Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22087
Title: ผลกระทบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กที่มีต่อการประสานสัมพันธ์ของระบบป้องกัน โดยใช้ดัชนีชี้วัดการสูญเสียการประสานสัมพันธ์ของระบบป้องกัน
Other Titles: The impact of distributed generation on protection system coordination using protection miscoordination index
Authors: ณัฐพล พลบริสุทธิ์
Advisors: บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bundhit.Eu@Chula.ac.th
Subjects: เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
การผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบกระจายตัว
ระบบไฟฟ้ากำลัง -- การป้องกัน
Electric generators
Distributed generation of electric power
Electric power systems -- Protection
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กในระบบจำหน่าย อาจทำให้เกิดปัญหาการสูญเสียการประสานสัมพันธ์ของระบบป้องกัน เนื่องจากกระแสผิดพร่องสมทบจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประสบกับเหตุการณ์ไฟฟ้าดับบ่อยครั้งขึ้น หรือไฟฟ้าดับเป็นระยะเวลาที่นานขึ้นกว่าเดิม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนอดัชนีชี้วัด 2 ดัชนี ได้แก่ PMI ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการประเมินผลกระทบจากขนาดและตำแหน่งติดตั้งของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่มีต่ออัตราการสูญเสียการประสานสัมพันธ์ของระบบป้องกัน และ PMI ENS ซึ่งถูกใช้ในการประเมินว่าระบบที่ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กในกรณีต่างๆ จะมีค่าพลังงานไฟฟ้าที่ไม่ได้รับการจ่ายจากการเกิดความผิดพร่องเพิ่มสูงขึ้นมากน้อยเท่าใด เมื่อเทียบกับระบบดั้งเดิม โดยดัชนีชี้วัดทั้งสองของระบบจำหน่ายในกรณีต่างๆ จะถูกคำนวณจากการจำลองความผิดพร่องแบบสามเฟสสมดุล โดยอาศัยวิธีจำลองเหตุการณ์แบบมอนติคาร์โล และถูกนำมาใช้ในการกำหนดขนาดสูงสุดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่สามารถนำมาติดตั้งที่ตำแหน่งต่างๆในระบบจำหน่าย นอกจากนี้ยังนำเสนอวิธีการปรับปรุงระบบป้องกันเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก วิธีการที่พัฒนาขึ้นถูกนำไปทดสอบกับระบบทดสอบ 2 ระบบ ได้แก่ RBTS BUS 2 และระบบที่ดัดแปลงจากระบบจริงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า ทั้งขนาดและตำแหน่งติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก มีผลกระทบโดยตรงต่อการประสานสัมพันธ์ของระบบป้องกัน โดย PMI และ PMIENS สามารถนำมาใช้ในการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นในกรณีต่างๆ ได้
Other Abstract: Distributed generation (DG) may provide negative impacts to the connected distribution system. One important problem is the protection system miscoordination caused by the additional fault current from a DG which can increase the interruption event and the interruption duration. Therefore, this thesis presents a method to quantify the impact of a DG on protection system coordination by using two indices which are PMI and PMI ENS. PMI is used to evaluate the impact of size and installing location of a DG on protection miscoordination rate of the system, and PMI ENS is used to show the increase in energy not supplied of the system with a DG compared to the original system. In addition, maximum allowable capacity of a DG can also be determined using PMI and PMI ENS. For each system configuration, the indices were calculated from three-phase fault events by using Monte Carlo Simulation. Furthermore, to reduce the impact of a DG, protection coordination adjustment is also presented in this thesis. The proposed method has been tested with RBTS BUS 2 and a distribution system of Provincial Electricity Authority of Thailand. The obtained results clearly showed that both the size and the installing location of a DG had direct impacts on the protection coordination, and the proposed indices can be used to evaluate those impacts.
Description: วิทยานิพนธ์(วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22087
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.694
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.694
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
natthaphol_ph.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.