Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22218
Title: การสื่อสารอัตลักษณ์และนาฏยศิลป์ในภาพยนตร์บอลลีวู้ดแนวนอกถิ่นอินเดีย
Other Titles: Communication of identity and dancing arts in Bollywood’s non-resident Indian films
Authors: อาร์ลิศ ปาทาน
Advisors: จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Jirayudh.S@Chula.ac.th
Subjects: การสื่อสาร
ภาพยนตร์อินเดีย
นาฏศิลป์ -- อินเดีย
การเต้นรำ -- อินเดีย
อัตลักษณ์
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเล่าเรื่องและอัตลักษณ์ความเป็นอินเดียของคนพลัดถิ่น พร้อมทั้งศึกษารูปแบบนาฏยศิลป์และการนำไปใช้เพื่อเล่าเรื่อง ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาการแสดงในภาพยนตร์บอลลีวู้ดแนวนอกถิ่นอินเดียจำนวนทั้งสิ้น 8 เรื่อง ได้แก่ Dilwale Dulhania Le Jayenge (1995) Kabhi Khushi Kabhie Gham (2001) Kal Ho Naa Ho (2003) Kabhi Alvida Naa Kehna (2006) Ta Ra Rum Pum (2007) Dostana (2008) New York (2009) และ My Name is Khan (2010) ประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและข้อมูลจากเอกสาร อีกทั้งศึกษาทัศนคติและสุนทรียรสของกลุ่มผู้ชม 2 กลุ่มคือ คนอินเดียและคนปากีสถานพลัดถิ่นในประเทศไทย จำนวน 20 คน ด้วยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. กลวิธีการเล่าเรื่องมีลักษณะที่สำคัญ คือ ตัวละครคนอินเดียพลัดถิ่นจะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ผสมผสานระหว่างความทันสมัยกับความเป็นอินเดียได้อย่างลงตัว และยังนำมาใช้เสนอเรื่องประเด็นทางสังคมต่างๆภายใต้ฉากในโลกตะวันตกด้วย ส่วนโครงเรื่องมักเกี่ยวกับเรื่องความรักของชายหญิงและความสัมพันธ์ภายในครอบครัว โดยพบว่าตัวละครจะคลี่คลายปัญหาของเรื่องด้วยการกลับสู่ค่านิยมที่ดีงามของอินเดียเสมอ ทั้งนี้แก่นความคิดและความขัดแย้งของเรื่องสามารถนำมาเปรียบเทียบและชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างความเป็นอินเดียกับความเป็นตะวันตก ซึ่งต่างมีผลต่อการสื่อสารอัตลักษณ์ของคนอินเดียพลัดถิ่นในภาพยนตร์ 2. นาฏยศิลป์ในภาพยนตร์บอลลีวู้ดแนวนอกถิ่นอินเดีย มีลักษณะผสมผสานระหว่างการเต้นและการขับร้องประกอบดนตรีแบบดั้งเดิม แบบพื้นบ้าน และจากวัฒนธรรมอื่นๆ โดยรูปแบบการเต้นเรียกว่า บอลลีวู้ดดานซ์ ส่วนรูปแบบการขับร้องประกอบดนตรีเรียกว่า ฟิล์ม-อินดีป๊อป นอกจากนี้รูปแบบนาฏยศิลป์สามารถนำมาใช้เพื่อการเล่าเรื่องได้ ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ใช้แทนความรู้สึกของตัวละคร แสดงแก่นความคิดหลักของภาพยนตร์ เป็นต้น 3. ทัศนคติและสุนทรียรสของกลุ่มผู้ชมทั้ง 2 กลุ่ม มีลักษณะแตกต่างกันไปตามรุ่นอายุ โดยพบว่า กลุ่มผู้ชมอายุ 40 ปีขึ้นไป ไม่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวนอกถิ่นอินเดียและรูปแบบนาฏยศิลป์ที่พบ เพราะรู้สึกว่ามีความเป็นตะวันตกมากเกินไป แต่กลุ่มผู้ชมอายุ 20-38 ปี จะชื่นชอบ เพราะรู้สึกว่ามีความน่าสนใจ ทั้งนี้กลุ่มผู้ชมทั้งสองกลุ่มมีความเห็นตรงกันว่า การร้องและเต้นในภาพยนตร์มีความสำคัญมาก เพราะช่วยเล่าเรื่องและทำให้เคลิบเคลิ้มร่วมไปกับตัวละคร อีกทั้งตัวนักแสดงก็มีส่วนสำคัญในการเลือกรับชมภาพยนตร์
Other Abstract: The purpose of this research is to investigate relationship between film narrative, dancing arts for storytelling and the identity of Indian diaspora. Eight Bollywood’s Non-Resident Indian films composed of; Dilwale Dulhania Le Jayenge (1995) Kabhi Khushi Kabhie Gham (2001) Kal Ho Naa Ho (2003) Kabhi Alvida Naa Kehna (2006) Ta Ra Rum Pum (2007) Dostana (2008) New York (2009) and My Name is Khan (2010) are analyzed along with interviews to expertise and document research. Additionally, it also looks at audience reception through interview and focus groups with 20 Indian and Pakistani diasporas in Thailand. The results are following: 1. Narrative technique reveals that Non-Resident Indian characters are constructed with lifestyle that combines modernity and Indianness. They negotiate on the social issues in western scene. The plots are about love of man and woman, and relationship within family. The research found that the problem of characters will be solved by returning to Indian values. The main theme and conflict can be compared and pointed out the differences between India and the West which affect identity of Indian diaspora to communicate in films. 2. Dancing arts in Bollywood’s Non-Resident Indian films can be called Bollywood dance and Filmi-Indi pop music. They are a mixture of Indian classical songs and dances, folk performances and songs and dances from other cultures. They can be used in various purposes for storytelling such as presentation of character’s senses or main theme in film, etc. 3. Different generation have different attitude and aesthetic reception towards the films. Audiences who are above 40 years old dislike films and dancing arts in Non-Resident Indian films because they are too westernized. In contrast, 20-38 years old like them because they are interesting. Both groups agree that song and dance sequences in film are very important because they can narrate and create emotion together with characters. Also, actor is the integral role to watching movie.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22218
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.839
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.839
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
arlis_pa.pdf6.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.