Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22237
Title: การเปรียบเทียบวิธีประมาณค่าพารามิเตอร์เพื่อการทดสอบการแจกแจง ของประชากรที่ให้ค่าสถิติไคสแควร์ต่ำสุด
Other Titles: A comparative study on the methods of estimating parameters for testing distribution of population giving minimal chi-square value
Authors: สมเกียรติ เกตุเอี่ยม
Advisors: ศรชัย พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การประมาณค่าพารามิเตอร์
การทดสอบไคสแควร์
คณิตศาสตร์สถิติ
ประชากร -- สถิติ
สถิติชีพ
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเปรียบเทียบวิธีประมาณค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในการทดสอบการแจกแจงของประชากรเพื่อให้ได้ค่าสถิติไคสแควร์ต่ำสุด 3 วิธีคือวิธีประมาณค่าจากข้อมูลโดยตรง วิธี POWELL’S UNIVARIATE SEARCH และวิธี HOOKE-JEEVES PATTERN SEARCH โดยที่ประชากรมีการแจกแจงแบบเอ็กโปเนนเชียล แบบทวินาม และ แบบปัวซอง สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ซึ่งจำลองด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคนิคมอนติคาร์โล และกระทำซ้ำกัน 1000 ครั้ง ในแต่ละกรณี การศึกษาทีสำคัญสรุปได้ดังนี้คือ เมื่อประชากรมีการแจกแจงแบบเอ็กโปเนนเชียล ค่าประมาณพารามิเตอร์ β จากวิธีประมาณค่าทั้ง 3 วิธี ส่วนใหญ่จะมีค่าใกล้เคียงกับค่าจริงมากสำหรับค่าไคสแควร์ต่ำสุดที่คำนวณได้จากวิธี HOOKE-JEEVES SEARCH ส่วนใหญ่จะให้ค่าที่ดีกว่าค่าไคสแควร์ต่ำสุดที่คำนวณได้จากวิธีประมาณค่าจากข้อมูลโดยตรง และวิธี POWELL’S UNIVARIATE SEARCH และผลการทดสอบภาวะสารูปสนิทดี โดยใช้สชตัวสถิติทดสอบไคสแควร์ ปรากฏว่าข้อมูลส่วนใหญ่จะมีการแจกแจงแบบเอ็กโปเนนเชียล ไม่ว่าค่าสถิติทดสอบไคสแควร์จะคำนวณมาจากวิธีประมาณค่าพารามิเตอร์วิธีใด เมื่อประชากรมีการแจกแจงแบบบัวซอง ค่าประมาณพารามิเตอร์ แลมดา ที่ได้จากวิธีประมาณค่าจากข้อมูลโดยตรงจะมีค่าใกล้เคียงกับค่าจริงมากที่สุด รองลงมาคือวิธี HOOKE-JEEVES PATTERN SEARCH และวิธี POWELL’S UNIVARIATE SEARCH สำหรับค่าไคสแควร์ต่ำสุดที่คำนวณได้จากวิธี HOOK-JEEVES PATTERN SEARCH ส่วนใหญ่จะให้ค่าที่ต่ำกว่าค่าไคสแควร์ต่ำสุดที่คำนวณได้จากวิธีประมาณค่าจากข้อมูลโดยตรง และวิธี POWRLL’S UNIVARIATE SEARCH และผลการทดสอบภาวะสารูปสนิทดี พบว่าข้อมูลส่วนใหญ่ที่ผ่านการทดสอบ จะมีการแจกแจงแบบปัวซองไม่ว่าค่าสถิติทดสอบไคสแควร์ จะคำนวณมาจากวิธีประมาณค่าพารามิเตอร์วิธีใด เมื่อประชากรมีการแจกแจงแบบทวินาม ค่าประมาณพารามิเตอร์ P ที่ได้จากวิธีประมาณค่าจากข้อมูลโดยตรงจะมีค่าใกล้เคียงกับค่าจริงมากที่สุด สำหรับค่าไคสแควร์ต่ำสุดที่คำนวณได้จากวิธี HOOKE_JEEVES PATTERN SEARCH จะมีค่าต่ำกว่าค่าที่คำนวณได้จากวิธี POWELL’S UNIVARIATE SEARCH และวิธีประมาณค่าจากข้อมูลโดยตรง และผลการทดสอบภาวะสำรูปสนิทดี พบว่าข้อมูลส่วนใหญ่ที่ผ่านการทดสอบจะมีการแจกแจกแบบทวินามไม่ว่าค่าสถิติทดสอบไคสแควร์ จะคำนวณมาจากวิธีประมาณค่าพารามิเตอร์วิธีใด สำหรับการประมาณการแจกแจงแบบทวินามด้วยการแจกแจงแบบปกติและปัวซอง ผลลัพธ์จะสอดคล้องกับข้อความข้างต้น
Other Abstract: The purpose of the study was to compare the various methods of estimating parameter for testing distribution of population giving minimal chi-square value. Three methods, the estimation from directed data, the Powell’s univariate search method, the Hooke-Jeeves Rattern search method, were compared. Data were generated from exponential distribution, binomial distribution and Poisson distribution. This is processed by computer simulation. The findings of the study were as follows : Firstly, it was found that the value of estimated parameter β from all of the methods was close to the real value in case of the data were generated from exponential distribution. The Hooke-Jeeves Pattern search method gave the minimal chi-square value; In addition, the X² goodness of fit test from each methods shows nonsignificance. Secondly, the directed data method gave the best estimating value [lambda] in Poisson distribution case. The Hooke-Jeeves Pattern search method gave the estimating value as the second best, Also, the Hooke-Jeeves Pattern search method gave the minimal chi-square value. In addition, the X² goodness of fit from each methods shows nonsignificance. Thirdly, the directed data method gave the best estimating value Pin binomial distribution case. The Hooke-Jeeves Pattern search method gave the estimating value as the second best. Also, the Hooke-Jeeves Pattern search method gave the minimal chi-square value. In addition, the X² goodness of fit test from each methods shows nonsignificance. Although, binomial distribution was estimated by normal distribution or Poisson distribution, the conclusion is not different.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22237
ISBN: 9745663875
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somkiat_Ge_front.pdf444.77 kBAdobe PDFView/Open
Somkiat_Ge_ch1.pdf359.83 kBAdobe PDFView/Open
Somkiat_Ge_ch2.pdf602.32 kBAdobe PDFView/Open
Somkiat_Ge_ch3.pdf451.1 kBAdobe PDFView/Open
Somkiat_Ge_ch4.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Somkiat_Ge_ch5.pdf305.42 kBAdobe PDFView/Open
Somkiat_Ge_back.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.