Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22234
Title: ความสอดคล้องของค่านิยมทางสังคมตามการรับรู้ ที่เด็กได้จากการอ่านหนังสืออ่านสำหรับเด็กกับค่านิยมทางสังคม ที่กำหนดในหลักสูตรประถมศึกษา
Other Titles: Relevancy of social values as perceived by children from children books and social values stipulated in elementary curriculum
Authors: สดใส ตันติกัลยาภรณ์
Advisors: สำลี ทองธิว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ค่านิยมสังคม
วรรณกรรมสำหรับเด็ก
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ค่านิยมทางสังคมตามการรับรู้ที่เด็กได้จากการอ่านหนังสืออ่านสำหรับเด็กเพื่อหาความสอดคล้องระหว่างค่านิยมตามการรับรู้ที่เด็กได้กับค่านิยมทางสังคมที่กำหนดในหลักสูตรประถมศึกษา จากเนื้อหาจริยศึกษา 30 ข้อ ของกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 อายุไม่เกิน 11 ปีจากโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดภูเก็ต จำนวน 180 คน สุ่มโดยวิธี Simple Random Sampling จากโรงเรียนขนาดใหญ่ 3 โรง ขนาดกลาง 3 โรง และขนาดเล็ก 3 โรง โรงเรียนละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หนังสืออ่านสำหรับเด็ก (ช่วงอายุ 6 – 11 ปี) ที่พิมพ์ใน พ.ศ. 2521 และ 2522 จำนวน 44 เล่ม และแบบสอบถามชนิดปลายเปิดมุ่งให้ตอบคำถามตามการรับรู้ในระดับการบ่งบอกข้อเท็จจริง หนังสือเล่มหนึ่งมี 3 คำถาม ลักษณะคำถามในข้อที่ 1 ของทุกเรื่องเหมือนกันหมด เป็นการถามข้อคิดทั่วๆไป ที่เด็กได้จากการอ่าน คำถามข้อที่ 2 และ 3 มุ่งให้ได้คำตอบตามการรับรู้จากเนื้อหาแต่ละเล่ม รวบรวมข้อมูลที่ได้จากคำตอบมาวิเคราะห์หาค่านิยมทางสังคมตามการรับรู้ของเด็กที่ละเล่ม แล้วนำไปวิเคราะห์หาความสอดคล้องกับค่านิยมทางสังคมที่กำหนดในหลักสูตรประถมศึกษา ผลการวิจัย ค่านิยมทางสังคมตามการรับรู้ที่เด็กได้จากการอ่านหนังสืออ่านสำหรับเด็กมีความสอดคล้องกับค่านิยมทางสังคมที่กำหนดในหลักสูตรประถมศึกษาเป็นส่วนใหญ่เป็นค่านิยมทางสังคมที่ส่งเสริมทางด้านศีลธรรมจรรยา และมุ่งในค่านิยมวิถีปฏิบัติมากกว่าค่านิยมจุดหมายปลายทาง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ปรากฏว่าเด็กแต่ละคนรับรู้ค่านิยมที่ปรากฏในหนังสืออ่านสำหรับเด็กแต่ละเล่มต่างกัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะภูมิหลังพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและจารีตประเพณีของเด็กต่างกัน
Other Abstract: Purpose of Study The purpose of this research was to find the relevancy of the social values in the children book published during 1978 – 1979 as perceived by the children and the social values stipulated in the elementary curriculum. These social values consisted of 30 items concerning the moral values in the Character Development cluster in Elementary curriculum. The simple random sampling technique was used in order to select these subject. They were from nine schools of three sizes – large, average and small. Three schools were selected from each size and 20 students from each school. The instruments used in this research were 44 children books published in 1978 and 1979 (for age group 6-11) and the questionnaires open-end. This was designed to derive answers at the level of Cognitive Domain. There were three questions for each book the first one illuminated general opinion from the reading. The second and the third one specified the generalization from the contents of each book. The researcher analyzed data from these answers to find the social values perceived by students from each book, and analyzed the relevancies between the social values perceived by students and the social values stipulated in the elementary curriculum. Result The result showed that most of the social values as perceived by the children from the children books were relevant to the social values stipulated in elementary curriculum. They were the social values that promoted morality in the readers. They were the values that emphasized more on behavioral process than on the values emphasized on the end of action. The analysis of data also pointed that each child perceived the social values from each of the children books differently because of the differences of their background, social economic status, culture and customs.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22234
ISBN: 9745609374
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sodsai_Ta_front.pdf557.49 kBAdobe PDFView/Open
Sodsai_Ta_ch1.pdf360.09 kBAdobe PDFView/Open
Sodsai_Ta_ch2.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Sodsai_Ta_ch3.pdf342.85 kBAdobe PDFView/Open
Sodsai_Ta_ch4.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Sodsai_Ta_ch5.pdf675.81 kBAdobe PDFView/Open
Sodsai_Ta_back.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.