Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22345
Title: การรวบรวมรายได้แผ่นดินในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2416-2453)
Other Titles: The consolidation of government revenue in the reign of King Chulalognkorn (1873-1910)
Authors: สุมาลี บำรุงสุข
Advisors: วิลาสสวงศ์ พงศะบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาวิเคราะห์เรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิรูปการรวบรวมรายได้แผ่นดินในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2416 – 2453) ในตอนต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411 – 2416) รัฐบาลขาดหน่วยงานกลางที่จะควบคุมดูแลจัดเก็บรักษาและใช้จ่ายเงินรายได้แผ่นดินทั่วพระราชอาณาจักรอย่างแท้จริง อำนาจการจัดเก็บและใช้จ่ายเงินภาษีอากรคงกระจายอยู่ในหน่วยงานราชการหลายกรม การใช้จ่ายเงินแผ่นดินจึงขาดการวางแผนอย่างเป็นระเบียบ ประกอบกับทางการไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตัวแทนจัดเก็บภาษีอากรของรัฐได้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐบาลหรือเจ้าภาษีนายอากร ทำให้เกิดการติดค้างเงินภาษีอากรเป็นจำนวนมาก และมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงกดขี่ข่มเหงราษฎร นอกจากนั้น รัฐบาลกลางยังไม่มีอำนาจในการควบคุมจัดเก็บภาษีอากรในหัวเมืองชั้นนอกและเมืองประเทศราชได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย เงินรายได้แผ่นดินจึงรั่วไหลกระจัดกระจายและติดค้างเป็นจำนวนมาก การปฏิรูปการรวบรวมรายได้แผ่นดินในรัชการพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2416 นี้ แบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ ระยะแรกระหว่าง พ.ศ. 2416 – 2435 เป็นการจัดระเบียบหน่วยงานการบริหารจัดเก็บภาษีอากรในส่วนกลาง ได้มีการปรับปรุงการทำงานภายในกรมพระคลังมหาสมบัติ ให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม และต่อมาได้ยกขึ้นเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลจัดเก็บรักษารายได้แผ่นดินส่วนใหญ่ของประเทศแต่เพียงหน่วยงานเดียว ทั้งมีอำนาจควบคุมพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรของรัฐและเจ้าภาษีนายอากรต่างๆ ให้อยู่ภายในขอบเขตของกฎหมาย ส่วนการปฏิรูปในระยะที่สอง ระหว่าง พ.ศ. 2441 – 2453 ทางการได้ขยายอำนาจการควบคุมจัดเก็บภาษีอากรไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยอาศัยการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลของกระทรวงมหาดไทยช่วยในการรวมอำนาจทางการคลังจากหัวเมืองและเมืองประเทศราชต่างๆ เข้าสู่ราชธานี ในการนี้ มีปฏิกิริยาต่อต้านจากกลุ่มผู้ปกครองท้องถิ่นผู้สูญเสียอำนาจทางการเมืองและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการปรับปรุงต่างๆ นี้ด้วยบ้าง เช่น กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ กบฏผู้มีบุญภาคอีสาน แต่โดยทั่วไปแล้ว ไม่เกิดปฏิกิริยาต่อต้านอย่างรุนแรงในเขตอื่นๆ เลย เป็นเพราะรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายอย่างรอบคอบ พยายามผ่อนผันแก้ไขวิธีการจัดเก็บต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป และระมัดระวังมิให้การเปลี่ยนแปลงนั้นกระทบกระเทือนต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ในระยะการปฏิรูปช่วงที่สองนี้ ทางการได้พยายามเลิกระบบเจ้าภาษีนายอากร โดยโอนภาษีอากรหลายชนิดที่เคยให้เอกชนผูกขาดจัดเก็บ มาให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทำแทนเมื่อปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงเหลือภาษีอากรผูกขาดอยู่เพียงไม่กี่ประเภท และระบบเจ้าภาษีนายอากรก็ไม่ใช่แหล่งที่มาสำคัญของรายได้แผ่นดินอีกต่อไป การปฏิรูปการรวบรวมรายได้แผ่นดินนี้ คงมีข้อบกพร่องบางประการที่รัฐบาล ยังไม่สามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ เช่น โครงสร้างระบบภาษีอากรส่วนใหญ่เกือบจะมิได้เปลี่ยนแปลงไป รัฐบาลคงพึ่งรายได้จำนวนมากจากภาษีอาการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอบายมุข เช่น ฝิ่น สุรา หวย บ่อนเบี้ย และการพนัน แต่โดยส่วนรวมแล้ว การปรับปรุงนี้ได้ช่วยให้การจัดเก็บภาษีอากรมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมากกว่าเดิม ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน และเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่เสริมสร้างความมั่นคงทางการคลังของชาติ รัฐบาลจึงมีรายได้เพิ่มขึ้นมากเพียงพอที่จะบูรณะพัฒนาความเจริญก้าวหน้าให้แก่บ้านเมือง
Other Abstract: This thesis analysis the reform of government revenue collection in the reign of King Chulalongkorn (1873 – 1910). During the early years of King Chulalongkorn’s reign, between 1868 – 1873, there was no means of properly controlling the revenues and the expenditures of the country. The authority for tax collection and its spending was distributed amongst diverse departments such as the Krom Phra Khlang, the Krom Phra Kalahom and the Krom Mahatthai. Besides, the central government had hardly any administrative power over fiscal systems in remote provinces and tributary states. Therefore, there was almost an absence of appropriate inspection and control over the conduct of government tax collectors and tax farmers. This defective system caused a large amount of tax arrears, corruption and extortion on the part of tax collectors, and evasion on the part of taxpayers. Thus, these problems brought about a large decrease in revenue. A serious effort to improve this unsatisfactory condition took place in 1873 when King Chulalongkorn attained his majority and began to assert his authority vigorously. The first process of tax collection reform, between 1873 – 1892, was the organization of an administration within the Krom Phra Klang or treasury Department. In addition, tax management authority was also transferred from other departments to this newly-created efficient department. Therefore, the Treasury Department, later known as the Ministry of Finance, became a central agency to administer government revenue and to control tax collectors’ practices. However, at that time, the government was not able to obtain absolute control over fiscal system in the provincial areas. So, the second process of financial reform began around 1898, with and aim to increase government power over provincial revenue collection. Thanks to the contemporaneous provincial administrative reform under the supervision of the Ministry of Interior, the government achieved a centralization of the flow of revenue from the provinces and tributary states to the capital, despite some resistance from the reactionary group in the up-country ruling class. During this period, the government, in an attempt to abolish the tax-farming system, gradually transferred the collection of many taxes previously farmed out to bidders to more strictly supervised state agents. Thus, by the end of King Chulalongkorn’s reign, there were only a few farmed taxes left and tax-farming was no longer an important source of government revenue. Still, the revenue collecting system had some faults which government had not yet been able to remove. For example, the structure of taxes remained almost unchanged. Revenues from opium, lotteries, gambling and spirits still accounted for a large part of the total government revenue. Nevertheless, despite these defects, the fiscal reform made a great contribution to the financial system of the country. The tax collection system was made more efficient. The people were relieved from the burden of heavy taxes and exploitation from bad tax collectors. Moreover, these improvements brought about a large increase in government revenue, which meant more opportunity for the government to carry out more development for the benefit and welfare of the people.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22345
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumalee_Bu_front.pdf855.57 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Bu_ch1.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Bu_ch2.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Bu_ch3.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Bu_ch4.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Sumalee_Bu_back.pdf958.9 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.