Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21965
Title: การผลิตถ่านกัมมันต์จากเมล็ดลำไย โดยการกระตุ้นด้วยซิงค์คลอไรด์และโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
Other Titles: Production of activated carbon from longan seed by activation with zinc chloride and potassium hydroxide
Authors: ณัฐวิภา จงรัก
Advisors: ธราพงษ์ วิทิตศานต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: tharapong.v@chula.ac.th
Subjects: คาร์บอนกัมมันต์
สังกะสีคลอไรด์
โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
ลำไย
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เมล็ดลำไยซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิง้ จากโรงงานผลิตลำไยอบแห้งในประเทศไทย ได้นำมา ศึกษาเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและลดปัญหาในการกำจัดทิง้ ด้วยการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบตัง้ ต้น เพื่อผลิตถ่านกัมมันต์ งานวิจัยนีจึ้งเป็ นการศึกษาวิธีการและภาวะที่เหมาะสมในการผลิต ถ่านกัมมันต์จากเมล็ดลำไยด้วยกระบวนการกระตุ้นทางเคมีแบบขั้นตอนเดียว โดยใช้ อัตราส่วนระหว่างวัตถุดิบต่อสารกระตุ้น คือ ซิงค์คลอไรด์และโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ผลการทดลอง พบว่า ภาวะการเตรียมถ่านกัมมันต์จากเมล็ดลำไยที่เหมาะสม คือ ที่ อัตราส่วนโดยนำ้ หนักของเมล็ดลำไยต่อซิงค์คลอไรด์ เท่ากับ 1:2 และเผากระตุ้นที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็ นเวลา 180 นาที และที่อัตราส่วนโดยนํ ้าหนักของเมล็ดลำไยต่อ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เท่ากับ 1:3 และเผากระตุ้นที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 120 นาที จะได้ถ่านกัมมันต์ที่มีค่าการดูดซับไอโอดีนสูงสุด เท่ากับ 826.95 และ 839.62 มิลลิกรัมต่อกรัม ค่าการดูดซับเมทธิลีนบลูสูงสุด เท่ากับ 225.65 และ 243.37 มิลลิกรัมต่อ กรัม และมีค่าพืน้ ที่ผิวสัมผัส เท่ากับ 1032.75 และ 1098.62 ตารางเมตรต่อกรัม ตามลำดับ สำหรับการทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดลิช พบว่า ประสิทธิภาพในการ กำจัดโครเมียมในนำ้ เสียสังเคราะห์ของถ่านกัมมันต์จากเมล็ดลำไยที่กระตุ้นด้วยซิงค์คลอไรด์ และโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ที่สามารถกำจัดได้สูงสุด ที่ค่าพีเอช เท่ากับ 7 ซึ่งมีค่า เท่ากับ 67.08 และ 67.85 ตามลำดับ และค่าคงที่ความสัมพันธ์กับความสามารถในการดูดติดผิว โครเมียม (K) ของถ่านกัมมันต์จากเมล็ดลำไยที่กระตุ้นด้วยซิงค์คลอไรด์ และโพแทสเซียม ไฮดรอกไซด์ เท่ากับ 2.917 และ 3.144 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ และค่า 1/n เท่ากับ 0.45 และ 0.47 ตามลำดับ ซึ่งมีค่าสูงกว่าถ่านกัมมันต์ทางการค้า
Other Abstract: Longan Seed is the solid waste produced from a dried longan factory in Thailand. This work aim to convert this high carbon solid waste into the useful activated carbon adsorbent. The conditions for preparation of activated carbon from longan seed by a single-stage chemical activation method were studied. The suitable activating condition were 1:2 ratio of longan seed : ZnCl2 800 ℃ for 180 min and 1:3 ratio of longan seed : KOH 800 ๐C for 120 min. The highest iodine number adsorption of both activated carbon were 826.95 and 839.62 mg/g, the highest methylene blue adsorption were 225.65 and 243.37 mg/g and the BET surface area were 1032.75 and 1098.62 m²/g respectively. The suitable activating condition were 1:2 ratio of longan seed : ZnCl₂ 800 ℃ for 180 min and 1:3 ratio of longan seed : KOH 800 ℃ for 120 min. The highest iodine number adsorption of both activated carbon were 826.95 and 839.62 mg/g, the highest methylene blue adsorption were 225.65 and 243.37 mg/g and the BET surface area were 1032.75 and 1098.62 m²/g respectively.From adsorptive isotherm test, the results can be explained by Freundlich isotherm, the efficiency for chromium removal in synthetic wastewater by activated carbon from longan seed by activation with Zn Cl₂ and KOH at pH 7 were 67.08 and 67.85 respectively. And the adsorptive capacity constants (K) of chromium were 2.917 and 3.144 mg/g and the value of 1/n were 0.45 and 0.47 of both activated carbons respectively, which has higher adsorption than commercial activated carbon.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21965
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.526
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.526
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nattavipa_ch.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.