Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22121
Title: พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษา
Other Titles: The administrative behavior of vocational college administrators
Authors: ยาใจ อุ่นจิตต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โรงเรียนอาชีวศึกษา -- การบริหาร
วิทยาลัยอาชีวศึกษา -- การบริหาร
ผู้บริหารโรงเรียน
Vocational college -- Administration
Vocational school -- Administration
School administrators
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษา 2. เพื่อหาความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารสูงสุดและผู้บริหารระดับรอง วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามเพื่อใช้เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล หลังจากทดลองใช้แล้ว ได้ส่งแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วโดยทางไปรษณีย์ไปยังผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาทั้งหมด 23 แห่ง เป็นจำนวน 199 ฉบับ เป็นของผู้บริหารสูงสุด 23 ฉบับ และของผู้บริหารระดับรอง 176 ฉบับ ได้รับกลับคืนมา 140 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 70.35 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละในการเปรียบเทียบ ผลการวิจัย 1. พฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษามีดังนี้ คือ 1.1 การวางแผน นโยบายของวิทยาลัยกำหนดโดยผู้บริหารทั้ง 2 ระดับ และผู้บริหารเข้าใจนโยบายดี ก่อนเปิดเรียนผู้บริหารระดับต่างๆของวิทยาลัยจะร่วมกันพิจารณาวางโครงการต่างๆรวมทั้งวางแผนจัดครูอาจารย์สอน 1.2 การจัดองค์การ มีการแบ่งหน่วยงานตามแผนภูมิที่กรมอาชีวศึกษาระบุไว้ทุกประการ แต่ดำเนินงานไปตามสายงานที่เขียนไว้เพียงบางส่วน และในการทำงานมีการขัดแย้งกันบ้าง นอกจากนี้วิทยาลัยอาชีวศึกษาใช้วิธีประชุม อธิบายให้ทุกคนเข้าใจกำหนดหน้าที่การงานของตน1.3 การจัดวางตัวบุคคล วิทยาลัยอาชีวศึกษาจัดครูอาจารย์สอนตามความถนัดและความต้องการ ผู้บริหารส่วนใหญ่ร่วมสอนด้วยเป็นบางวิชา มีการส่งเสริมให้ครูอาจารย์ให้สอนดีขึ้น โดยส่งไปอบรม สัมมนา พร้อมกับค้นคว้าหาความรู้ในห้องสมุด การเสนอย้ายบุคลากรส่วนใหญ่กระทำเมื่อผู้ประสงค์ขอย้าย การประเมินผลการปฏิบัติงานอาศัยหลักเกี่ยวกับความรู้ความสามารถในหน้าที่ปฏิบัติงานได้ดีเสมอ แม้อาจมีการขัดแย้งกับผู้บริหารบ้างเป็นบางเรื่อง 1.4 การอำนวยการ ผู้บริหารสูงสุดเป็นผู้สั่งการโดยถือความเห็นของคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยเป็นสำคัญ ในการมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าใจดีและปฏิบัติได้ถูกต้อง หลังจากนั้นมีการกำหนดวัน เวลาที่แน่นอนในการรายงานผล 1.5 การประสานงาน การประสานงานภายในวิทยาลัยอยู่ในเกณฑ์ดีเพราะผู้บริหารส่วนใหญ่เปิดโอกาสให้ครูอาจารย์เข้าพบได้ ส่วนการประสานงานภายนอกวิทยาลัยใช้วิธีเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ แข่งขันกีฬา หรือมีกิจกรรมร่วมกัน 1.6 การรายงาน ผู้บริหารรายงานเรื่องต่างๆให้ทราบทั่วกันในวิทยาลัยโดยใช้วิธีมีหนังสือเวียน ติดประกาศ ประชุมและมีเจ้าหน้าที่สำหรับแจ้งข่าวเมื่อมีปัญหาที่จะรายงานก็บันทึกเสนอขึ้นไปตามลำดับขั้น นอกจากการรายงานผลการเรียนและความประพฤติของนักเรียนนักศึกษาเท่านั้นที่วิทยาลัยส่งไปให้ผู้ปกครองโดยตรง 1.7 การจัดงบประมาณการเงิน ผู้บริหารหน่วยงานย่อยจัดทำในหน่วยงานของตน แล้วเสนอขึ้นไปรวมกัน และการของบประมาณขอตามโครงการที่วิทยาลัยตั้งไว้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและเจ้าหน้าที่ฝ่ายการบัญชีเป็นผู้ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงิน และการบัญชีของวิทยาลัย ทั้งนี้เพราะผู้บริหารเข้าใจระเบียบการเงินของวิทยาลัยเป็นบางเรื่องเท่านั้น นอกจากนี้วิทยาลัยมีการชี้แจงการใช้จ่ายเงินภายในวิทยาลัยต่อที่ประชุมเป็นครั้งคราว 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการบริหารของผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวะ ปรากฏว่าผู้บริหารสูงสุดและผู้บริหารระดับรองมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องผู้กำหนดนโยบาย การวางโครงการในการปฏิบัติงาน การแบ่งหน่วยงาน การทำให้ทุกคนเข้าใจหน้าที่ของตน การทำงาน การดำเนินงาน การส่งเสริมการเรียนนอกเวลา การดำเนินการในกรณีที่นักเรียนนักศึกษาเกิดปัญหา ผู้มีอำนาจสั่งการให้ปฏิบัติงานนอกเหนือจากงานประจำ การมอบหมายนอกเหนือจากการสอน การปฏิบัติเมื่อมีผู้เสนอความคิดเห็นมา การสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันอื่น การปฏิบัติงานในวิทยาลัย การรับทราบคำสั่งและเรื่องราวของวิทยาลัย การรายงานปัญหาของวิทยาลัย ตลอดจนการเรียนการสอน การควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินและการบัญชีของวิทยาลัย และความเข้าใจในเรื่องระเบียบการเงินของวิทยาลัย นอกจากนี้ผู้บริหารสูงสุดและผู้บริหารระดับรองมีความเห็นเหมือนกันในด้านผู้แถลงนโยบาย ความเข้าใจนโยบาย ผู้วางแผนงาน ผู้วางแผนจัดครูอาจารย์และตารางสอน การประเมินผลโครงการ หลักเกณฑ์ในการจัดวิชาสอน การรับทราบปัญหาของวิทยาลัย การส่งเสริมและพัฒนาครูอาจารย์ งานทางด้านการสอนของผู้บริหาร การเสนอย้ายบุคลากร การพิจารณาความดีความชอบ การวินิจฉัยสั่งการ การมอบหมายงาน การติดตามผลงาน ผลของการสั่งหรือมอบหมายงาน การติดต่อประสานงานกับหน่วยอื่น การเข้าพบผู้บริหาร การรายงานผลการเรียนและความประพฤติ ผู้ของบประมาณประจำปีของวิทยาลัย การของบประมาณและการชี้แจงการใช้จ่ายเงินภายในวิทยาลัย
