัตร ช่ำชอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการตลาด
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สถานที่อยู่อาศัยของประชาชนทั่วไปในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้อยู่ตามหมู่บ้านจัดสรรมักจะมีสนามหญ้า เพื่อความสวยงามและยังเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของบ้านเรือน ใช้สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจคลายอารมณ์ที่ตึงเครียดมาจากหน้าที่การงาน ด้วยเหตุนี้ตามสถานที่ต่างๆ เช่นริมถนน สถานที่ราชการ สวนสาธารณะ สวนสนุก สวนอาหารฯ เหล่านี้ต่างก็ปลูกหญ้าไว้เพื่อความสวยงามของสถานที่ ซึ่งแหล่งผลิตที่สำคัญคือแถบอำเภอมีนบุรี โดยแต่เดิมเกษตรกร ทำนาข้าว ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาปลูกหญ้า และการผลิตหญ้าในท้องที่ดังกล่าวก่อให้เกิดอาชีพต่อเนื่องอื่นตามมา เช่น การรับจ้างแซะหญ้า การขนส่ง การจำหน่ายหญ้า การปูสนามหญ้า การดูแล รักษาสนามหญ้า เป็นต้น ดังนั้นหญ้าจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราทั้งในด้านเศรษฐกิจและความเพลิดเพลินด้านจิตใจ วัตถุประสงค์ในการศึกษานี้เพื่อให้ทราบถึง กระบวนการผลิตหญ้า ปัญหาในการผลิตและผลตอบแทนจากการผลิตหญ้าปลูกทำสนามของเกษตรกร ตลอดจนศึกษาด้านการตลาดของหญ้าปลูกทำสนามและปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์ของหญ้าปลูกทำสนาม ซึ่งจากการศึกษาได้พบว่าเกษตรกรที่ผลิตหญ้าญี่ปุ่นอย่างเดียวจะได้รับผลตอบแทนสูงสุด รองลงมาคือการผลิตหญ้าหลายชนิดรวมกัน และการผลิตหญ้านวลน้อยได้ผลตอบแทนต่ำสุด อย่างไรก็ตามผลตอบแทนจากการผลิตหญ้าดังกล่าวทั้งหมดยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอสมควร ในด้านการจำหน่ายหญ้าปลูกทำสนาม ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักขายสินค้าผ่านผู้ค้าส่ง โดยผู้ค้าส่งส่วนมากจะจำหน่ายสินค้าผ่านผู้ค้าปลีกอีกทอดหนึ่ง และผู้ค้าปลีกจึงจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคคนสุดท้ายตามลำดับ สำหรับผู้บริโภคนิยมปลูกหญ้านวลน้อยทำสนามมากที่สุด รองลงมาได้แก่หญ้าญี่ปุ่น หญ้ามาเลเชีย และหญ้าเบอร์มิวดานิยมทำสนามน้อยที่สุดตามลำดับ โดยพิจารณาตามพื้นที่ปลูกหญ้าทำสนามของผู้บริโภคและความต้องการหญ้าในอนาคต จากการศึกษาพบว่าต่อไปจะปลูกหญ้าทำสนามกันมากขึ้น เพราะต้องการความสวยงามของสถานที่ ใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและผ่อนคลายอารมณ์ แม้หญ้าจะมีความสำคัญทั้งทางเศรษฐกิจและชีวิตประจำวัน แต่การผลิตและการจำหน่ายก็มีปัญหาดังนี้ 1. ผู้ผลิตมักประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นสำคัญ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ไร่หญ้าและค่าใช้จ่ายในการผลิตสูง 2. ผู้จำหน่ายหญ้าปลูกทำสนามทั้งผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก ประสบปัญหาหญ้าขาดแคลนในการจำหน่าย ปัญหาดังกล่าวมีแนวทางแก้ไขดังนี้ คือ 1.ทั้งเกษตรกรและผู้ค้าหญ้า ควรจะทำการเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ ชนิดและปริมาณหญ้าที่จำหน่ายในแต่ละเดือน ทั้งนี้จะทำให้เกษตรกรผู้ผลิต และผู้ค้าหญ้า จัดหาหญ้าได้ตามที่ตลาดต้องการ ทั้งในด้านปริมาณ ชนิด คุณภาพและราคา ก็จะช่วยลดปัญหาหญ้าขาดแคลนหรือล้นตลาดลงไปได้ 2.เกษตรกรควรร่วมมือกัน ในรูปของสหกรณ์ เพื่อวางแผนการผลิต การจำหน่ายให้สอดคล้องกับตลาด โดยพิจารณาแนวโน้มของการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรร และบ้านส่วนตัวโดยทั่วไป ซึ่งการรวมตัวกันเป็นองค์กรที่แน่นอนนี้จะทำให้ได้รับความร่วมมือกันอย่างจริงจังจากสมาชิกในการช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมกัน ทั้งปัญหาด้านการผลิตและการตลาดตลอดจนการป้องกันน้ำท่วมได้ดีขึ้น นอกจากนี้การที่จะขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐก็สามารถทำได้สะดวกกว่าที่เกษตรกรจะต่างคนต่างทำ
