Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22268
Title: "แหนแห่ให้เห็นงาม" พฤติกรรมการยอมรับและมีส่วนร่วม ในการแหนแห่ทางวัฒนธรรม ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: "See the beauty through parade" : behaviors of acceptance and participation in cultural parade in Muang Chiang Mai District, Chiang Mai Province
Authors: ธีรยุทธ นิลมูล
Advisors: ดวงกมล ชาติประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Duangkamol.C@chula.ac.th
Subjects: ขบวนแห่ -- ไทย -- เชียงใหม่
สังคมและวัฒนธรรม
วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว -- ไทย -- เชียงใหม่
การมีส่วนร่วมทางสังคม -- ไทย -- เชียงใหม่
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: “การแหนแห่” เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวล้านนามาตั้งแต่โบราณกาล ซึ่งมักจะให้ความสำคัญต่อการแหนแห่ต่างๆ ในฐานะองค์ประกอบของหลักพิธีกรรมที่มีความสำคัญทั้งในระดับครอบครัว ระดับท้องถิ่น ชุมชน ตลอดไปจนถึงระดับอาณาจักร การแหนแห่ยังเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมประเพณีของคนล้านนาที่มีความสำคัญ โดยในปัจจุบันได้มีการรื้อฟื้นขบนบธรรมเนียมการแห่แหนขึ้น เพื่อให้ความรู้ทางการศึกษา ความเป็นมาในอดีต ความงดงามในวิถีชีวิต และพิธีกรรมแห่งชีวิตที่เคยปรากฏให้เป็นภาพแห่งความจริงที่ยังคงจับต้องได้ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นการศึกษาพฤติกรรมการยอมรับและมีส่วนร่วม ในการแหนแห่ทางวัฒนธรรมในเขต อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ เพื่อที่จะได้ทราบถึงทัศนคติ การยอมรับและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของสังคมต่อการจัดขบวนแหนแห่ และเพื่อทราบถึงปัญหาและอุปสรรค์ที่ส่งผลสำคัญต่อการจัดการขบวนแหนแห่ อันจะนำมาสู่การสร้างแนวทางที่เหมาะสม ในการมีส่วนร่วมของคนในสังคมโลกปัจจุบัน ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า รูปแบบขบวนแหนแห่ในปัจจุบันมุ่งเน้นด้าน “การสร้างภาพลักษณ์ทางการส่งเสริมการท่องเที่ยว” การยอมรับต่อขบวนแหนแห่ของชาวเชียงใหม่อยู่ในระดับปานกลาง แสดงออกผ่านด้านความคิด ด้านความรู้สึก และพฤติกรรม โดยชาวเชียงใหม่ 87% เคยมีส่วนร่วมในขบวนแหนแห่ของเมืองที่จัดขึ้น ปรากฏลักษณะของการมีส่วนร่วมแบบโดยตรง การมีส่วนร่วมแบบชักนำ และการมีส่วนร่วมแบบบังคับ เป็นการเข้าร่วมการแหนแห่เกี่ยวกับเทศกาลประเพณีที่เน้นด้านการท่องเที่ยวมากกว่าขบวนแหนแห่ที่เกี่ยวกับประเพณีแห่งชีวิตและพิธีกรรม นอกจากนี้ชาวเชียงใหม่ยังสะท้อนปัญหาในเรื่องของสถานที่จอดรถไม่เพียงพอ, ปัญหาการเข้าถึงการบริการสาธารณูปโภค และจุดรับชมขบวนที่ไม่มีระเบียบมากที่สุด ล้วนเป็นปัญหาที่มีความสำคัญโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน
Other Abstract: The parade is one of Lanna peoplews traditions and cultures since the former time. The parade was counted as an important part of any ceremonies: family ceremonies, local ceremonies, community ceremonies and colony ceremonies. At the present time, customs of parades are returning again to pass the history, beauty of traditions and life ceremonies that used be seen as realistic and touchable forms. This study aimed to investigate the behaviors of acceptance and participation in cultural parade in Muang Chiang Mai District, Chiang Mai Province. The study focused on the attitude, acceptance and participation of people towards parade arrangement, as well as the problems and obstacles in parade arrangement, for reaching solutions and improvements to meet the needs of all people involved. The result of this study showed that present day parades focused on building tourismws image:. The acceptance of parades from people was in a moderate rating, expressed through thoughts, passions and behaviors. 87 percent of Chiang Mai people participated in parades in the form of completely participation, persuaded participation and compulsory participation. People participated in parades involving traditional festival parades focusing on tourism more than folk traditions and rites parades. People also told about the lack of parking spaces, public utility problems and the untidy parade view point. All mentioned problems are significant points that parade organizers should solve immediately.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการทางวัฒนธรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22268
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.868
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.868
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thirayut_ni.pdf7.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.