Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22045
Title: แนวทางการป้องกันอุทกภัยสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ในแนวราบ กรณีศึกษา : โครงการพฤกษ์ลดา วงแหวน-รัตนาธิเบศร์ และโครงการพฤกษ์ลดา 2 บางใหญ่
Other Titles: Flood protection methods for low rise real estate : a case study of the Pruklada Wongwaen–Rattanathibet Project and Pruklada 2 Bangyai Project
Authors: ชัยยงค์ ภูษณพิทักษ์
Advisors: ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Trirat.J@chula.ac.th
Subjects: การป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย -- ไทย -- นนทบุรี
การป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย -- ไทย -- กรุงเทพฯ
บ้านจัดสรร
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากสถานการณ์น้ำท่วม ในปี พ.ศ. 2554 ได้สร้างความเสียหายมากมายในหลายพื้นที่ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ทางด้านเศรษฐกิจ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนหลายแสนล้านบาท ส่วนทางด้านสังคม ประชาชนจำนวนหนึ่งเสียชีวิต ประชาชนที่อยู่บริเวณน้ำท่วมขัง ทรัพย์สินเสียหายเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบให้บ้านจัดสรรจำนวนมากมีความเสียหายรวมกว่า 1 ล้านล้านบาท บ้านจัดสรรน้ำท่วม กว่า 5.4 แสนหน่วย เกิดผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยของประชาชน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันอุทกภัยสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ในแนวราบ โดยการศึกษาสภาพอุทกภัยในพื้นที่ของโครงการจัดสรร แนวทางการป้องกันน้ำท่วมโครงการจัดสรรผลกระทบต่อผู้พักอาศัยในโครงการจัดสรร โดยใช้วิธีสัมภาษณ์วิศวกรโครงการ ผู้พักอาศัยภายในโครงการ การสังเกต จดบันทึกและถ่ายภาพ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎีและการศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการป้องอุทกภัยสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ในแนวราบต่อไป จากการศึกษาสภาพอุทกภัยในพื้นที่ของโครงการจัดสรร โครงการพฤกษ์ลดา วงแหวน-รัตนาธิเบศร์ เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีคลอง 3 สาย ล้อมรอบโครงการ ช่วงน้ำท่วมน้ำในคลองลันตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ ระดับน้ำท่วมโดยรอบโครงการ สูง 1.00 ม. และการถมดินสูงจากระดับถนนหน้าโครงการ 0.50 ม. ส่วนโครงการพฤกษ์ลดา 2 บางใหญ่ ระดับที่ตั้งโครงการมีระดับ สูงกว่าโครงการพฤกษ์ลดา วงแหวน-รัตนาธิเบศร์ มีแนวถนนบางรักใหญ่-บ้านใหม่ เป็นคันกั้นธรรมชาติ ระดับน้ำท่วมหน้าโครงการ สูง 0.55 ม. จากการศึกษาแนวทางการป้องกันน้ำท่วมโครงการจัดสรร โครงการพฤกษ์ลดา วงแหวน-รัตนาธิเบศร์ เป็นโครงการที่อยู่ในช่วงส่งมอบพื้นที่ให้กับคณะนิติกรรมการหมู่บ้าน รั้วโครงการโดยรอบเป็นระบบเสา-คาน หล่อในที่ ผนังรั้วหินศิลาแลง มีน้ำไหลซึมผ่านหินศิลาแลง และใต้คานรั้วโครงการ ดินถมมีการทรุดตัวบางช่วงของพื้นที่มีน้ำท่วมขังสูง ระบบสาธารณูปโภคมีน้ำไหลซึมเข้าระบบ ทางด้านการบริหารจัดการมีความเข้าใจในด้านข้อมูลคลาดเคลื่อน ผู้พักอาศัยในโครงการมีการต่อเติมอาคารทำให้มีอุปสรรคในการป้องกันได้ยาก จากการศึกษาผลกระทบต่อผู้พักอาศัยในโครงการจัดสรรโครงการพฤกษ์ลดา วงแหวน - รัตนาธิเบศร์ เป็นโครงการที่มีน้ำท่วมขังทั้งโครงการ จึงมีผลกระทบทางสถานภาพสังคม เศรษฐกิจ ผลกระทบต่อตัวอาคาร ผลกระทบต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิต ผลกระทบต่องานระบบภายในบ้าน ทั้งก่อนเกิดน้ำท่วม ขณะเกิดน้ำท่วม และหลังเกิดน้ำท่วม มากกว่าโครงการพฤกษ์ลดา 2 บางใหญ่ แต่โครงการโครงการพฤกษ์ลดา 2 บางใหญ่ ถึงแม้ว่าภายในโครงการไม่มีน้ำท่วมขังแต่ก็มีผลกระทบต่อผู้พักอาศัย เนื่องจากในพื้นที่รอบโครงการมีระดับน้ำท่วมขังสูง การคมนาคมไม่สามารถสัญจรได้ ระบบไฟฟ้าทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีการตัดไฟ ก็ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ข้อเสนอแนะในแนวทางการป้องกันอุทกภัยสำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ ควรศึกษา 2 ด้าน คือมาตรการสิ่งก่อร้าง และมาตรการไม่ใช่สิ่งก่อสร้าง ทั้ง 2 มาตรการมีส่วนสำคัญในการป้องกัน ในด้านก่อสร้าง รูปแบบรั้วโครงการ ระบบสาธารณูปโภคต้องเป็นระบบปิด ในด้านการจัดการ การให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมา การประกันภัยบ้าน ส่วนในประเด็นที่น่าสนใจในการทำวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องของการออกแบบโครงสร้างที่ป้องกันโครงการอสังหาริมทรัพย์ในระยะยาว
