Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22223
Title: การวางผังมหาวิทยาลัยและแผนผังแม่บท มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Other Titles: Campus planning and Khon Kaen University master plan
Authors: สถาพร เกตกินทะ
Advisors: วิมลสิทธิ์ ทรยางกรู
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สถาบันอุดมศึกษา -- ไทย -- ขอนแก่น
สถาบันอุดมศึกษา -- การออกแบบ
แผนผัง
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมีผลโดยตรงต่อการพยายามที่จะให้การใช้ทรัพยากรประเภทต่างๆ เกิดประโยชน์สูงสุด งานออกแบบแผนผังแม่บทสำหรับวิทยาเขตเป็นวิธีการหนึ่งในหลายๆ วิธีการที่ถูกนำมาช่วยให้การบริหารสภาพแวดล้อมกายภาพของมหาวิทยาลัยเกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ แนวคิดที่ใช้ในการออกแบบแผนผังแม่บทโดยทั่วไปมักจะจัดกลุ่มอาคารต่างๆ ให้อยู่ในลักษณะที่กระชับแน่น โดยถือระยะเวลา 10 นาทีในการเปลี่ยนชั้นเรียนเป็นหลัก กล่าวคือให้สามารถเดินเท้าและกลับระหว่างคณะต่างๆ กับส่วนใช้สอยร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งหอสมุดกลาง โดยใช้เวลา 10 นาที ซึ่งคิดเป็นระยะทางประมาณ 800 เมตร ส่วนที่อยู่รอบนอกออกไปมักจะเป็นเขตพักอาศัยกีฬาและพักผ่อน การจัดองค์ประกอบจะพิจารณาให้มีการยืดหยุ่นเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงได้ แบบที่นิยมกันมากคือให้มีการขยายตัวได้ตามแนวของเส้นแกน (Linear Pattern of Growth) ระบบสัญจรที่มักจะถูกเลือกใช้คือการให้ความสำคัญแก่ทั้งยวดยานและทางเดินเท้า เป็นเขตใช้สอยร่วมกันและเขตการศึกษามักจะปลอดจากยวดยานและมีทางเดินเท้าเชื่อมโยงถึงกันหมด มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้เติบโตมานานกว่า 10 ปี โดยไม่มีแผนผังแม่บท จึงทำให้สภาพแวดล้อมกายภาพในปัจจุบันไม่เกื้อกูลต่อการบริหารมหาวิทยาลัยให้ดำเนินไปได้ด้วยดี ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องจัดทำแผนผังแม่บทเพื่อใช้ในการกำหนดแนวทางของสภาพแวดล้อมใหม่ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับการขยายตัวด้านอื่นๆ ตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ในการออกแบบแผนผังแม่บทครั้งนี้ ไม่รวมหน่วยงานต่างๆ ในศูนย์แพทยศาสตร์ซึ่งมีการวางแผนผังแม่บทโดยเฉพาะไปก่อนแล้ว แต่ผลกระทบต่อกันที่อาจจะเกิดขึ้นจะยึดถือประโยชน์โดยส่วนรวมของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก นอกจากนั้นการออกแบบแผนผังแม่บทก็ไม่ได้รวมการจัดที่พักอาศัยสำหรับอาจารย์ ข้าราชการและลูกจ้างด้วย สำหรับมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้นมีแนวโน้มว่าจะต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนครบทุกสาขาวิชา ยกเว้นนิติศาสตร์ และจำนวนนักศึกษาจะมีจำนวนประมาณ 15,000 คน การจัดองค์ประกอบทางกายภาพที่จะให้สอดคล้องกับระบบบริหาร จำเป็นต้องย้ายคณะศึกษาศาสตร์ขึ้นไปรวมกลุ่มกับกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์ หอสมุดกลางและสำนักงานอธิการบดีย้ายไปอยู่บริเวณใจกลางระหว่างกลุ่มคณะวิชาทั้งหลาย ซึ่งบริเวณดังกล่าวจะเป็นเขตที่ใช้สอยร่วมกัน ซึ่งมีอาคารเรียงตัวกันเป็นแกนยาย และเปิดหัวท้ายเพื่อการขยายตัวได้ทำให้มีการเชื่อมกลุ่มคณะในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งหมดเข้ากับกลุ่มคณะในสาขาอื่นๆ จึงทำให้สะดวกในการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดระบบสัญจรได้เน้นทางเดินเท้ามากกว่าถนน แต่ผู้ใช้ยวดยานก็สามารถเดินจากที่จอดรถซึ่งกระจายอยู่รอบเขตการศึกษาถึงส่วนต่างๆ ได้โดยสะดวกและรวดเร็วเช่นกัน ขั้นตอนในการขยายตัวเพื่อให้เป็นไปตามแผนผังแม่บทนั้น ได้กำหนดให้สอดคล้องกับการขยายตัวของโปรแกรมการศึกษา โดยกำหนดเป็นช่วงระยะละ 5 ปี รวม 4 ช่วง ระบบถนนเดิม ซึ่งถูกยกเลิกใช้ตามแผนผังแม่บทนั้น จะสามารถใช้เป็นทางเดินเท้าในช่วงระยะแรกๆ จนกว่าจะหมดสภาพการใช้ ทำให้ไม่เกิดความสูญเปล่าของสภาพแวดล้อมกายภาพเดิม รวมงบประมาณในการลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 1,070 ล้านบาท.
Other Abstract: The master planning of a university is one of the several methods of solving the problems of administrating the campus environment effectively. The concept of planning, in general, is focused on the minimization of the walking time to not more than 10 minutes class intermission. The surrounding zones are planned for accommodation, leisure and recreation purposes. Each component is designed to accommodate flexibility in planning. One of the popular methods of planning is the “Linear Pattern of Growth” where facilities are shared among all the departments, faculties etc. Education zone is free from vehicular traffic interferences and interfaculty network is linked up by series of walkways only. Knon Kaen University has grown up for more than a decade without any master plan, this results certain discrepancies between its present physical environment and its administration. The proposes Khon Kaen University Master Plan does not include The Health Science Center because its master plan has already been laid out and only serves its own needs. Its related accommodation area is also not included. The preparation of master planning for the whole University is need for its appropriate future development. Khon Kaen University in the near future, is going to provide all the fields of study except law, i.e. and serving up to 15,000 students because of such expansion, it would be logical to move the present Education. Faculty, the central library and the administration office closer to the main campus to become common facilities. The future expansion is to follow the “Linear Pattern of Growth” and to link up with the Health Science Center for the purpose of sharing common facilities. The network of walk-ways are extensively designed, and there are easy accesses to the surrounding roads. The extensively designed, and there are easy accesses to the surrounding roads. The existing roads will be temporarily used as walkways until its deterioration. This will economically utilize existing physical elements. The program of the master planning is divided into four phases of development. Each phase will take five years to complete. The total estimated development cost is about ฿ 1,070,000,000.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22223
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sathaporn_Ka_front.pdf476.09 kBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_Ka_ch1.pdf379.32 kBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_Ka_ch2.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_Ka_ch3.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_Ka_ch4.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_Ka_ch5.pdf308.13 kBAdobe PDFView/Open
Sathaporn_Ka_back.pdf636.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.