Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21828
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณรงค์ฤทธิ์ อัปทวีวรรณ | - |
dc.contributor.advisor | สุกาญจนา ลิมปีสวัวดิ์ | - |
dc.contributor.author | ยิ่นเจน วงศ์พิเศษกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-08-28T06:37:42Z | - |
dc.date.available | 2012-08-28T06:37:42Z | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.isbn | 9745631043 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21828 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en |
dc.description.abstract | การลงทุนในอุตสาหกรรมขนมปังกรอบในปัจจุบัน ถือเป็นโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงและมีความเสี่ยงสูงประเภทหนึ่ง เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ประกอบกับคู่แข่งขันในตลาดมีมากมาย ดังนั้นการศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนในอุตสาหกรรมขนมปังกรอบ จะมีประโยชน์มากต่อการนำมาช่วยในการตัดสินใจลงทุนและศึกษาแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จในการออกผลิตภัณฑ์ขนมปังกรอบได้ การศึกษาและวิจัยครั้งนี้ทำการเก็บข้อมูลทั้งจากแหล่งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ ซึ่งข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิได้แก่ ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายและผู้บริโภคเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้จำหน่ายและผู้บริโภคจะศึกษาโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์จากตัวอย่างที่สุ่มมาจากแต่ละกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างของผู้จำหน่ายได้แก่ ร้านค้าส่ง 40 ร้าน ร้านค้าปลีกทั่วไป 100 ร้าน ซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้าและสหกรณ์ รวม 10 ร้าน และสุ่มตัวอย่างผู้บริโภค จำนวน 300 ราย จากการศึกษาและวิจัยสามารถสรุปผลได้ดังนี้ 1. ผู้ผลิตขนมปังกรอบมีจำนวนมากโดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อย ทำให้ตลาดมีผลิตภัณฑ์ขนมปังกรอบมากมายหลายประเภท และเพิ่มจำนวนมากขึ้นตลอดเวลา ทำให้การแข่งขันเพื่อแย่งผู้บริโภคจะทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ 2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ประเภทขนมปังกรอบในเขตกรุงเทพมหานครมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จได้ 3. ผู้ผลิตและผู้บริโภค ให้ความเห็นว่า คุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเลือกบริโภคขนมปังกรอบ แต่ผู้จำหน่ายให้ความเห็นว่าการโฆษณา จะมีอิทธิพลมากต่อการเลือกซื้อของผู้บริโภค 4. ทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่ายและผู้บริโภค ให้ความเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมแล้ว จะช่วยสร้างภาพพจน์ที่ดีและความเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์ใหม่ ภายใต้เครื่องหมายการค้าเดียวกันนั้น 5. ขนมปังกรอบที่ขายดีที่สุด จะมีราคาอยู่ในช่วงไม่เกิน 10 บาทต่อกล่อง 6. ซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้าและสหกรณ์ เป็นช่องทางจำหน่ายที่ดีที่สุด 7. การส่งเสริมการจำหน่ายที่ดีที่สุด คือการโฆษณาทางวิทยุโทรทัศน์และการให้ส่วนลดการค้าพิเศษแก่ผู้จำหน่าย 8. ผลิตภัณฑ์ที่มีวางจำหน่ายมากที่สุดในเขตกรุงเทพมหานคร คือนิสชิน รองลงมาคือกูลิโค่ แต่ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายดีที่สุดคือ กูลิโค่ รองลงมาได้แก่ นิสชิน 9. ผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคเคยรับประทานมากที่สุดคือ กูลิโค่ รองลงมาได้แก่ อาร์เซนอลและผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวน ผู้บริโภคชอบรับประทานมากที่สุดคือ กูลิโค่ รองลงมาคือ นิสชิน 10. มีความแตกต่างระหว่างความชอบรับประทานขนมปังกรอบกับเพศ ซึ่งผู้หญิงจะชอบรับประทานขนมปังกรอบมากกว่าผู้ชาย แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างความชอบรับประทานขนมปังกรอบกับอายุ ซึ่งผู้บริโภคแต่ละช่วงอายุที่ชอบรับประทานขนมปังกรอบมีจำนวนใกล้เคียงกัน 11. โอกาสที่ร้านค้าปลีกทั่วไป ต้องการรับขนมปังกรอบยี่ห้อใหม่ไปทดลองจำหน่ายประมาณร้อยละ 74 ซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า และสหกรณ์จะต้องการทดลองจำหน่ายทุกร้าน แต่ในร้านค้าส่งจะต้องการประมาณร้อยละ 92 12. ผู้บริโภคที่อยากทดลองซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ประเภทขนมปังกรอบประมาณร้อยละ 65 ซึ่งเป็นผู้บริโภคเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ข้อเสนอแนะ ปัจจุบันวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ขนมปังกรอบในเขตกรุงเทพมหานครจัดอยู่ในช่วงเจริญวัยเต็มที่ การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ประเภทขนมปังกรอบ จะถือเป็นเพียงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตลาดออกไปอีกระดับหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นโอกาสของการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ประเภทขนมปังกรอบจำเป็นต้องเน้นถึงตัวผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ไปจากเดิมที่มีจำหน่ายในท้องตลาดและการจัดกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างเหมาะสมซึ่งจะนำไปสู่โอกาสที่จะประสบผลสำเร็จได้ นอกจากนี้ ความเข้มข้นของความซื่อสัตย์ในตรายี่ห้อยังมีไม่มากนัก ดังนั้นผู้ผลิตควรคำนึงถึงการสร้างความยอมรับในตัวผลิตภัณฑ์ โดยการผลิตและจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี มีราคายุติธรรม และสามารถหาซื้อได้ง่าย ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ตามต้องการ | - |
