Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21572
Title: | การเปรียบเทียบผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง "ความยาว พื้นที่และปริมาตร" โดยการสอนตามลำดับขั้นการเรียนรู้ ของกาญเยกับการสอนแบบบอกให้รู้ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
Other Titles: | A comparison of mathematics learning outcomes on "Length, Area, and Volume" by Gagne's learning hierarchies instruction and expository instruction of mathayom suksa one students |
Authors: | วีระพันธ์ ส่องสว่าง |
Advisors: | ยุพิน พิพธกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง “ความยาวพื้นที่และปริมาตร” โดยการสอนตามลำดับชั้นการเรียนรู้ของกาญเยกับการสอนแบบบอกให้รู้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2. เปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อ วิชาคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มนักเรียนที่ใช้การสอนตามลำดับชั้นการเรียนรู้ของกาญเย 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ของกลุ่มนักเรียนที่ใช้การสอนตามลำดับชั้นการเรียนรู้ของกาญเย ผู้วิจัยได้ทดลองสอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแม่จันวิทยาคม จังหวัดเชียงราย จำนวน 76 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองจำนวน 38 คน เรียนโดยการสอนตามลำดับชั้นการเรียนรู้ของกาญเยและกลุ่มควบคุมจำนวน 38 คน เรียนโดยการสอนแบบการให้รู้ใช้เวลาสอน 14 คาบๆละ 50 นาที เมื่อเรียนจบบทเรียนทั้งหมดแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.81 แล้วนำคะแนนผลสัมฤทธิ์ของทั้งสองกลุ่มมาหาค่าที (t – test) สำหรับกลุ่มทดสองก่อนสอนและหลังการสอนให้ทำแบบสำรวจเจตคติต่อ วิชาคณิตศาสตร์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 แล้วนำคะแนนที่ได้มาหาค่าที (t – test) หลังจากนั้นนำคะแนนจากแบบทดสอบและแบบสำรวจเจตคติ ของกลุ่มทดลองมาหาความสัมพันธ์โดยใช้สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง “ความยาว พื้นที่และปริมาตร” โดยการสอนตามลำดับชั้นการเรียนรู้ของกาญเยกับการสอนแบบบอกให้รู้ไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 2. เจตคติต่อ วิชาคณิตศาสตร์ของกลุ่มที่เรียนโดยการสอนตามลำดับชั้นการเรียนรู้ของกาญเย มีเจตคติก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 |
Other Abstract: | The purposes of this research as follows:- 1.To compare mathematics learning achievement on “Length, Area, and Volume” of Mathayom Suksa One students taught by Gagne’s learning hierarchies instruction and expository instruction. 2. To compare mathematics attitudes before and after the experiment of the students taught by Gagne’s learning hierarchies instruction. 3. To study the relationship between mathematics learning achievement and mathematics attitudes of the students taught by Gagne’s learning hierarchies instruction. Seventy six students of Mathayom Suksa One students at the Maechan Withayakom School in Chaingrai Province were divided into two groups. The experimental group consisted of thirty eight students was taught by Gagne’s learning hierarchies instruction and the control group consisted of thirty eight students was taught by expository instruction. The total time spent in teaching was fourteen periods, fifty minutes each. After accomplishing the entire lesson, the students did an achievement test which the reliability was 0.81. Then the scores of both groups were analyzed by using t-test. The mathematics attitudequestionnaire which the reliability was 0.93 were administered to the experimental group. The mathematics learning achievement scores and the mathematics attitude scores were then analyzed by using Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The results were as follows:- 1. There was no significant difference in the mathematics learning achievement between the experimental group taught by Gagne’s learning hierarchie instruction and the control group taught by expository instruction at the 0.05 level. 2. There was significant difference in mathematics attitudes before and after the experiment of the experimental group at 0.05 levels. 3. The mathematics learning achievement scores and mathematics attitude scores of the experimental group were positive correlated at the 0.05 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | มัธยมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21572 |
ISBN: | 9745607439 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Werapant_So_front.pdf | 563.77 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Werapant_So_ch1.pdf | 532.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Werapant_So_ch2.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Werapant_So_ch3.pdf | 641.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Werapant_So_ch4.pdf | 380.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Werapant_So_ch5.pdf | 504.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Werapant_So_back.pdf | 5.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.