Other Abstract: The flood in 2011 caused massive damage to both the Thai economy and society. The damage cost many hundred thousand baht as well as hundreds of lives. People living in the flooded areas suffered considerable property damage. This caused up to 1 trillion baht in damage to the allocated houses . More than 5.4 hundred thousand allocated housing units were flooded affecting residents of Bangkok and vicinity. The objectives of this study were to study flood protection methods for the rise real estate. The study focused on flood conditions in allocated housing project areas, approaches for protecting the projects from flooding, and the impact on the residents of the projects. The methodology included interviews with project engineers and residents, observations, recordings, and photographing. The data obtained were analyzed together with relevant theories and studies in order to find out the best approaches for preventing flooding of rise real estate. A study of flood conditions in the area of the allocated project, Pruklada Wongwaen -Rattanathibet, show that the area is a basin with 3 canals surround. During the flooding period, these canals overflowed with the level of floodwater surrounding the project being 1.00 meter in depth. The soil fill was 0.50 meter higher than the level of the road in front of the project. As for the Pruklada 2 Bangyai Project, its location was higher than the Pruklada Wongwaen -Rattanathibet Project with Bangrak Yai – Banmai Road serving as a natural barrier. The level of floodwater was 0.55 meters from the front of the project. Regarding approaches in place to protect against the flood, the Pruklada Wongwaen -Rattanathibet Project was in the process of establishing a project committee when the flood occurred. The fence around the project was a post and beam system which was molded in-house with a laterite wall. During the flooding, water had streamed through the laterite wall and beams of the project. In addition, the soil fill had collapsed in some parts where the stagnant water was high and the utility system had been soaked. There was a misunderstanding regarding flood management information when the residents in the project had renovated their building. As a result, the project was more vulnerable to the flood As the Pruklada Wongwaen -Rattanathibet Project was completely flooded, it affected the residents socially and economically, before, during, and after the flooding. This impact was more severe than that of the Pruklada 2 Bangyai Project. Although there was no stagnant water in the project, it still affected the residents because the surrounding areas retained a high level of stagnant water. The transportation was inaccessible, and the electricity from the Provincial Electricity Authority was shut down. Recommendations for approaches to protect against flooding in these projects focus on 2 areas, which are measures for buildings and non-building measures. Both types of measures play a major role in protection in the area of construction, fences of the project, and utility systems which must be a closed system. As for management, information provided should be straightforward and housing units must be insured. An interesting point for further research would be to study the structural design of the projects in order to have long-term protection.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22045
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.665
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.665
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chaiyong_pu.pdf8.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.