Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21869
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย-
dc.contributor.authorศิกานต์ ปาลเสถียร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2012-08-29T08:45:11Z-
dc.date.available2012-08-29T08:45:11Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21869-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางพัฒนาการให้บริการการออกกำลังกายสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่มาใช้บริการในสถานออกกำลังกายของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 400 คน การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า “ที” การทดสอบค่า “เอฟ” และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี แอล เอส ดี กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุไม่เกิน 30 ปี ตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินหญิงชั้นหนึ่ง เพศชายมีส่วนสูงและน้ำหนักเฉลี่ย 171 – 180 ซม. และ 71-80 กก. เพศหญิงมีส่วนสูงเฉลี่ย 161-170 ซม. และน้ำหนักเฉลี่ย 51-60 กก. ดัชนีมวลกายมีค่าปกติเท่ากับ 25 หรือต่ำกว่า โสด การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ 30,001-50,000 บาท ต่อเดือน ออกกำลังกาย 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ไม่ได้มาใช้บริการเป็นประจำ เนื่องจากไม่มีความเป็นส่วนตัว มักจะใช้บริการในช่วงเวลา 16.01-18.00 น. ในวันที่ไม่มีการปฏิบัติหน้าที่บนเครื่องบิน 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของแนวทางพัฒนาการให้บริการการออกกำลังกายสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่จะทำให้การพัฒนาการให้บริการ บรรลุวัตถุประสงค์ ทั้งโดยภาพรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้นด้านการเงินและงบประมาณ และด้านวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของแนวทางพัฒนาการให้บริการการออกกำลังกายสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ระหว่างเพศชายกับเพศหญิง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในด้านบุคลากรด้านการวางแผน และ การจัดองค์กร ระหว่างพนักงานที่มีค่าดัชนีมวลกายต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05เฉพาะด้านการนำและระหว่างกลุ่มพนักงานที่มีตำแหน่งงานต่างกันไม่แตกต่างกันen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to develop guidelines of exercise services for Thai Airways International Public Company Limited’s Cabin Attendant. A sample group of 400 flight attendants was acquired by accidental random sampling. The questionnaire was used as a survey tool for collecting data. Data were statistically analyzed in terms of means, standard deviations, t-test and one-way ANOVA (F-test). After initial analysis, LSD was also used to determine the significance difference between means. The level of significant was at .05 1. The majority of the samples were female, age 30 or below, first class cabin attendant rank with weight and height for male were 71-80 kg. and 171 - 180 cm. as well as weight and height for female were 51-60 kg. and 161 - 170 cm. respectively, normal Body Mass Index, single, Bachelors’ Degree and average income between 30,001-50,000 Baht/month. They also exercised about 1-3 times a week, rarely used the facility service provided because of the lack of privacy. These samples were more likely to use the other fitness facilities in their days off between 16:01-18:00 p.m. 2. The opinions of the samples toward the efficiency of the development guidelines of exercise services for Thai Airways International Public Company Limited’s cabin attendant in overall and in different aspects were in high level. In addition, Money and Material aspects were in the highest level. 3. The comparing opinions toward the efficiency of the development guidelines of exercise services for Thai Airways International Public Company Limited’s cabin attendant between male and female was significantly different at .05 level in the aspects of Man, Planning and Organizing. BMI index was significantly different at .05 level in Leading aspect; and among different work positions were no any significant differences.en
dc.format.extent2254518 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.509-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) -- บริการส่งเสริมสุขภาพen
dc.subjectการออกกำลังกายen
dc.titleแนวทางพัฒนาการให้บริการการออกกำลังกายสำหรับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)en
dc.title.alternativeDevelopment guidelines of exercise services for Thai Airways International Public Company Limited's cabin attendanten
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorTepprasit.G@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.509-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sikarn_pa.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.