Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22146
Title: | การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกร้อน หนาวของมนุษย์ภายในห้องสปา |
Other Titles: | Influence factors for thermal comfort in spa |
Authors: | รสริน ทักษิณ |
Advisors: | วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Vorasun.B@Chula.ac.th |
Subjects: | ธุรกิจสปา ห้องสปา -- การปรับอากาศ Spa pools Air conditioning |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การควบคุมภาวะน่าสบายในสปาเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับธุรกิจสปา โดยทั่วไปแล้วธุรกิจแบบนี้เป็นที่ต้องการให้คนรู้สึกสบายทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ จากการศึกษาสปาหลายๆ แห่งพบว่า สปาจำนวนมากเน้นการควบคุมเฉพาะอุณหภูมิเพียงอย่างเดียว โดยคาดหวังว่าเมื่อตั้งอุณหภูมิที่เหมาะสมแล้วทุกคนจะรู้สึกสบาย แต่ในความเป็นจริงความรู้สึกสบายมิได้เกิดจากการควบคุมอุณหภูมิเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการควบคุมตัวแปรอื่นๆ อีกหลายตัวแปร ได้แก่ ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโดยรอบ (MRT) ความเร็วลม กิจกรรม และการสวมใส่เสื้อผ้าของมนุษย์อีกด้วย ทั้ง 6 ตัวแปรเป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อการควบคุมสภาวะน่าสบายในสปา ด้วยปัญหาดังกล่าวข้างต้นวัตถุประสงค์งานวิจัยนี้เพื่อค้นหาแนวทางที่ทำให้รู้สึกสบายภายใต้อุณหภูมิเดียวกันคือ 25 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 50% โดยชดเชยความรู้สึกร้อน-หนาวของด้วยตัวแปรอื่น ตัวแปรที่เหมาะสมและมีศักยภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยง่ายในธุรกิจสปา คือความเร็วลมและอุณหภูมิผิวเฉลี่ยโดยรอบ งานวิจัยเลือกสปากรณีศึกษา 3 แห่ง ได้แก่ Pana spa, Health land spa และ Zensala spa เพื่อตรวจสอบตัวแปรดังกล่าว และการสร้างสปาต้นแบบ โดยการควบคุมตัวแปรอื่นๆ ให้คงที่ ผลวิจัยพบว่า การนวดไทยเมื่อตั้งอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 50% ผู้ให้และผู้รับบริการมีค่า Clo-value 0.5 การใช้ความเร็วลมระหว่าง 200-300 fpm เฉพาะผู้ให้บริการ ทำให้ผู้ให้บริการรู้สึกสบายแม้จะมีกิจกรรม (MET) สูงกว่า ขณะที่ผู้รับบริการรู้สึกสบาย กรณีห้องนวดน้ำมันตั้งอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 50% ผู้ให้บริการมี Clo-value 0.5 ต้องใช้ความเร็วลมระหว่าง 200-300 fpm เพื่อชดเชยกิจกรรม (MET) ที่เพิ่มขึ้น ผู้รับบริการมีค่า Clo-value 0.15 จึงมีความรู้สึกเสมือนเย็นลงกว่าปกติ แต่การชดเชยได้จากการนวดน้ำมันซึ่งเกิดความร้อนที่ผิวหนัง และน้ำมันยังช่วยลดการระเหยของน้ำที่ผิวหนังของผู้รับบริการ ดังนั้นผู้รับบริการนวดน้ำมันจึงมีความรู้สึกสบายแม้ Clo-value เพียง 0.15 เท่านั้น |
Other Abstract: | Spa has a special design character especially thermal comfort condition. Therapist and customer have different aspect. Most spa set only air temperature but the other 5 thermal comfort factors are ignored such as relative humidity (RH), mean radian temperature (MRT), clo-value, metabolism (MET), and wind. This research focused on mean radiant temperature and wind factors with 25 degree Celsius and 50 percent relative humidity of indoor air condition set point, normally. Pana spa, Health land spa, and Zensala spa were the case studies to explore thermal comfort factors. It is found that sometimes therapist feel too warm in most cases of Thai message room. The reason is therapist has more metabolism rate than normal. The customers usually feel too cool in Aroma therapy room since the clo-value is very less. Then, the spa prototype was built to test the wind and MRT factors. It can be concluded that 25 degree Celsius of air temperature and 50 percent of relative humidity for both Thai message and Aroma therapy are fixed variable. Both therapist and customer, in Thai message, have 0.5 clo-value. Only 200-500 foot per minute of air flow pass through therapist can make comfort to her body as sensation while customer should has no wind flow. For Aroma therapy, therapist has 0.5 clo-value while customer has clo-value only 0.15. Therefore, customer would feel a little cold in 25 degree Celsius of air temperature. The message oil in the Aroma therapy process can help customer to feel comfort since the oil cover skin surface with friction of therapist hands move along to make less evaporation and increase surface temperature. Therapist with 0.5 clo-value and high MET still needs to cool down with 200-500 foot per minute air flow. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22146 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.811 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.811 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
rosarin_ta.pdf | 4.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.