Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22253
Title: | การศึกษาการอนุรักษ์พลังงานในโครงการอาคารชุดพักอาศัย |
Other Titles: | The study of energy conservation in residential condominium |
Authors: | แพรวพรรณ เจริญเรืองกิจ |
Advisors: | มานพ พงศทัต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Manop.B@Chula.ac.th |
Subjects: | อาคารชุด -- การอนุรักษ์พลังงาน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการอนุรักษ์พลังงานในโครงการอาคารชุดพักอาศัย โดยนำเกณฑ์แบบประเมินอาคารประหยัดพลังงาน มาใช้เป็นหลัก รวมทั้งศึกษาความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัย เกี่ยวกับการใช้พื้นที่ส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัย โดยจะทำการศึกษาข้อมูลโครงการในเชิงการบริหารจัดการ และข้อมูลพื้นฐานของผู้อยู่อาศัย พร้อมทั้งวิเคราะห์การบริหารจัดการของโครงการในการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าของส่วนกลางอาคารชุดพักอาศัย และศึกษาความคุ้มค่าด้านการลงทุนงานระบบไฟฟ้าภายในโครงการ รวมถึงสอบถามความพึงพอใจผู้อยู่อาศัยในการเข้าใช้พื้นที่ส่วนกลางเท่านั้น ผลจากการศึกษาโครงการที่มีพื้นที่โครงการที่มีลักษณะทางกายภาพ เช่น ความสูงอาคาร และจำนวนอาคาร ขนาดโครงการ ที่ใกล้เคียงกัน สามารถสรุปได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ การศึกษาการอนุรักษ์พลังงานทางด้านการออกแบบและการบริหารโครงการ โดยนำค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้ามาวิเคราะห์ โดยพบว่าโครงการ A เป็นโครงการที่เน้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในโครงการ มากกว่าโครงการ B ทำให้การออกแบบระบบไฟฟ้าติดตั้งส่วนกลางของโครงการ B มีจำนวนน้อยกว่าโครงการ A ประมาณ 35.86% ของกำลังไฟฟ้าติดตั้ง แสดงให้เห็นว่า โครงการ B มีการออกแบบงานระบบได้ดีกว่าโครงการ A แต่เมื่อคิดเป็นกำลังไฟฟ้าต่อตารางเมตรของพื้นที่ส่วนกลางโครงการ A จะพบว่า พื้นที่ส่วนกลาง 1 ตารางเมตร ของโครงการ A จะใช้กำลังไฟฟ้ามากกว่าโครงการ B อยู่ประมาณ 1.86% แต่เมื่อศึกษาการบริหารโครงการควบคู่กับการออกแบบพื้นที่ขาย จะพบว่า โครงการ A มีการออกแบบพื้นที่ขาย และการบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าได้มีประสิทธิภาพกว่าโครงการ B โดยพื้นที่ขาย 1 ตารางเมตรเท่ากัน โครงการ A จะจ่ายค่าไฟฟ้า (บาท/เดือน) ถูกกว่าโครงการ B ประมาณ 14.10% แสดงให้เห็นว่า โครงการ A มีการบริหารจัดการที่ดีกว่าโครงการ B ประเด็นสุดท้าย คือ ด้านความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัย พบว่าโครงการ A สามารถบริหารโครงการให้ได้รับความพึงพอใจ และมีการบริหารค่าใช้จ่ายแปรผันสุทธิ [รายได้-รายจ่าย (บาท/เดือน)] ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าโครงการ B การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ ให้ทั้งฝ่ายนิติบุคคลและผู้ประกอบการนำไปบริหารจัดการงานระบบภายในโครงการอาคารชุดพักอาศัย โดยทางนิติบุคคลสามารถนำไปเป็นแนวทางในการบริหารงานระบบไฟฟ้าของพื้นที่ส่วนกลางโครงการให้เกิดความเหมาะสมต่อการเข้าใช้พื้นที่ส่วนกลางของผู้อยู่อาศัยภายในโครงการ และก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อผู้อยู่อาศัย และทางด้านผู้ประกอบการสามารถนำไปวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลทางด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อคำนึงถึงความคุ้มค่าด้านการลงทุนในโครงการอาคารชุดพักอาศัยทางด้านงานระบบไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมต่อความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัย |
Other Abstract: | The objective of this research is to study the energy conservations in condominiums. The evaluation is based on the building energy efficiency criteria and the residential satisfaction on the utilization of the common residential area. The project studied the project information related to management and residential demography as well as analyzed cost management attempt to reduce the electric bills of the condominium. The studies also included the investment effectiveness for equipment by inquiry about the impact of residence on accessing the common residential area. The results obtained from buildings with similar characteristics (height, number of buildings, area) can be summarized in 3 aspects. From the studies of designs and management, by analyzing the electric expense, the condominium A focuses on technologies more than condominium B. As a result, installed electrical systems in the common residential area of condominium B are less than that of condominium A about 35.86% of the system’s electricity capacity. When calculate power per square meter of common residential area, condominium A uses more electrical components than condominium B by about 1.86%. However, when studied on both condominium management and condominium design, condominium A is found to have a better design in term of space and is more energy efficient in terms of electricity usage than condominium B. For 1 square meter, condominium A pays a cheaper electricity bill (baht/month) than condominium B about 14.10%. As a result, condominium A can manage condominium better than condominium B. The last aspect is that condominium A can manage condominium so that residence has more satisfaction and net total costs (income- expense (baht/month)) is more effective than condominium B. This study provides guideline to both condominium management and project owner in that they can adopt the findings to manage condominium. The condominium management can use the guideline to manage its electricity system in the residential common area to suit the residence and create satisfaction among the residence. Project managers and owners can use the information to analyze investment along with the economics for effective investment on the electric systems so residence will be satisfied. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22253 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.855 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.855 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
praewpan_ja.pdf | 3.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.