Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22147
Title: แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐานตามแนวคิดพิพัฒนาการหน้าที่นิยม เพื่อเสริมสร้างทักษะสำคัญของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นร่วมกับความบกพร่องอื่น
Other Titles: Guidelines for standards-based school curriculum development based on progressive functionalism approach for enhancing critical skills of students with visual impairments and additional disabilities
Authors: สามารถ รัตนสาคร
Advisors: อลิศรา ชูชาติ
เบญจา ชลธาร์นนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Alisara.C@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
การวางแผนหลักสูตร
การศึกษาพิเศษ -- หลักสูตร
Children with visual disabilities
Curriculum planning
Special education -- Curriculum
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน ตามแนวคิดพิพัฒนาการหน้าที่นิยม และการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล เพื่อเสริมสร้างทักษะสำคัญของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นร่วมกับความบกพร่องอื่น และเพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางการพัฒนาหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวทางการพัฒนาหลักสูตร และระยะที่ 2 ศึกษาผลของการใช้แนวทางการพัฒนาหลักสูตร โดยนำไปทดลองใช้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กับโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน ลพบุรี และทดลองใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ถึง 6 จำนวน 39 คน ประเมินและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางด้านทักษะสำคัญของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้ความถี่ ร้อยละ การสัมภาษณ์ผู้ปกครอง เพื่อศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของนักเรียน และการสัมภาษณ์ผู้บริหารและครูผู้สอน เพื่อศึกษาการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยคำนึงถึงความต้องการจำเป็นทั้งในปัจจุบันและอนาคตของนักเรียน รวมทั้งทักษะที่นักเรียนสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตภายหลังจบการศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และการแสดงความก้าวหน้าตามหลักสูตรของนักเรียน และการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตร ของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและวิถีชีวิตของนักเรียน การพัฒนาหลักสูตรตามแนวทางที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผนการดำเนินงาน เพื่อกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการศึกษาความต้องการจำเป็นของผู้เรียนจากผู้เกี่ยวข้อง นำมาสู่การกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายของหลักสูตร 2) การปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาเป็นหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของนักเรียน 3) การนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ และ 4) การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตร 2. สถานศึกษาสามารถนำแนวทางการพัฒนาหลักสูตรไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และผลจากการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปทดลองใช้ พบว่า 2.1 นักเรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และมีพัฒนาการตามเป้าหมายของหลักสูตร โดยก่อนการทดลองพบว่า มีนักเรียนเพียง 15.38% ที่มีความสามารถในการปฏิบัติทักษะสำคัญในภาพรวมอยู่ในระดับดี และหลังการทดลองพบว่า มีนักเรียน 44.44% ที่มีความสามารถในการปฏิบัติทักษะสำคัญในภาพรวมอยู่ในระดับดี 2.2 ผู้ปกครองมีความพึงพอใจและมีความเชื่อมั่นในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ที่สามารถพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันได้มากขึ้น 2.3 ครูผู้สอนมีความมั่นใจในการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของนักเรียนและดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน
Other Abstract: To develop the guidelines for standard-based school curriculum development based on progressive functionalism and universal design for learning for enhancing critical skills of student with visual impairments and additional disabilities and to evaluate the effectiveness of the developed guidelines. The research procedure was divided into two phases; 1) development of the guidelines for school curriculum development; and 2) effectiveness evaluation of the developed guidelines. The School for the Blind and the Blind with Multi-handicapped Lopburi was selected as experimental school. Thirty-nine students from grade 1 to 6 were the sample. The pre-experimental pretest-posttest design was used to find out the progression in performance of students’ critical skills. Interview with parents was implemented to study their satisfactions regarding to students’ daily activity performance as well as interview with administrator and teachers to find out students’ participation in the learning activities. The collected data were analyzed by frequency and percentage. The results of the study were as follows: 1. The guidelines for school curriculum development based on progressive functionalism and universal design for learning consisted of four essential components (1) Principles which emphasized on the learner-centered; consider both the current and future needs of students including expected skills to function after leaving school; enable students to participate in learning activities and progress in the school curriculum; collaboration of stakeholders in the curriculum development process. The developed guideline has been divided into four essential steps: (1) planning: to identify the roles and responsibilities of curriculum development team and to assess students’ needs for set up vision and goal of the curriculum (2) alteration of Basic Education Core Curriculum and developing standards-based school curriculum to meet the students’ needs, (3) curriculum implementation, and (4) curriculum evaluation and conclusion. 2. Experimental school was able to develop standards-based school curriculum by using the developed guidelines. The examination of the effectiveness of the school curriculum was revealed that: 2.1 The students were able to participate in the learning activities and had progress in school curriculum. Before the experiment, there were only 15.38% of students that had critical skills competency that considered as good, but after the experiment the percentage was increased to 44.44%. 2.2 The parents were satisfied and confident with school’s learning activities and the progression of students in daily activities performance. 2.3 The teachers were satisfied with standards-based school curriculum that can confidence to use it as guideline for creating the learning activities to meet student’s needs and working in the same direction.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22147
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.812
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.812
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
samart_ra.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.