Other Abstract: Purposes of the study 1. To study the administrative behavior of vocational college administrators. 2. To compare the administrative behavior between the top administrators and the lower level ones. Procedure of the Study Data were collected through the usage of questionnaires which were distributed by mail to 199 administrators of all twenty- three vocational colleges. They included 23 top administrators and 176 lower level ones. Out of this number 140 questionnaires or 70,35 percent were responded. Data of the study were analysed through the usage of percent and mode. Findings 1. The vocational college administrators behavior were as follows : 1.1 Planning : college policies were made by administrators of both levels, all the. policies were quite clear to the administrators, planning for operation in the colleges was participated by administrators of all levels. 1.2 Organizing : the organization chart specified by the Vocational Department was partly followed, there were some operational conflicts in the colleges, clarification of personnel, functions was usually operated through meetings. 1.3 Staffing : most administrators instructed students themselves, instructors of colleges were arranged, to teach as their own potentialities and interests, personnel development was operated mostly through in-service training, transfer of personnel was done on the basis of the individual preference, personnel’s evaluation was based primarily on their working ability. 1.4 Directing : the college top administrator was the one who made decision with the assistance of the college board, delegation of authority and function was carried out clear and well operated, time and. dates were fixed for reporting. 1.5 Coordinating : the coordination within the college was good, because the administrator used the open-door policy, the administrators promoted the coordination with outside organizations through academic seminars, sports and other activities. 1.6 Reporting : notice, circulation of documents, and meetings were the methods of communication mostly used in the colleges, Only students’ grades and behavior reports were sent directly to parents, 1.7 Budgeting : lower administrators determined the next year budget by themselves and reported to the top administrators, the total of the budget requested was based on the projects of .the colleges, the expenditure and accounts were controlled by the treasurer and the accountant respectively, the administrators were not familiar with all of the rules and regulations about college financial management^ they were familiar only with some basic regulations 1 occasionally, a special meeting was held to announce the college financial status to the staffs. 2. The comparison of administrative behavior between the top and lower -levels administrators indicated that there were differences in opinions between the top and lower administrators in the following items operational project planning, working unit arrangement, personnel function understanding, operation, external learning promotion, problem solving for student, the one who carried out order for special operation, delegation of work other than teaching, the operation following people opinions, relation to other institute, operation within the college, exceptant of order and. information of the college, college problem reporting, college expenditure and accounting control, and the understanding of financial, regulation of the college. There were also similar in the opinions between the top and lower levels administrators in : policy announcer, policy understanding, planner, staffing and scheduling planner, project evaluation, teaching arrangement principle, exceptant college problem, staff promotion and development, administrator's teaching function, transfering of staff, merit consideration, decision-making, job assignment, job follow-up, output of order and job assignment, outside coordination, communicating with the administrator, student's grade and behavior reporting, college annual budget operator, budgeting, and reporting of college expenditure.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22121
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yajai_oo_front.pdf674.94 kBAdobe PDFView/Open
yajai_oo_ch1.pdf712.38 kBAdobe PDFView/Open
yajai_oo_ch2.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
yajai_oo_ch3.pdf431.2 kBAdobe PDFView/Open
yajai_oo_ch4.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
yajai_oo_ch5.pdf977.13 kBAdobe PDFView/Open
yajai_oo_back.pdf819.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.