dc.description.abstractalternative | The present investment in the biscuit industries is one of which needs very large capital and high risk. Due to the high initiating capital plus large number of competitors in the market, the feasible studies for the investment in the business is very essential before any further decision is made. And it also helps as a guide for the successful marketing ill introducing various new kinds of this product line. The information for the feasibility studies are obtained from both primary and secondary data. From the primary data includes manufacturers, distributors, and consumers in the Metropolitan area. The studies obtained from the distributors, and consumers are done by both questionnaire and also by depth interview from the sampling of each group. The distributor groups classify as: 40 wholesaler shops, 100 retailer shops, 10 supermarkets or department stores. While 200 sampling were taken from the consumers side. The following details were obtained from the feasibility studies done. 1. The biscuit manufacturers are tremendously large in number especially those small and simple manufacturers. This causes the introduction and increasing of various kinds and types of biscuits in the market, which in turn increases the competition for the consumer market. 2. There are good probabilities of success in launching a new biscuit product in Bangkok Metropolitan area. 3. The manufacturers and consigners comment that qualities play the most important part in selecting the brand of biscuits while the distributors suggested that advertisement are the main point. 4. Manufacturers, distributors, and consumers have all agree that if a new product is being launched under a proven or famous brand name, it will most likely to achieve success. 5. The price of the most popular biscuits will not exceed 10 Baht per packet. 6. The best place for selling is supermarkets and department stores. 7. The best way for promoting is through broadcasting medias and also the special amount of discounts given to the distributors. 8. With in all brand of\ the biscuits, MISSIM is the brand which has the largest, number of displaying in the market, fellows by GLICO; while GLICO has the largest selling figures, fellows by NISSIN. 9. GLICO is tried by most, consumers and APSSTAL secondly. Also GLICO is preferred by most consumers while NISSIN is second. 10. Sex also plays same parts the preference of biscuits. The studies show that females are more fond of biscuits than males. But age seems to have no part in preference, because the consumption figures taken from various ages show more or less the same. 11. If a new brand is launched, the percentage of the wholesalers who want to try marketing it average about 82% for the retailers only 74%, while all supermarkets and department stores want to try on the newly launched products.12. The studies show only 65% of the consumers want to try the new launched brand, and among them mostly are females. COMMENTS The present product life cycle of biscuits businesses in the Metropolitan have reached the maturity period. Any idea of launching a new type or brand of biscuits is just trying to promote more or less the type of product to its better standing status. In order to launch a new biscuit product and be successful, one must emphasize on a totally new concept of the product itself. And the most important factor is the marketing strategies. Aside from this, the manufacturers must also take into consideration the product acceptance by consumers. which at the moment they still have not enough strong brand loyalty. There are many ways which can be done, such as: try to manufacture only the product which contain the best qualities, mark up reasonable prices, and the product must be available at all time and places. All these will take time and in turn slowly lead to the ideal consumers’ concept. | - |
dc.format.extent | 731638 bytes | - |
dc.format.extent | 527911 bytes | - |
dc.format.extent | 995720 bytes | - |
dc.format.extent | 1255248 bytes | - |
dc.format.extent | 2033579 bytes | - |
dc.format.extent | 874027 bytes | - |
dc.format.extent | 913043 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การศึกษาความเป็นไปได้ของการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ขนมปังอบกรอบ ในเขตกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | The marketing feasiblity study of launching a new biscuit product in Bangkok metropolitan area | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บริหารธุรกิจ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
yinyenn_wo_front.pdf | 714.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
yinyenn_wo_ch1.pdf | 515.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
yinyenn_wo_ch2.pdf | 972.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
yinyenn_wo_ch3.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
yinyenn_wo_ch4.pdf | 1.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
yinyenn_wo_ch5.pdf | 853.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
yinyenn_wo_back.pdf | 891.64 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.