Other Abstract: At present, Lawns are always found on many residences’ areas, particularly at the housing projects. The purposes of housing lawn are for beauty, relaxation, releasing tension from daily work, and they are also the necessary houses components. Grass is thus planted as lawn in many places, for example, along the footpath, on the road edges, public park, buildings, restaurant and etc, the places decorated with lawn are very graceful. Meenburi in Bangkok Metropolitan is the major producing area of lawn grass. Previously, farmers in this area had grown paddy thus converted to grass, producing grass at the mentioned area also generated other relevant careers, e.g. grass harvest, transportation, distribution, lawn making, lawn maintenance and etc. Grass, thus takes an important role in our daily life both in terms of economic and pleasant. The objectives of this research are to understand and to study the production process, production problems, and to analyse on the returns on grass production for lawns, as well as to study on factors affecting demand of grass for lawns. The study found that among three types of grass growing patterns, farmers who grow only Zoysia Japonica gain the highest returns, second type is growing many varities of grass in one plot, the lowest return is from growing only Zoysia Metrella. All rates of returns from grass farming by average is however considered to be high enough for investment. Regarding lawn grass distribution, most of the producers sell their products through wholesalers who deliver to retailers, and these retailers distribute to consumers respectively. Type of grass to spread as lawn which is the most popular among the consumers is Zoysia Matrella, the next is Zoysia Japonica and Axonopus compressus respectively. For Tifgreen Burmuda is not popular due to high maintenance costs. Demand of grass for lawn in the future is expected to be higher due to places for beauty, relaxing and releasing pressure and tension from work are needed. Even though grass is important to economic and daily life, there are some problems on producing and distribution grass as follows : 1.The producers are always facing with flood problems which cause damage to grass fields and, the high production costs 2. Grass is insufficient for the distributors, both wholesalers and retailers in some periods of times The above – mentioned problems can be solved through these following criteria. 1. Both farmers and grass traders should keep record on types and quantity of grass sold in each month. By this practice, grass can be grown supplied to market in the proper kind quantity and quality. Therefore the problem of grass shortage or surplus can be solved. 2. Farmers should set up production, distribution plans together as the form of agricultural co – operatives. The set up plan should be based on the market demand and the trend of growth of housing projects and the private house construction. The coordination as the uniform organization always open the gate to seek help from other organizations, particularly the government agencies, and the government institutes are willing to help farmers as a group instead of individual.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21558
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vuthichai_Pi_front.pdf502.43 kBAdobe PDFView/Open
Vuthichai_Pi_ch1.pdf417.91 kBAdobe PDFView/Open
Vuthichai_Pi_ch2.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Vuthichai_Pi_ch3.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Vuthichai_Pi_ch4.pdf453.15 kBAdobe PDFView/Open
Vuthichai_Pi_back.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.