Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21850
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ยุทธนา สาริยา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-08-28T07:43:08Z | - |
dc.date.available | 2012-08-28T07:43:08Z | - |
dc.date.issued | 2518 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21850 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518 | en |
dc.description.abstract | ความมุ่งหมาย 1. เพื่อสร้างแบบจำลองทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน ในรูปของเทปบันทึกภาพ ให้เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกทักษะการสอนแบบจุลภาค สำหรับครูและนิสิตฝึกสอนในสถาบันฝึกหัดครูต่างๆ 2. เพื่อหาคุณภาพและประสิทธิภาพของแบบจำลองที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขก่อนจะนำไปใช้จริง การดำเนินการ ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการสอนแบบจุลภาคและทักษะการนำเข้าสู่บทเรียนแล้วกำหนดแบบทักษะสำหรับเขียนบทบันทึกเทปบันทึกภาพขนาดกว้าง 1 นิ้ว เมื่อบันทึกภาพเรียบร้อยแล้วถ่ายทอดลงในเทปบันทึกภาพขนาด ½ นิ้ว ขาว - ดำ ความยาว 25 นาที เพื่อจะให้สะดวกแก่การนำไปใช้ในสถาบันฝึกหัดครู แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 8 ท่าน รับรองคุณภาพแบบจำลองที่สร้างขึ้นในแง่ความเชื่อถือได้และคุณประโยชน์ นำแบบจำลองไปหาประสิทธิภาพ โดยการนำแบบทดสอบที่ผ่านการวิเคราะห์หาความยากง่าย อำนาจจำแนกและประสิทธิภาพของความเชื่อถือได้ ไปทดสอบกับนิสิตครุศาสตร์ปีที่ 3 ที่มีประสบการณ์การเรียนการสอนวิชาพฤติกรรมการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่าง เพื่อการประเมินผลครั้งแรก หลังจากนั้น 10 วัน นำเทปบันทึกภาพแบบจำลองการสอนจุลภาคเรื่องการนำเข้าสู่บทเรียนมาให้นิสิตชม จบแล้วให้นิสิตทำแบบทดสอบเดิมเพื่อการประเมินผลครั้งหลัง นำคะแนนเฉลี่ยทั้งสองครั้งมาหาความแตกต่างของความมีนัยสำคัญ ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ด้วยค่าที ( t- test ) ผลการวิจัย 1. คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้รับรองคุณภาพแบบจำลองทักษะการนำเข้าสู่บทเรียนที่สร้างขึ้นในแง่เนื้อหาวิชาการและด้านเทคนิคการถ่ายทำอยู่ในเกณฑ์ “ ดี ” 2. คะแนนผลการทดสอบโดยเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองใช้เทปบันทึกภาพทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือนิสิตที่ได้ชมเทปบันทึกภาพแบบจำลองนี้แล้ว มีความรู้เกี่ยวกับทักษะและเทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียนมากขึ้น ข้อเสนอแนะ 1. ควรจะได้มีการจัดตั้งคลินิกการสอนแบบจุลภาคขึ้นในสถาบันการฝึกหัดครูและการศึกษาของครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสอนและการแก้ไขปัญหาด้านการฝึกสอนของนิสิต 2.เปรียบเทียบสมรรถภาพการสอนและการแก้ปัญหาในการสอนของครูประจำการหรือของนิสิตที่ผ่านการอบรมตามโครงการการฝึกทักษะแบบการสอนแบบจุลภาคและการจำลองสถานการณ์กับครูหรือนิสิตที่ไม่อยู่ในโครงการ เมื่อทั้งสองกลุ่มออกไปทำการสอนจริง 3. พิจารณาสร้างและปรับปรุงแบบจำลองการสอนที่มีคุณภาพ ในรูปของภาพยนตร์ ขนาด 16 มม. เพื่อการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและกว้างขวางยิ่งขึ้น | - |
dc.description.abstractalternative | Purpose It was the purpose of this study to (1) construct a microteaching model on “A Pre-instructional Technique ” in a videotape as a partial mean of student teachers' skill practice, (2) evaluate the quality and efficiency of the constructed model. Procedure : After relevant informations from various sources was preliminary investigated, a model script was written for the videotape production. The produced one inch videotape was later duplicated to a half inch. Eight validating committee members were appointed to certify the quality of the model. Then, thirty elementary major students, randomly selected as an experimental group, were given the pre-test. After the students had studied from the model, the post-test were given, and the scores were statistically computed and compared at the 0-05 level. Results : Analysis of this experiment allows the following conclusions to be made: (1) The Validating Committee certified the model as " Good ", (2) Significant differences in learning achievement of the sampling group was found at the 0.05 level; therefore it is assumed that each student who had studied the model gained more pre-instructional technique skills. Suggestions : (1) Every teacher education institution in Thailand should establish a microteaching clinic for improving teaching and learning strategies. (2) The competencies of the student teachers or regular teachers using microteaching and simulation models and those who do not use these techniques should be compared. (3) The microteaching models should be later on produced in the form of 16 mm. film, black and white or colour, for more effective and widely uses by the trainees whose access of videotape components are not available. | - |
dc.format.extent | 512753 bytes | - |
dc.format.extent | 1414183 bytes | - |
dc.format.extent | 2255875 bytes | - |
dc.format.extent | 524591 bytes | - |
dc.format.extent | 387952 bytes | - |
dc.format.extent | 529272 bytes | - |
dc.format.extent | 2867366 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | แบบจำลองการสอนจุลภาค เรื่อง "การนำเข้าสู่บทเรียน" | en |
dc.title.alternative | A microteaching model on "a pre-instructional technique" | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | โสตทัศนศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
yuthana_sa_front.pdf | 500.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
yuthana_sa_ch1.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
yuthana_sa_ch2.pdf | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
yuthana_sa_ch3.pdf | 512.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
yuthana_sa_ch4.pdf | 378.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
yuthana_sa_ch5.pdf | 516.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
yuthana_sa_back.pdf | 2.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.